ปลาโจก (อังกฤษ: Soldier river barb) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Cyclocheilichthys (/ไซ-โคล-ไคล-อิค-ธีส/; เฉพาะชนิด C. apogon, C. armatus และ C. raspasson ใช้ชื่อสกุลว่า Anematichthys)

ปลาโจก
Cyclocheilichthys apogon
จากอำเภอซัมบัซ จังหวัดกาลีมันตันตะวันตก ประเทศอินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาโจก
Bleeker, 1879
ชนิดต้นแบบ
Systomus apogon
Valenciennes, 1842
ชนิด

ดูเนื้อหา

โดยคำว่า Cyclocheilichthys มาจากภาษากรีกโบราณคำว่า κύκλος (kýklos) หมายถึง "วงกลม", χείλος (cheílos) หมายถึง "ริมฝีปาก" และ ἰχθύς (ikhthús) หมายถึง "ปลา" ซึ่งมีความหมายถึง ริมฝีปากของปลาในสกุลนี้[1] มีชื่อสามัญเรียกในภาษาไทยรวม ๆ กันว่า "โจก" หรือ "ตะโกก" หรือ "ไส้ตัน" ในชนิดที่มีขนาดเล็ก เป็นต้น[2]

มีรูปร่างโดยรวม คือ มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์นี้ทั่วไป ส่วนหัวแหลม ลำตัวยาวเรียว แบนข้างเล็กน้อย บางชนิดมีหนวด 2 คู่ บางชนิดมีหนวด 1 คู่ หรือไม่มีหนวดเลย บริเวณแก้มและจะงอยปากมีตุ่มประสาทเล็ก ๆ เรียงกันเป็นแถว เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัวมีไม่เกิน 50 แถว มีลักษณะเด่นคือ ครีบหลังมีก้านครีบตอนหน้าแข็งยาวคล้ายเงี่ยงเห็นได้ชัดเจน และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย มีก้านครีบแขนง 8 ครีบ พื้นลำตัวโดยมากด้านหลังและครีบสีเทาอมฟ้า ส่วนอื่นสีเงิน แต่ก็มีบางชนิดที่เป็นสีอื่น เช่น สีแดง และมีลวดลายตามลำตัว ขนาดลำตัวแตกต่างกันไปตามชนิด มีตั้งแต่ 15 เซนติเมตร จนถึง 2 ฟุต

ปลาโจกจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย ในชนิด C. enoplus หรือ ปลาตะโกก ที่มีการเพาะเลี้ยงกันในเชิงพาณิชย์ [3]

ชนิด แก้

ทาง FishBase จัดให้ปลาชนิด C. armatus และ C. repasson อยู่ใน Anematichthys

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Cyclocheilichthys apogon (VALENCIENNES, 1842) (อังกฤษ)
  2. ความหมายของคำว่า "ตะโกก" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
  3. "ปลาตะโกก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-20.