ผู้คุมเสียงในสภา

ผู้คุมเสียงในสภา หรือ วิป (อังกฤษ: whip) เป็นหน้าที่หนึ่งในพรรคการเมือง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรับรองวินัยพรรคในสภานิติบัญญัติ ผู้คุมเสียงในสภาเป็น "ผู้ทำงานสกปรก" (enforcer) ของพรรคซึ่งตรงแบบเสนอสิ่งจูงใจและขู่ลงโทษสมาชิกพรรคเพื่อรับรองว่าเขาเหล่านั้นออกเสียงตามนโยบายของพรรคอย่างเป็นทางการ บทบาทของผู้คุมเสียงในสภายังเพื่อรับรองว่าผู้แทนที่ได้รับเลือกของพรรคเข้าประชุมเมื่อมีการออกเสียงที่สำคัญ

ความหมาย แก้

ในหนังสือสารานุกรมศัพท์ทางรัฐศาสตร์ของ อ.อุทัย หิรัญโต ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า[1]

"คำว่า whip แปลตามตัวว่า แส้ที่ใช้ปัดยุงหรือสำหรับเฆี่ยนม้า คำนี้เป็นคำที่วงการเมืองอังกฤษยืมมาจากวงการกีฬาส่าสัตว์ กีฬาล่าสัตว์ในอังกฤษสมัยโบราณนั้น พวกขุนนางหรือผู้ดีมักจะเลี้ยงสุนัขไว้เป็นฝูง และฝึกหัดไว้เป็นอย่างอย่างดีเพื่อให้มีหน้าที่ช่วยเหลือในการติดตามหรือล่าสัตว์ ผู้ควบคุมฝูงสุนัขหรือคอยจัดระเบียบให้สุนัขอยู่รวมกันเป็นหมวดหมู่ไม่แตกแยกกัน เพื่อจะติดตามไล่สัตว์ได้สะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า whip ซึ่งมีชื่อเต็มว่า whipper in ซึ่งต่อมาวงการเมืองของอังกฤษได้นำคำว่า whip มาใช้โดยให้มีความหมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ควบคุมเสียงในสภา หรือผู้ทำหน้าที่ไล่ต้อนให้สมาชิกไปออกเสียงโดยพร้อมเพรียงกันนั้นเอง"

ระบบวิปในประเทศไทย แก้

ระบบวิปในประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2526 ในนามของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (ปสส.) ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 43 (พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี) โดยมี บุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นประธานคนแรก โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 76/2526 โดยในทางปฏิบัติการตั้งคณะกรรมการฯ นี้ จะมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้[2]

  1. ประธานกรรมการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา (หรือเป็นบุคคลที่รัฐบาลให้ความไว้วางใจที่จะประสานงานระหว่าง สภาฯ กับ รัฐบาล)
  2. กรรมการ - มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล โดยจัดสรรตามที่นั่งในสภา
  3. เลขานุการ - จะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภา
  4. ผู้ช่วยเลขานุการ - ซึ่งจะเป็นข้าราชการประจำ สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

อ้างอิง แก้