พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ หรือชื่อเกิดคือ อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ (ฝรั่งเศส: André du Plessis de Richelieu)) เป็นผู้บัญชาการกรมทหารเรือสยาม เป็นรองผู้บัญชาการการรบของสยามในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 และเป็นผู้ออกแบบป้อมพระจุลจอมเกล้า

พระยาชลยุทธโยธินทร์
(อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ)
พระยาชลยุทธโยธินทร์ใน พ.ศ. 2446
ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
16 มกราคม พ.ศ. 2443 – 29 มกราคม พ.ศ. 2444
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้านายพลเรือตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ถัดไปจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2395
Løjt Kirkeby ประเทศเดนมาร์ก
เสียชีวิต25 มีนาคม พ.ศ. 2476 (81 ปี)
Hørsholm ประเทศเดนมาร์ก
ที่ไว้ศพโบสถ์โฮลเมน
คู่สมรสคุณหญิงชลยุทธโยธินทร์ (ดัคมาร์ เลิช)
บุตรLouis Armand • Helge • Dagmar • Agnes Ingeborg • Lilian Agenete • Louis
วิชาชีพเจ้าหน้าที่กองทัพเรือ
นักธุรกิจ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้เดนมาร์ก
สยาม
สังกัดNaval flag of เดนมาร์ก กองทัพเรือเดนมาร์ก
ราชนาวีสยาม
ประจำการพ.ศ. 2418 - 2444 (26 ปี)
ยศ นายพลเรือโท

ในเอกสารของฝ่ายไทยมีการสะกดชื่อของท่านไว้หลายแบบ เช่น ริเชลิว ริชลิว ริเชอลิเออ เป็นต้น

ประวัติการทำงาน แก้

กัปตันรีเชอลีเยอ เป็นชาวเดนมาร์กเชื้อสายฝรั่งเศส โดยสืบเชื้อสายมาจากพระคาร์ดินัล ดยุกแห่งรีเชอลีเยอ (Armand Jean du Plessis de Richelieu) มุขมนตรีในพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส กัปตันรีเชอลีเยอเข้ามารับราชการทหารเรือสยามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2418 เป็นผู้บังคับกองเรือพิทยัมรณยุทธ (Regent) ที่ภูเก็ต กระทั่งวันอังคาร เดือนห้า ขึ้นสามค่ำ ปีมะแม เบญจศก จุลศักราช 1245 ตรงกับปี พ.ศ. 2426 กัปตันรีเชอลีเยอขณะมีบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงชลยุทธโยธินทร์" ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระชลยุทธโยธินทร์" ถือศักดินา 800[1]

ในปี พ.ศ. 2428 กัปตันรีเชอลีเยอเป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้าบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ป้อมปืนแบบทันสมัยล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า "ปืนเสือหมอบ" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436 ทำการทดลองยิงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพียงเดือนเศษ

ในปี พ.ศ. 2430 กัปตันรีเชอลีเยอ ร่วมหุ้นกับ กัปตันอัลเฟรด จอห์น ลอฟตัส หรือ พระนิเทศชลธี[2]เปิดบริษัททำการเดินรถราง เป็นครั้งแรก เส้นทางจากตำบลบางคอแหลม ผ่านถนนเจริญกรุง ไปสิ้นสุดที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นรถรางสายแรกในเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้พัฒนาเป็นรถรางเดินด้วยไฟฟ้า เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2437 ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้าสยาม ทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ท่านยังก่อตั้งบริษัทรถไฟปากน้ำซึ่งเปิดดำเนินการ รถไฟ สาย กรุงเทพ-สมุทรปราการ (ทางรถไฟสายปากน้ำ) ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นสายแรก เมื่อ พ.ศ. 2436

ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กัปตันรีเชอลีเยอ เป็นผู้นำทหารเรือชาวเดนมาร์กเข้าร่วมรบต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสที่ปากน้ำ ทั้งที่กงสุลเดนมาร์กมีคำสั่งไม่ให้ชาวเดนมาร์กเข้ายุ่งเกี่ยวในการศึกครั้งนี้ ขณะนั้นท่านมียศเป็นพลเรือจัตวา ตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือ ภายหลังการรบท่านได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ และต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2443 - 29 มกราคม พ.ศ. 2444[3] กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อเดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก[4] นับเป็นผู้บัญชาการทหารเรือคนแรกและคนเดียวที่เป็นชาวต่างประเทศ

อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการหล่อพระพุทธชินราช (จำลอง) ขึ้นที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โปรดเกล้าให้พระยาชลยุทธโยธินทร์ อัญเชิญนำขึ้นแพ ล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยเป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ปีเดียวกัน

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป พระยาชลยุทธโยธินทร์รับหน้าที่กัปตันเรือพระที่นั่งทุกครั้ง

ชีวิตส่วนตัว แก้

 
โลงหินของพระยาชลยุทธโยธินทร์ ที่โบสถ์โฮลเมนส์ (Holmens Kirke) กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

พระยาชลยุทธโยธินทร์ สมรสกับนางสาวดัคมาร์ เลิช (Dagmar Lousie Lerche) ธิดานายเอฟ. เลิช ผู้พิพากษาชาวเดนมาร์ก มีบุตรธิดา 3 คน คือ[5]

  • Mr. Louis de Richelieu
  • Mr. Helge de Richelieu
  • Madame Schestede Juul

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์เดนมาร์ก แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

สิ่งสืบเนื่อง แก้

ยศและบรรดาศักดิ์ แก้

  • หลวงชลยุทธโยธินทร์
  • พ.ศ. 2426 พระชลยุทธโยธินทร์
  • พ.ศ. 2431 พลเรือจัตวา[13]
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2434 พระยาชลยุทธโยธินทร์ ถือศักดินา 2000[14]
  • 4 เมษายน พ.ศ. 2440 พลเรือตรี[15]

อ้างอิง แก้

  1. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า 313)
  2. สำเนาสัญญาบัตร ปีจออัฐศก
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งตำแหน่งผู้รั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-09-05.
  5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ หม่อมเจ้าหญิง จงจิตรถนอม ดิศกุล. จดหมายถึงหญิงใหญ่ (ฉบับชำระใหม่). กรุงเทพ : สถาพรบุ๊คส์, 2551. ISBN 9789741665358
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๗ หน้า ๙๐๐, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙ ตอนที่ ๔๐ หน้า ๓๔๘, ๑ มกราคม ๑๑๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๓๖๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๑๑๒
  9. 9.0 9.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๗, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๔๖๘, ๑๔ มกราคม ๑๑๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิศริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๙ ตอนที่ ๒ หน้า ๑๒, ๑๐ เมษายน ๑๑๑
  13. พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน
  14. พระราชทานสัญญาบัตร
  15. พระราชทานสัญญาบัตร (หน้า 38-39)

บรรณานุกรม แก้

  • ณัฐนันท์ สอนพรินทร์ (2550). เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก. อมรินทร์บุ๊ค. ISBN 9789747489880.
ก่อนหน้า อ็องเดร ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ ถัดไป
พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
  ผู้บัญชาการกรมทหารเรือ
(16 มกราคม พ.ศ. 2443 - 29 มกราคม พ.ศ. 2444)
  สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช