ปลาออร์
ซากปลาออร์ในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำประเทศญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Lampriformes
วงศ์: Regalecidae
สกุล: Regalecus
สปีชีส์: R.  glesne
ชื่อทวินาม
Regalecus glesne
Ascanius, 1772
ชื่อพ้อง [2]
  • Cephalepis octomaculatus Rafinesque, 1810
  • Cepola gladius Walbaum, 1792
  • Gymnetrus ascanii Shaw, 1803
  • Gymnetrus banksii Valenciennes, 1835
  • Gymnetrus capensis Valenciennes, 1835
  • Gymnetrus gladius Valenciennes, 1835
  • Gymnetrus grillii Lindroth, 1798
  • Gymnetrus hawkenii Bloch, 1795
  • Gymnetrus longiradiatus Risso, 1820
  • Gymnetrus telum Valenciennes, 1835
  • Regalecus banksii (Valenciennes, 1835)
  • Regalecus caudatus Zugmayer, 1914
  • Regalecus jonesii Newman, 1860
  • Regalecus masterii De Vis, 1891
  • Regalecus pacificus Haast, 1878
  • Regalecus remipes Brünnich, 1788

ปลาออร์ หรือ ปลาริบบิ้น (อังกฤษ: Oarfish, King of herrings; จีน: 皇帶魚; พินอิน: huángdài yú) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Regalecus glesne อยู่ในวงศ์ Regalecidae

มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับพญานาคตามความเชื่อของไทย หรือมังกรทะเลในความเชื่อในยุคกลางของชาวตะวันตก โดยมีความยาวได้สูงสุดยาวถึง 9 เมตร และหนัก 300 กิโลกรัม แต่ก็มีบันทึกไว้ในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ด้วยว่า ปลาชนิดนี้เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ยาวที่สุดในโลก โดยอาจยาวได้ถึง 11 เมตร ในขณะที่รายงานไม่ยืนยันอีกบางกระแสระบุว่าอาจยาวถึง 15 เมตร หรือกว่านั้น มีส่วนหัวที่ใหญ่ ลำตัวแบนสีเงิน มีจุดสีฟ้าและดำประปราย มีครีบหลังสีชมพูแดง บนหัวที่อวัยวะแลดูคล้ายหงอนเป็นจุดเด่น

เชื่อว่าเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึกในช่วง 1,000 เมตร[3][4] แต่โดยทั่วไปแล้วอาศัยที่ความลึก 200 เมตร[5] จึงพบเห็นได้ยากมาก แต่มีผู้พบเห็นเป็นระยะ ๆ ในหลายพื้นที่ ตั้งแต่ชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกของออสเตรเลีย เรื่อยไปจนถึงทะเลนอกชายฝั่งเม็กซิโก และแถบหมู่เกาะเบอร์มิวดา ส่วนใหญ่มักถูกคลื่นซัดออกมาเกยหาดหลังเกิดพายุ หรือไม่ก็เกิดอาการผิดปกติขึ้นกับปลา เช่น ป่วย หรือใกล้ตาย หรือซากที่ตายแล้ว น้อยครั้งที่จะมีการพบเห็นขณะมีชีวิตอยู่

ภาพถ่ายของปลาออร์ ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นพญานาคที่ประเทศลาว

เป็นปลาที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ไม่เป็นอันตรายและไม่ทำร้ายมนุษย์ แม้จะมีรายงานไม่ยืนยันจากนักวิจัยในนิวซีแลนด์ที่ระบุว่าถ้าหากแตะไปที่ตัวของมันขณะยังมีชีวิตอยู่จะปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาช็อตได้ (ซึ่งสันนิษฐานจากความใกล้ชิดทางสายพันธุ์กับ ปลาสตรีมเมอร์ (Agrostichthys parkeri) ที่มีรายงานว่าเป็นปลาปล่อยกระแสไฟฟ้าแบบอ่อนเมื่อถูกจับต้อง[5])

ปลาออร์เมื่อปรากฏตัวขึ้นมามักจะปรากฏเป็นข่าวครึกโครมอยู่เป็นระยะ ๆ ว่าเป็นพญานาคหรือสัตว์ประหลาด อาทิ ในกลางปี ค.ศ. 1996 ได้ปรากฏภาพถ่ายใบหนึ่งของกลุ่มทหารชาวอเมริกันอุ้มปลาชนิดนี้ แพร่กระจายกันทั่วไปในสังคมไทย ทำให้เกิดความเชื่อว่า นั่นเป็นพญานาคที่จับได้จากแม่น้ำโขง และเชื่อว่า ภาพถ่ายนั้นถ่ายที่ค่ายทหารแห่งหนึ่งในประเทศลาวและถ่ายมานานแล้วกว่า 30 ปี ในยุคสงครามเวียดนาม แต่แท้จริงแล้วเป็นภาพที่ถ่ายในค่ายทหารที่เกาะโคโรนาโด รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปีเดียวกันนั้นเอง[6][7] และเป็นปลาที่อยู่จับได้ในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทวีปอเมริกาใต้

ระเบียงภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Smith-Vaniz, W. F. (2015). "Regalecus glesne". The IUCN Red List of Threatened Species 2015: e.T190378A21911480. doi:10.2305/IUCN.UK.2015-4.RLTS.T190378A21911480.en.
  2. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2013). "Regalecus glesne" in FishBase. February 2013 version.
  3. Brian Clark Howard. 5 Surprising Facts About the Oarfish That Has Been Washing Up on Beaches. National Geographic, 22 ตุลาคม 2556.
  4. Early stages of Atlantic fishes : an identification guide for the western central North Atlantic. Volume I. Richards, William J. (William Joseph), 1936-. Boca Raton, FL: Taylor & Francis. 2006. ISBN 0-203-50021-0. OCLC 64662785.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 Florida Museum. Regalecus glesne. สิืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2564.
  6. "ไต้หวันพบปลาประหลาดสีเงินมีหงอนตัวแบนยาวคล้ายพญานาค ผวาตำนานอาจเกิดแผ่นดินไหวใหญ่". สนุกดอตคอม.
  7. Sergio Prostak. Extremely Rare Giant Oarfish Caught on Camera in Gulf of Mexico. SciNews, 7 กรกฎาคม 2556.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้