มุนจ็องแห่งพาพย็อง (문정왕후, 文定王后) (2 ธันวาคม พ.ศ. 2044–5 พฤษภาคม พ.ศ. 2108) เป็นพระมเหสีองค์ที่ 3 ของพระเจ้าชุงจงแห่งราชวงศ์โชซ็อน พระนางมุนจ็องเป็นธิดา ของใต้เท้า ยุน จี เม แห่งตระกูล ยุน (ฝ่ายเล็ก) พระนางมุนจ็องเป็นผู้สำเร็จราชการแทน หรือ ว่าราชการหลังม่านให้กับโอรส คือพระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน เมื่อพระเจ้ามย็องจงยังทรงพระเยาว์ในการปกครองบ้านเมืองด้วยตนเองจนถึงปี พ.ศ. 2108 เมื่อพระนางมุนจ็องสวรรคตทำให้พระเจ้ามย็องจง ได้ครองอำนาจทั้งหมดเองหลังจากที่พระนางมุนจ็องสวรรคตได้รับการเฉลิมพระนามให้เป็น ช็องโย อินมย็อง มุนจ็อง ฮวังฮู (성렬인명문정왕후; 聖烈仁明文定王后) พระสุสานถูกฝังไว้ที่แทรึง

พระนางมุนจ็อง
문정왕후
พระมเหสีกรุงโชซ็อน
ครองราชย์พ.ศ. 2050 - 2087
ก่อนหน้าพระนางชังกย็อง
ถัดไปพระนางอินซ็อง
พระพันปีหลวงกรุงโชซ็อน
ครองราชย์ค.ศ. 1544 – 1545
ก่อนหน้าพระนางช็องฮย็อน
ถัดไปพระนางอินซ็อง
พระราชสมภพ2 ธันวาคม พ.ศ. 2044
โชซ็อน
สวรรคต5 พฤษภาคม พ.ศ. 2108 (63 ปี 155 วัน)
พระราชวังชังด็อก
ฝังพระศพสุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน
พระราชสวามีพระเจ้าชุงจง
พระราชบุตรพระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน
เจ้าหญิงอึยฮเย
เจ้าหญิงฮโยซ็อน
เจ้าหญิงคย็องฮย็อน
เจ้าหญิงอินซุน
พระนามเต็ม
ช็องโย อินมย็อง มุนจ็อง ฮวังฮู (성렬인명문정왕후; 聖烈仁明文定王后)
ราชวงศ์โชซ็อน
พระราชบิดายุน จี เม รู้จักในนาม "ใต้เท้าพาซาน"

การปกครอง แก้

พระนางมุนจ็อง ทรงมอบที่ดินและที่นาให้กับประชาชนที่อยู่ยากแร้นแค้น ซึ่งที่ดินที่มอบให้แก่ประชาชนนั้น ล้วนเป็นที่ดินของเหล่าขุนนางที่ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง

เนื่องจากในสมัยพระเจ้าชุงจง ยังคงมีพระชนม์ชีพอยู่ ขุนนางได้แตกออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายยุนใหญ่ คือเป็นฝ่ายของ ยุนอิม พระมาตุลาของพระเจ้าอินจง ที่สนับสนุนพระเจ้าอินจง ซึ่งในขณะนั้นยังคงอยู่ในตำแหน่ง องค์ชายรัชทายาท หรือ เซจา และฝ่ายยุนเล็ก คือฝ่ายของ ยุน ว็อน ฮัง พระเชษฐารอง ของ พระนางมุนจ็อง ซึ่งสนับสนุนพระเจ้ามย็องจง ซึ่งขณะนั้นเป็นยังคงดำรงตำแหน่ง องค์ชายคังว็อน เมื่อพระเจ้าอินจงครองราชย์ได้ตามฝ่ายยุนใหญ่ต้องการ พระเจ้าอินจงได้ขึ้นครองราชย์แทนในสมัยนี้ ฝ่ายยุนเล็กได้กุมอำนาจการปกครองเกือบทั้งหมด และฝ่ายยุนเล็ก ได้กำจัดฝ่ายยุนใหญ่ทั้งหมด ทำให้สมัยนี้ ยุน วอน ฮัง มีอำนาจ และฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งเมื่อ พระนางมุนจ็อง ในขณะนั้น คือพระพันปีมุนจ็อง ได้สิ้นพระชนม์ ทำให้ฝ่ายยุนเล็กถูกกวาดล้าง เนื่องจากเสียงคัดค้านของเหล่าขุนนางที่ยื่นฎีกา ให้ปลดและประหาร ยุน ว็อน ฮัง แก่ พระเจ้าเมียงจง ทำให้ ยุน ว็อน ฮัง และฝ่ายยุนเล็ก ถูกกวาดล้าง ในสมัยพระเจ้ามย็องจง ด้วย

เหตุการณ์สำคัญ แก้

  • พ.ศ. 2052 พระนางมุนจ็องทรงผลักดันให้องค์ชายช็องฮุน พระโอรสของพระมเหสีชังกย็อง ขึ้นเป็นองค์รัชทายาทด้วยความหวาดระแวงของยุนนิมและ คิม อัน-โล ว่าพระนางจะทำร้ายพระโอรสเลี้ยงของพระนางทำให้เกิดการบาดหมางกันระหว่างพระนางและยุนนิม นับแต่นั้นมา
  • พ.ศ. 2053 พระนางมุนจ็องมีพระประสูติกาลพระธิดาองค์โต ให้แก่พระเจ้าจุงจง หลังจากพระนางอภิเษกสมรสกับพระเจ้าจุงจงสืบเนื่องมาจากการแต่งตั้งองค์ชายช็องฮุน พระเจ้าอินจงพระโอรสในพระมเหสีชางกยอง พระมเหสีลำดับที่ 2 ของพระเจ้าจุงจงขึ้นเป็นองค์รัชทายาททำให้พระมเหสีมุนจองมีเรื่องบาดหมางกับใต้เท้ายุนนิมและคิมอันโล จึงเป็นโอกาสเหมาะของเหล่าขุนนางที่ต่อต้านพระนางร่วมมือกันปลดพระนางออกจากตำแหน่ง ในการวางแผนการปลดพระนางครั้งนี้มี คิมอัลโลและยุนนิมเป็นหัวหน้า นำเรื่องที่ยุนวอนฮังพระเชษฐาของพระนางติดสินบนกับแพ็กโทจู พ่อค้ารายใหญ่ แห่งโชซ็อนขึ้นกราบทูลพระเจ้าจุงจง ทำให้พระเจ้าจุงทรงพิโรธด้วยแผนการที่แยบยลของคิมอัลโล และยุนนิมยังทำให้พระนางบาดหมาง กับพระพันปีจาซุนอีกด้วย ทำให้พระเจ้าจุงจงมีรับสั่งปลด พระนางออกจากตำแหน่ง พระมเหสีแต่ ชองนานจอง อนุภรรยาของยุนวอนฮัง ได้นำสมุดบันทึกการติดสินบนของเหล่าขุนนางถวายแก่พระนางและก่อนที่พระนางจะเสด็จออกนอกวังตามรับสั่งของพระเจ้าจุงจงพระนางได้มอบสมุดบันทึกให้แก่องค์รัชทายาทพระเจ้าอินจง จึงนำขึ้นถวายพระเจ้าจุงจง เมื่อพระเจ้าจุงจงทรงทราบความจริงว่าเป็นแผนการของเหล่าขุนนางจึงคืนพระยศให้แก่พระมเหสีมุนจอง นับแต่นั้นมา
  • พ.ศ. 2055 พระนางมุนจ็องร่วมมือกับเหล่าพระสนมคัดค้านการคืนสู่ตำแหน่งของใต้เท้าปานึงกุล ซึ่งเป็นพระญาติของพระเจ้าจุงจง เป็นผลสำเร็จทำให้ใต้เท้าปานึงกุล ลาออกจากราชการ
  • พ.ศ. 2060 พระนางมุนจ็องร่วมมือกับช็อง นัน-จ็อง ภรรยาของยุน ว็อน-ฮย็อง ใส่ร้ายพระสนมคย็องบิน โดยการนำหนูตายและแผ่นป้ายสาปแช่ง องค์รัชทายาท ไปแขวนบนต้นไม้และส่งเป็นของขวัญในวันประสูติขององค์รัชทายาทและบีบให้ใต้เท้าพักชองกุลหักหลังพระสนมยองพินด้วยการจับผิด ใต้เท้าพักชองกุลเข้าเฝ้าพระสนมยองพินในยามวิกาลทำให้ใต้เท้าพักชองกุลต้องทำตามรับรับสั่งของพระนาโดยการนำความขึ้นกราบทูลพระเจ้าจุงจงว่า พระสนมคย็องบิน เป็นคนทำการสาปแช่งองค์รัชทายาทและร่วมมือกับพระพันปีจาซุน ขอให้พระเจ้าจุงปลดพระสนมคย็องบินออกจากตำแหน่งและพระราชทานยาพิษแก่ พระสนมคย็องบิน และ องค์ชายพกซ็อง พระโอรสองค์โต ในพระเจ้าจุงจง เมื่อพระนางสามารถปลด พระสนมคย็องบินออกจากตำแหน่งและประทานยาพิษแก่พระสนมคย็องบินและองค์ชายพกซ็องได้พระนางก็เริ่มมีบทบาทในวังมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นพระนางและ ชองนานจอง ยังคงเดินหน้าต่อ กำจัดเสี้ยนหนามของตน คือ คิมอันโล และ ยุนนิม แต่ในเวลานั้น ทั้งยุนนิมและ ใต้เท้าคิมอันโล ก็มีเรื่องกันภายใน ทำให้ทั้งสองต้องแยกทางอันเป็นพันธมิตรต่อกันมายาวนาน เมื่อทั้งสองแตกคอกัน ใต้เท้าคิมอันโลก็ยึดอำนาจในวังเกือบหมด ตั้งตนเองเป็นถึง มหาเสนาบดี ทำให้คิมอันโลมีอำนาจในวังอย่างมาก แต่แล้ว ก็ต้องพ่ายแพ้แก่ความเฉลียวฉลาดของชองนานจอง ทำให้ถูกปลดออกจากตำแหน่งและเนรเทศไปต่างเมืองเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ยุนนิม มีอำนาจมากขึ้นและตั้งตนเองเป็น มหาเสนาบดีเช่นกัน เมื่อ และ พยายามแต่งตั้ง องค์รัชทายาทขึ้นดำรงตำแหน่ง และ สำเร็จในที่สุด ทำให้ฝ่ายยุนใหญ่ มีอำนาจในวังอย่างมาก ยุนนิมยังพยายามที่จะกำจัดพระมเหสีต่อไป แต่ชองนานจองก็ลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอินจง ถึงหลายครั้งในที่สุด ก็ทำสำเร็จ ด้วยการวางยาพิษ ประกอบกับ พระเจ้าอินจงมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงทำให้ล้มป่วยบ่อยๆ และ พระเจ้าอินจงก็สวรรคตในที่สุด ทำให้มีการแต่งตั้ง องค์ชายคังวอน เป็น พระเจ้าเมียงจง แต่ก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งขึ้นอีก เนื่องจาก พระเจ้าเมียงจงในขณะนั้น มีพระชนมายุน้อย ทำให้ต้องมีการว่าราชการหลังม่าน ทำให้พระมเหสีมุนจอง ที่ตอนนั้นดำรงค์ตำแหน่งเป็น พระพันปีมุนจอง ต้องแย่งชิงตำแหน่งนี้กับพระนางอินซ็อง (อดีตพระมเหสีในสมัยพระเจ้าอินจง) แต่แล้วเหล่าขุนนางก็ลงมติเลือกพระพันปีมุนจ็อง เป็นผู้ว่าราชการหลังม่านแทน ทำให้ พระนางยิ่งมีอำนาจในวังมากขึ้น และ พระนางกับนานจองยังกำจัด ฝ่ายยุนใหญ่ได้สำเร็จเป็นเหตุทำให้ ยุนวอนฮัง ฝ่ายยุนเล็ก พระเชษฐาของพระพันปีมุนจอง กุมอำนาจในวังได้สำเร็จ และ เสวยสุขนานกว่า 20 ปี ช่วงนั้นถือเป็นช่วงที่ สตรีกุมชะตาแผ่นดินไว้ และ ยังเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์โชซอน อีก เพราะ พระพันปีมุนจง ยังแต่งตั้ง ชองนานจอง อนุภรรยาของ พระเชษฐายุนวอนฮัง เป็น ภรรยาเอก ทั้งพระเชษฐายุนวอนฮัง และ ชองนานจอง สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศเกาหลีอย่างมากเพราะ ทั้งฉ้อราษฏ์บังหลวงอย่างมาก จนในที่สุด พระพันปีมุนจงก็สวรรคตในที่สุด เมื่อ ปี ค.ศ.1565 ทำให้ พระเชษฐายุนวอนฮังและชองนานจอง ต้องลี้ภัยออกจากเมืองหลวง เพื่อดูสถานการณ์ ชองนานจองจึงอาสากลับมาที่เมืองหลวงเพื่อดูราดราว แต่ ในระหว่างทางกลับถูกชาวบ้านรอบทำร้าย ทำให้ชองนานจอง ถึงกลับสลบไป แต่นางถูกช่วยด้วย นักบวชที่เคยทำคลอดนาง แต่ พระเชษฐายุนวอนฮังได้ข่าวว่า ภรรยาของพระนางตายแล้ว ยุนวอนฮัง จึงกินยาพิษตาย ในบ้านหลังหนึ่ง เมื่อ ชองนานจองได้ข่าวว่า สามีตัวเองตายก็ตรอมใจตาย ด้วยการเดินลงทะเล


ก่อนหน้า พระนางมุนจ็อง ถัดไป
พระนางชังกย็อง   พระมเหสีกรุงโชซ็อน
(ค.ศ. 1517 - 1544)
  พระนางอินซ็อง