อาการปวดประจำเดือน หรือ ปวดระดู คืออาการปวดที่มีขึ้นขณะที่สตรีกำลังมีประจำเดือน[1][2] ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นในวันแรกของการมีประจำเดือน[1] และมักเป็นอยู่ไม่เกิน 3 วัน[1] อาการปวดมักเป็นอยูที่ท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน[1] อาการอื่นที่พบร่วมด้วยเช่น ปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น[1]

ปวดประจำเดือน
(Dysmenorrhea)
ชื่ออื่นDysmenorrhoea, painful periods, menstrual cramps
สาขาวิชานรีเวชวิทยา
อาการPain during menstruation, diarrhea, nausea[1][2]
การตั้งต้นWithin a year of the first menstrual period[1]
ระยะดำเนินโรคLess than 3 days (primary dysmenorrhea)[1]
สาเหตุNo underlying problem, uterine fibroids, adenomyosis, endometriosis[3]
วิธีวินิจฉัยPelvic exam, ultrasound[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันEctopic pregnancy, pelvic inflammatory disease, interstitial cystitis, chronic pelvic pain[1]
การรักษาHeating pad, medication[3]
ยาNSAIDs such as ibuprofen, hormonal birth control, IUD with progestogen[1][3]
พยากรณ์โรคOften improves with age[2]
ความชุก20–90% (women of reproductive age)[1]

สตรีอายุน้อยอาจมีอาการปวดประจำเดือนได้โดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหรือพยาธิสภาพ[3][4] แต่ในสตรีสูงอายุมักพบว่าเกิดจากโรค เช่น เนื้องอกมดลูก อะดีโนไมโอซิส หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่[3] ในคนที่มีประจำเดือนมามาก มาไม่สม่ำเสมอ มีประจำเดือนครั้งแรกเร็ว (ก่อน 12 ปี) หรือมีน้ำหนักตัวน้อย จะพบได้บ่อยกว่าคนทั่วไป[1] การตรวจภายในและการตรวจอุลตร้าซาวด์จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการวินิจฉัย[1] ภาวะที่จะต้องนึกถึงและตรวจให้แน่ใจว่าไม่เป็นได้แก่ การท้องนอกมดลูก การอักเสบของอุ้งเชิงกราน กระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรัง และโรคปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง[1]

คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำและคนที่เคยมีบุตรจะมีโอกาสมีอาการปวดประจำเดือนน้อยกว่าคนทั่วไป[1] การรักษาอาจทำได้โดยการประคบอุ่น[3] ยาที่ช่วยได้คือยาในกลุ่มยาแก้อักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (เช่น ไอบูโปรเฟน) ยาคุมกำเนิด และห่วงคุมกำเนิดแบบปล่อยฮอร์โมน[1][3] การกินวิตามินบีหนึ่งและแมกนีเซียมเสริมอาจช่วยได้[2] ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการทำโยคะ การฝังเข็ม และการนวด จะช่วยได้[1] ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหากมีโรคบางชนิดร่วมด้วย[2]

สัดส่วนของสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนแตกต่างกันไปตามแต่ละงานวิจัย โดยมีอยู่ตั้งแต่ 20-90%[1][4] ถือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนที่พบบ่อยที่สุด[2] ส่วนใหญ่มักเริ่มเป็นภายในหนึ่งปีหลังเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก[1] ในกรณีที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุ อาการปวดมักดีขึ้นเมื่อโตขึ้นหรือเมื่อมีบุตร[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 1.18 1.19 Osayande AS, Mehulic S (March 2014). "Diagnosis and initial management of dysmenorrhea". American Family Physician. 89 (5): 341–6. PMID 24695505.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 American College of Obstetricians and Gynecologists (Jan 2015). "FAQ046 Dynsmenorrhea: Painful Periods" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 June 2015. สืบค้นเมื่อ 26 June 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 "Menstruation and the menstrual cycle fact sheet". Office of Women's Health. December 23, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2015. สืบค้นเมื่อ 25 June 2015.
  4. 4.0 4.1 "Dysmenorrhea and Endometriosis in the Adolescent". ACOG. American College of Obstetricians and Gynecologists. 20 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 21 November 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก