ปลาโมง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์: Pangasiidae
สกุล: Pangasius
สปีชีส์: P.  conchophilus
ชื่อทวินาม
Pangasius conchophilus
Roberts & Vidthayanon, 1991

ปลาโมง (อังกฤษ: Snail eater pangasius)[2] เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasius conchophilus อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pagasiidae) มีลักษณะคล้ายปลาเผาะ (P. bocourti) อันเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน มีตาเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง หนวดยาวถึงบริเวณช่องเหงือก แถบฟันบนเพดานเชื่อมติดกันเป็นรูปเหลี่ยม รูปร่างเพรียว หางคอด ก้านครีบแข็งที่หลังค่อนข้างยาวและใหญ่ หัวและลำตัวสีเทาหรือสีเขียวมะกอกเหลือบเหลืองหรือเขียว บางตัวสีเทาจาง ข้างลำตัวสีจางและไม่มีแถบคล้ำ ท้องสีจาง ครีบสีจาง ลูกปลามีสีเทาอมน้ำตาลหรือเหลือง มีขนาดประมาณ 60-80 เซนติเมตร

พบปลาที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2534 โดยระบุว่าเป็นปลาชนิดใหม่ที่มีขนาดเล็ก กินกุ้ง, ปู และแมลงเป็นส่วนใหญ่ ปลาขนาดใหญ่กินหอย, ปู และเมล็ดพืช โดยหอยจะถูกกินทั้งตัวแล้วถ่ายออกมาเฉพาะเปลือก อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ พบมากในแม่น้ำโขง, แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง มีการบริโภคโดยการปรุงสด และหมักสับปะรด เนื้อมีรสชาติดี ในต่างประเทศ เช่น เวียดนาม มาเลเซีย มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้เป็นปลาเศรษฐกิจด้วย

มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "ปลาโมงออดอ้อ", "ปลาเผาะ" "ปลาลึง" (เรียกซ้ำกับปลาเผาะชนิด P. bocourti), "ปลาสายยู" หรือที่ทางกรมประมงตั้งให้ คือ "ปลาสายยูเผือก" เป็นต้น[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Vidthayanon, C. (2011). "Pangasius conchophilus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2015.2. สืบค้นเมื่อ 3 September 2015.
  2. "ปลาสายยู". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
  3. หน้า 33, สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒ โดย สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์ (พ.ศ. 2547) ISBN 974-00-8738-8

แหล่งข้อมูลอื่น แก้