พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2526)

พรรคก้าวหน้า พรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 มีนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็นหัวหน้าพรรค และนายบุญเกิด หิรัญคำ เป็นเลขาธิการพรรค และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนลาดพร้าว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[1] โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญสีน้ำเงินในวงล้อธรรมจักร กำรอบพานสีเหลือง ตัวอักษรรอบวงเป็นสีแดง[3]

พรรคก้าวหน้า
หัวหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
เลขาธิการไชยยศ สะสมทรัพย์
คำขวัญโดยประชาชน เพื่อคนรุ่นใหม่
ก่อตั้ง22 มีนาคม พ.ศ. 2526[1]
ถูกยุบ14 เมษายน พ.ศ. 2532[2]
แยกจากพรรคประชาธิปัตย์
ยุบรวมกับพรรคเอกภาพ
ที่ทำการ๘/๑๒ ซอยลาดพร้าว ๒๓ ถนนลาดพร้าว เขตบางเขน กรุงเทพฯ
อุดมการณ์ก้าวหน้า
ต่อต้านเผด็จการคณาธิปไตย[1]
ประชาธิปไตย
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ประวัติ แก้

พรรคก้าวหน้า ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2526 และได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 เป็นครั้งแรก และได้รับเลือกตั้งจำนวน 3 คน คือ อุทัย พิมพ์ใจชน (จังหวัดชลบุรี) เกษม บุตรขุนทอง (จังหวัดเพชรบูรณ์) และอนันต์ ฉายแสง (จังหวัดฉะเชิงเทรา)

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้รับเลือกตั้ง 7 ที่นั่ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ได้ 8 ที่นั่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2532 จึงได้ยุบพรรคเข้าร่วมกับพรรคเอกภาพ โดยศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532[2]

บทบาทในสภาผู้แทนราษฎร แก้

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ครั้งหนึ่ง มีการลงชื่อขอเปิดอภิปรายโดย ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน แต่ทว่าก่อนการเปิดอภิปรายไม่กี่วัน ส.ส.พรรคก้าวหน้า 2 คน คือ นายวิสันต์ เดชเสน (จังหวัดยโสธร) และนายเสกสรร แสนภูมิ (จังหวัดสุรินทร์) ซึ่งได้ร่วมลงชื่อไปแล้ว ได้ถอนชื่อออก ทำให้มีสมาชิกลงชื่อไม่เพียงพอต่อการเปิดอภิปราย การอภิปรายในครั้งนั้นจึงไม่เกิดขึ้น [4]

บุคลากรในพรรค แก้

หัวหน้าพรรค แก้

เลขาธิการพรรค แก้

ผลการเลือกตั้ง แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป แก้

การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
2526
3 / 324
338,140 1.3%   3 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน อุทัย พิมพ์ใจชน
2529
7 / 347
1,998,721 5.3%   4 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2531
8 / 357
1,114,468 2.8%   1 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคก้าวหน้า)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  2. 2.0 2.1 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง ตามนัยมาตรา ๔๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
  3. มาแล้ว! กกต. เผยยอดกลุ่มการเมืองแห่จองชื่อพรรค 2-30 มี.ค. รวม 97 พรรค
  4. "วิเคราะห์คอลัมนิสต์ 25 04 59". ฟ้าวันใหม่. 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2016.
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคก้าวหน้า ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔
  6. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลขาธิการพรรคก้าวหน้าลาออกจากตำแหน่ง