พระราชวังช็องบอร์

พระราชวังช็องบอร์ (ฝรั่งเศส: Château de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี[1]

พระราชวังช็องบอร์
Château de Chambord
ด้านหน้าพระราชวังช็องบอร์จากทางด้านเหนือ
ประเภทวัง
พื้นที่ช็องบอร์, ลัวเรแชร์, ฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์
สร้างค.ศ. 1519
สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก[2] ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวัง

ช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม[3] ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1519 และ ค.ศ. 1547 โครงสร้างช็องบอร์ก็เปลี่ยนไปจากที่ออกแบบไว้เป็นอันมาก[4] โดยมี Pierre Nepveu เป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1913 มาร์แซล แรมงเสนอว่า[5] เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้เป็นแขกของพระเจ้าฟร็องซัวที่ Clos Lucé ไม่ไกลจากอ็องบวซเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบ ที่สะท้อนให้เห็นในแผนสำหรับวังโรโมรองแตงที่ดา วินชีเตรียมสำหรับพระราชมารดาของพระเจ้าฟร็องซัว และความสนใจในการออกแบบลักษณะการก่อสร้างแบบช็องบอร์ และบันไดกลางที่เป็นบันไดเวียนสองวงซ้อน แต่ข้อเสนอนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันโดยทั่วไป[6] เมื่อสร้างใกล้เสร็จ พระเจ้าฟร็องซัวก็ทรงเป็นเจ้าภาพจัดงานเพื่อแสดงความโอ่อ่าของพระราชวัง ต่อคู่อริเก่าสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

อ้างอิง แก้

  1. Eugène Emmanuel Viollet-le-Duc, however, in his Dictionnaire raisonné de l'architecture française (1875) found that there was nothing Italianate about Chambord, in thought or form.
  2. In fact she had some of her people demolish a section of the wall that enclosed the park of Chambord because it encroached upon land that was hers.
  3. Félibien, Mémoires pour servir a l'histoire des maisons royalles (1681).
  4. Building was under way in September 1519. After a hiatus, building resumed in September 1526. At the time of the death of François, 444,070 livres had been paid out in the works (Hidemichi Tanaka, "Leonardo da Vinci, Architect of Chambord?" Artibus et Historiae 13.25 (1992, pp. 85-102) p 92.
  5. Reymond, "Leonardo da Vinci, architect de Chambord," Gazette des Beaux-arts (June 1913) pp 413-60.
  6. Ludwig H. Heydenreich, "Leonardo da Vinci, Architect of Francis I" The Burlington Magazine 94 No. 595 (October 1952), pp. 277-85; Tanaka 1992.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระราชวังช็องบอร์