พระราชวังโปตาลา

พระราชวังโปตาลา ((ทิเบต: པོ་ཏ་ལ།, ไวลี: Po ta la, พินอินทิเบต: bodala) เป็นป้อมปราการแบบซง ในลาซา ทิเบต พระราชัวงโปตาลาใช้งานเป็นที่ประทับฤดูหนาวของทาไลลามะมาตั้งแต่ปี 1649 ถึง 1959 หลังจากนั้นได้ถูกแปรสภาพมาเป็นพิพิธภัณฑ์ พระราชวังโปตาลาได้รับสถานะแหล่งมรดกโลกในปี 1994

པོ་ཏ་ལ་ཕོ་བྲང​​
พระราชวังโปตาลา
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธแบบทิเบต
หน่วยงานกำกับดูแลทะไลลามะที่ 14
ที่ตั้ง
ที่ตั้งลาซ่า ทิเบต
พระราชวังโปตาลาตั้งอยู่ในประเทศทิเบต
พระราชวังโปตาลา
ที่ตั้งในประเทศทิเบต
พิกัดภูมิศาสตร์29°39′28″N 91°07′01″E / 29.65778°N 91.11694°E / 29.65778; 91.11694
สถาปัตยกรรม
ผู้ก่อตั้งซงแจ็นกัมโป
เริ่มก่อตั้ง1649
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนหมู่โบราณสถานพระราชวังโปตาลา ลาซา
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iv, vi
ขึ้นเมื่อ1994 (18th session)
เลขอ้างอิง707
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
เพิ่มเติม2000; 2001

ชื่อโปตาลานั้นตั้งตามเขาโปตาละกะ วิมานของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรตามตำนาน[1] การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นโดยทาไลลามะที่ห้า ในปี 1645[2] หลังที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณส่วนพระองค์คนหนึ่ง Konchog Chophel (?-1646) ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะสมแก่การเป็นที่ทำการรัฐ และตั้งอยู่ระหว่างอารามเทรปุง กับอารามเซรา และ เมืองเก่าลาซา[3] เป็นไปได้ว่าวังนี้สร้างขึ้นบนซากของป้อมปราการเก่าที่มีชื่อว่าวังขาว หรือวังแดง[4] ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าซงแจ็นกัมโป ในปี 637[5]

อาคารมีขนาด 400 เมตร (1,300 ฟุต) ตามแนวตะวันออก-ตะวันตด และ 350 เมตร (1,150 ฟุต) ตามแนวเหนือ-ใต้, ผนังหินขนาดหนาราว 3 เมตร (9.8 ฟุต) และที่ฐานหนาถึง 5 เมตร (16 ฟุต) ในฐส่วนฐานของวังยังมีการเททองแดงผสมลงไปเพื่อช่วยป้องกันอาคารจากแผ่นดินไหว[6] อาคารมีความสูง 13 ชั้น ประกอบด้วยห้องหับกว่า 1,000 ห้อง, ศาลเจ้าต่าง ๆ 10,000 ศาล และรูปปั้นรวมกว่า 200,000 รูป ตัวอาคารมีความสูง 117 เมตร (384 ฟุต) บนยอดของเขาแดง (Marpo Ri) และมีความสูงรวมเขาถึงพื้นราว 300 เมตร (980 ฟุต)[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Stein, R. A. Tibetan Civilization (1962). Translated into English with minor revisions by the author. 1st English edition by Faber & Faber, London (1972). Reprint: Stanford University Press (1972), p. 84
  2. Laird, Thomas. (2006). The Story of Tibet: Conversations with the Dalai Lama, pp. 175. Grove Press, New York. ISBN 978-0-8021-1827-1.
  3. Karmay, Samten C. (2005). "The Great Fifth", p. 1. Downloaded as a pdf file on 16 December 2007 from: [1] เก็บถาวร 15 กันยายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. W. D. Shakabpa, One hundred thousand moons, translated with an introduction by Derek F. Maher, Vol.1, BRILL, 2010 p. 48
  5. Michael Dillon, China : a cultural and historical dictionary, Routledge, 1998, p. 184.
  6. Booz, Elisabeth B. (1986). Tibet, pp. 62–63. Passport Books, Hong Kong.
  7. Buckley, Michael and Strausss, Robert. Tibet: a travel survival kit, p. 131. Lonely Planet. South Yarra, Vic., Australia. ISBN 0-908086-88-1.