ปลาฉลามหัวค้อนยาว

ปลาฉลามหัวค้อนยาว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Selachimorpha
อันดับ: Carcharhiniformes
วงศ์: Sphyrnidae
สกุล: Eusphyra
T. N. Gill, 1862
สปีชีส์: E.  blochii
ชื่อทวินาม
Eusphyra blochii
(G. Cuvier, 1816)
Range of the winghead shark[2]
ชื่อพ้อง
  • Zygaena blochii G. Cuvier, 1816
  • Zygaena laticeps Cantor, 1837
  • Zygaena latycephala van Hasselt, 1823

ปลาฉลามหัวค้อนยาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Eusphyra blochii) คือสปีชีส์ในกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนและเป็นส่วนหนึ่งในวงศ์ปลาฉลามหัวค้อน มีความยาวของลำตัวได้ถึง 1.9 เมตร มีสีน้ำตาลหรือสีดำ มีรูปร่างเพรียวบางและมีครีบหลังในรูปเคียวด้ามยาว ชื่อของฉลามชนิดนี้มาจากลักษณะส่วนหัวรูปค้อนที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า cephalofoil ซึ่งมีความกว้างได้มากถึงครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว การใช้งานจากโครงสร้างลำตัวเช่นนี้ไม่ปรากฏชัดเจนแต่อาจเกี่ยวกับระบบประสาทสัมผัสของฉลาม ช่องว่างระหว่างตาทั้งสองข้างช่วยให้ฉลามมองด้วยระบบการเห็นภาพจากสองตาได้ดีเยี่ยม ส่วนรูจมูกที่ยาวมากนั้นอาจช่วยให้ฉลามตรวจจับและติดตามกลิ่นในน้ำได้ดียิ่งขึ้น ส่วนหัว cephalofoil ยังมีพื้นสัมผัสที่มีขนาดใหญ่สำหรับรูเปิดที่มีชื่อว่าampullae of Lorenziniและเส้นข้างลำตัวซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถในการตรวจจับกระแสไฟฟ้าและการตรวจจับพลังงาน

ปลาฉลามหัวค้อนยาวอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งน้ำตื้นของทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก โดยออกหาอาหารกลุ่มปลากระดูกแข็ง สัตว์พวกกุ้งกั้งปูและสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ฉลามหัวค้อนยาวออกลูกเป็นตัวโดยตัวอ่อนจะได้รับอาหารผ่านทางสายที่เชื่อมรก ตัวเมียจะตกลูกคราวละ 6-25 ตัว ขึ้นอยู่กับพื้นที่อาศัย ช่วงเวลาตกลูกมักเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนหลังจากระยะเวลาตั้งครรภ์นาน 8-11 เดือน ฉลามที่มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์นี้ มักจะถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร สำหรับเนื้อปลา ครีบ น้ำมันตับปลาและปลาป่น สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติได้ประเมินสถานะเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากจำนวนของฉลามที่ลดลงเนื่องมาจากการถูกล่าหาประโยชน์ที่มากเกินไป

อนุกรมวิธาน แก้

ในปี พ.ศ. 2328 มาร์คัส เอลีเยเซอร์ บลอค นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน อธิบายถึงฉลามชื่อว่า Squalus zygaena (ชื่อเหมือนของ Sphyrna zygaena ปลาฉลามหัวค้อนดำ) จอร์จส์ คูวิเยร์ นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ได้เขียนข้ออ้างอิงถึงเรื่องราวของ S. zygaena ในข้อเขียนปี พ.ศ. 2360 Le Règne animal distribué d'après son organisation, pour servir de base à l'histoire naturelle des animaux et d'introduction à l'anatomie comparée ว่าตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่บลอค อธิบายถึง (ให้ชื่อว่า "z. nob. Blochii") ไม่ใช่ปลาฉลามหัวค้อนดำ หากแต่เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มที่แตกต่างออกไป ถึงแม้ว่า คูวิเยร์ ไม่ได้ระบุการตั้งชื่อแบบทวินาม อะคิล วาล็องเซียน เพื่อนร่วมงานของเขาอธิบายในปี พ.ศ. 2365 ถึงสิ่งมีชีวิตในกลุ่มสปีชิส์เดียวกัน เรียกว่า Zygaena Blochii nobis โดยอ้างชื่อให้แก่คูวิเยร์[3][4]

ในปี พ.ศ. 2405 ธีโอดอร์ กิลล์ จัดให้ปลาฉลามหัวค้อนยาวอยู่ในกลุ่มสกุล Eusphyra ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า eu (ดี) และ sphyra (ค้อน)[5][6] อย่างไรก็ดี ภายหลังผู้เขียนไม่ยอมรับชื่อ Eusphyra และเห็นควรจัดกลุ่มไว้กับฉลามหัวค้อนยาวในกลุ่มสกุล Sphyrna ในปี พ.ศ. 2491 ชื่อสกุล Eusphyra ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งโดย เฮนรี บิเกโลว์ และ วิลเลียม ชเรอเดอร์ จนกลายมาสู่ชื่อที่ใช้กันแพร่หลายจากงานวิจัยหลักอนุกรมวิธานเพิ่มเติมโดย ลีโอนาร์ด คอมพาโน ในปี 1979 (พ.ศ. 2522) และ ปี พ.ศ. 2531 อย่างไรก็ตาม แหล่งอ้างอิงส่วนหนึ่งยังเรียกสิ่งมีชีวิตกลุ่มนี้ในสกุล Sphyrna blochii[4][7] ชื่อสามัญอื่นๆ ที่ใช้สำหรับปลาฉลามหัวค้อนยาว ได้แก่ ปลาฉลามหัวลูกศร ปลาฉลามหัวค้อนลูกศร และปลาฉลามหัวค้อนเล็ก[6]

ความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการ แก้

แนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับวิวัฒนาการของปลาฉลามหัวค้อนนั้นเริ่มจากสปีชิส์ปลาฉลามรูปหัว cephalofoil ขนาดเล็กซึ่งวิวัฒน์มาจากต้นสกุลปลาฉลามกลุ่มเรควีเอ็ม และต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นสปีชิส์ที่ฉลามรูปหัว cephalofoil ขนาดใหญ่ขึ้น การตีความหมายเช่นนี้จึงทำให้ปลาฉลามหัวค้อนยาวเป็นปลาฉลามหัวค้อนที่มีวิวัฒนาการสูงสุดจากปลาฉลามหัวค้อนด้วยโครงสร้างรูปหัว cephalofoil ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อย่างไรก็ตาม การวิจัยความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการเชิงโมเลกุลบนพื้นฐานของ ไอโซไซม์ ไมโทคอนเดรีย และ นิวเคลียร์-ดีเอ็นเอ ได้ค้นพบรูปแบบที่ตรงกันข้ามว่าปลาฉลามหัวค้อนยาวนับเป็นกลุ่มตั้งต้นของวงศ์ฉลามหัวค้อน การค้นพบนี้สนับสนุนแนวคิดที่ขัดแย้งกับความคิดทั่วไปที่ว่าปลาฉลามหัวค้อนตัวแรกที่วิวัฒน์ขึ้นเป็นปลาฉลามรูปหัว cephalofoil ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการแบ่งสกุล Eusphyra จาก Sphyrna ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตต้นตระกูลอย่างเป็นระเบียบ (กลุ่มสกุลลูกหลานจากต้นตระกูลเดียวกัน) วงศ์สกุลของปลาฉลามหัวค้อนคาดว่ามีวิวัฒนาการมาจากกลุ่มปลาฉลามหัวค้อนเมื่อประมาณ 15-20 ล้านปีที่แล้วในช่วงสมัยไมโอซีน[7][8][9]

รูปร่างลักษณะ แก้

 
ภาพเอ็กซ์เรย์ของปลาฉลามหัวค้อนยาว

ฉลามหัวค้อนยาวมีลักษณะตรงกับชื่อ คือมีรูปหัว cephalofoil ที่ประกอบด้วยกระดูกคู่ยาวแคบที่ลู่ไปทางท้าย ความกว้างของส่วนหัว cephalofoil ประมาณร้อยละ 40-50 ของความยาวลำตัว ส่วนหน้าของ cephalofoil มีรอยเว้าเล็กน้อยช่วงกลาง และมีส่วนนูนขึ้นแต่ละข้างในตอนหน้าของจมูก ส่วนจมูกแต่ละข้างมีความกว้างมากกว่าสองเท่าของส่วนปาก และยาวไปเกือบครอบคลุมส่วนกระดูกหัวทั้งหมด ดวงตาที่กลมยื่นออกไปข้างหน้าในตำแหน่งมุมนอกของส่วนหัว cephalofoil ซึงประกอบด้วยหนังตาชั้นที่สามเพื่อการปกป้อง ส่วนปากที่ค่อนข้างเล็ก และโค้งประกอบด้วยแถวฟันด้านบน 15-16 แถว และฟันล่าง 14 แถวในแต่ละข้าง และอาจมีแถวเดี่ยวของฟันซี่เล็กๆ ทั้งด้านบน และด้านล่างของแนวประสานคาง (กึ่งกลางขากรรไกร) ฟันเป็นซี่เล็กและมีขอบเรียบ ด้วยปลายแหลมทรงสามเหลี่ยม มีช่องเหงือกห้าคู่ โดยคู่ที่ห้าอยู่เหนือจุดครีบอก[2][4][10][11]

ส่วนลำตัวเพรียว และเรียวบาง ด้วยครีบหลังแรกที่สูง แคบ และโค้งงอ (รูปทรงเคียว) อยู่บนฐานของครีบอกที่ค่อนข้างเล็ก ครีบหลังที่สองมีขนาดเล็กกว่ามาก และอยู่บนส่วนท้ายของฐานครีบทวาร ส่วนครีบทวารมีขนาดครึ่งหนึ่งของครีบหลังที่สอง โดยมีร่องตามยาวบนส่วนคอดหางบนส่วนหลังจุดเริ่มต้นของครีบหาง ส่วนครีบหางบนจะยาวกว่าครีบหางล่าง และมีร่องบริเวณขอบใกล้ปลายหาง[2][11] ผิวหนังปกคลุมด้วยสารเคลือบผิวหนังที่ทับซ้อนกัน แต่ละชั้นประกอบด้วยสันตามแนวนอนสามแนวไปถึงฟันริม[12] ลำตัวมีสีน้ำตาลเทาไปจนถึงเทา และขาวนวล และไม่มีรอยครีบ[2] สามารถเติบโตได้ยาวถึง 1.9 เมตร (6.2 ฟุต)[10]

การกระจายตัวและถิ่นที่อยู่ แก้

ปลาฉลามหัวค้อนยาวถูกพบบริเวณเขตร้อนของฝั่งทะเลอินโด-แปซิฟิกตะวันตก จากอ่าวเปอร์เซียตะวันออกไปทางเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงนิวกีนี และตอนเหนือขอรัฐควีนส์แลนด์ ขอบเขตอาจขยายไปไกลทางเหนือถึงไต้หวัน และทางใต้ไกลถึงหมู่เกาะมอนเตเบลโล ทางตะวันตกของออสเตรเลีย[4][2] ปลาฉลามชนิดนี้มักอาศัยอยู่ในน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งและเคยพบเห็นบริเวณปากแม่น้ำ[6]

ชีววิทยา และ นิเวศวิทยา แก้

 
ภาพวาดของปลาฉลามหัวค้อนยาวจาก Fauna of British India (1889) แสดงถึงรูปหัว cephalofoil ขนาดกว้าง การใช้งานของโครงสร้างเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัด

สมมุติฐานมากมายได้ถูกเสนอขึ้นเพื่ออธิบายถึงขนาดหัว cephalofoil ที่ใหญ่มาก ตำแหน่งของดวงตาที่อยู่ปลายหัวทั้งสองข้างทำให้มองภาพจากสองตาได้ 48 องศา มากที่สุดในกลุ่มฉลามหัวค้อน และมากกว่าสี่เท่าของฉลามกลุ่มเรควีเอ็ม ปลาฉลามชนิดนี้จึงมีการรับรู้เกี่ยวกับระยะทางหรือความลึกที่ดีเยี่ยมซึ่งอาจช่วยในการล่าเหยื่อ นอกจากนี้ยังมีร่องจมูกในสัดส่วนที่ยาวที่สุดในกลุ่มฉลามหัวค้อน ร่องจมูกที่ยาวกว่ามีตัวตรวจจับเซ็นเซอร์เคมีจำนวนมากกว่า และสามารถทดสอบน้ำได้มากกว่าในแต่ละครั้งจึงช่วยเพิ่มโอกาสในการตรวจพบโมเลกุลกลิ่นได้ ปลาฉลามหัวค้อนยาวขนาด 1 เมตร (3.3 ฟุต) ตามหลักการจะสามารถทดสอบน้ำได้มากกว่า 2,300 ซม3 (140 ลูกบาศก์นิ้ว) ต่อวินาที ประโยชน์อีกอย่างของรูปหัว cephalofil ที่เกี่ยวกับการรับกลิ่นคือช่องระหว่างร่องจมูกซ้ายและขวาช่วยเพิ่มความสามารถของปลาฉลามในการแยกแยะร่องรอยของกลิ่น[13] นอกจากนี้ รูปหัว cephalofoil ยังเพิ่มความสามารถของปลาฉลามในการตรวจจับสนามไฟฟ้า และการเคลื่อนไหว ด้วยพื้นที่มากขึ้นสำหรับรูตรวจรับกระแสไฟฟ้า ampullae of Lorenzini และ เส้นข้างลำตัว[4] ส่วนกระดูกด้านข้างมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะใช้ในการเคลื่อนตัวเช่นเดียวกับปลาฉลามหัวค้อนชนิดอื่นๆ[14]

ปลาฉลามหัวค้อนยาวมันออกล่าในระดับใกล้พื้นทะเล เป็นอาหารจำพวกปลากระดูกแข็ง สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง และสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปรสิตของสัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ พยาธิตัวตืด Callitetrarhynchus blochii,[15] Heteronybelinia heteromorphi,[16]Otobothrium carcharidis, O. mugilis,[17] Phoreiobothrium puriensis[18] และ Phyllobothrium blochii[19] พยาธิตัวกลม Hysterothylacium ganeshi,[20] Pseudanisakis sp.,[21] Raphidascaroides blochii,[22] และ Terranova sp.,[21] โคพีพอด Caligus furcisetifer,[23] และสัตว์เซลล์เดียว Eimeria zygaenae[24]

วงจรชีวิต แก้

ปลาฉลามหัวค้อนออกลูกเป็นตัวเช่นเดียวกับสัตว์ในวงศ์ ตัวอ่อนจะเติบโตได้จากการเชื่อมต่อทางรกของแม่ ปลาฉลามตัวเมียมีรังไข่ข้างเดียวทางด้านขวา และมดลูกสองห้อง ในช่วงตั้งครรภ์ มดลูกหนึ่งห้องจะสำหรับตัวอ่อนหนึ่งตัว ในท้องทะเลบริเวรณเมืองมุมไบในฤดูผสมพันธุ์ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูฝน ปลาฉลามตัวผู้จะกัดข้างลำตัวของตัวเมียก่อนทำการผสมพันธุ์ โดยปลาฉลามตัวเมียสามารถตกลูกได้ทุกปี คอกหนึ่งราว 6 ถึง 25 ตัว และเพิ่มจำนวนได้ตามขนาดของตัวเมีย ช่วงตั้งครรภ์อยู่ระหว่าง 8-9 เดือน ในกลุ่มอินเดียตะวันตก และ 10-11 เดือนในกลุ่มออสเตรเลีย[2][25][26] ปลาฉลามตัวเมียที่ตั้งครรภ์พบว่ามักจะต่อสู้กัน[4]

ในช่วงแรก ตัวอ่อนจะได้รับอาหารจากไข่แดง และมีพัฒนาการเช่นเดียวกับปลาฉลามอื่นๆ ในช่วงที่มีความยาวลำตัว 4.0 – 4.5 ซ.ม. (1.6-1.8 นิ้ว) ส่วนหัว cephalofoil และครีบจะเริ่มเป็นรูปร่าง เมื่อตัวอ่อนมีขนาดยาว 12-16 ซ.ม. (4.7-6.3 นิ้ว) อาหารจากไข่แดงจะน้อยลง และมีผนังห่อหุ้มเกิดขึ้นกับถุงไข่แดง และมดลูก ซึ่งจะเชื่อมต่อกันภายหลังกับรกในครรภ์ ในช่วงระยะนี้ ตัวอ่อนจะมีลักษณะเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย แม้ว่าจะเป็นขั้นเบื้องต้นและยังไม่มีสี กระดูกส่วนหัว cephalofoil โค้งกลับไปทางลำตัว และมีเส้นเหงือกภายนอกยื่นออกมาจากช่องเหงือก เมื่อตัวยาวขนาด 20-29 ซ.ม. (7.9-11.4 นิ้ว) รกในครรภ์เป็นรูปร่าง ฟันซี่แรก สารเคลือบผิวหนัง และสีผิวเริ่มปรากฏ ส่วนเหงือกภายนอกจะลดขนาดลง เมื่อตัวอ่อนมีขนาดยาว 30 ซ.ม. (12 นิ้ว) ปลาฉลามจะมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัยที่มีขนาดเล็ก[27][26]

การตกลูกจะเกิดในช่วงเดือนพฤษภาคม และ มิถุนายน นอกเมืองมุมไบ และปะรังกิเปฏไฏ เดือนมีนาคม และเมษายน บริเวณอ่าวมันนาร์ และเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมทางออสเตรเลียตอนเหนือ ลูกปลาฉลามจะโผล่หางออกมาก่อน และส่วนหัว cephalofoils จะยังม้วนอยู่จนกว่าจะคลอดผ่านออกมาทางช่องเปิดของโคลเอกา[25][27][26] ลูกปลาฉลามที่เกิดใหม่มีความยาว 32-47 ซ.ม. (13-19 นิ้ว) ตัวเจริญเต็มวัยจะมีขนาดยาว 1.0-1.1 เมตร (3.3-3.6 ฟุต) สำหรับตัวผู้ และยาว 1.1-1.2 เมตร (3.6-3.9 ฟุต) สำหรับตัวเมีย[10][26] โดยจะมีช่วงชีวิตอย่างน้อย 21 ปี[28]

ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ แก้

ปลาฉลามหัวค้อนยาวไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ และโดนจับโดยอวนลอย อวนปัก แห เบ็ดยาว และเบ็ดตะขอ เนื้อปลามักถูกขายสด โดยครีบจะส่งออกไปยังเอเชียสำหรับซุปหูฉลาม ตับปลาเป็นแหล่งของน้ำมันปลา และเครื่องในจะถูกแปรรูปเป็นปลาป่น[2][4] ปลาฉลามสายพันธุ์นี้ถูกจับเป็นจำนวนมากในบริเวณเช่น อ่าวไทย และนอกประเทศอินเดีย และอินโดนีเซีย ที่พบหลักฐานว่าจำนวนของปลาฉลามได้รับผลกระทบมาก สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้ประเมินสถานะเป็นสายพันธ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และในเร็วนี้จะเกือบอยู่ในข่ายสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์เนื่องมาจากการถูกล่าอย่างหนัก ปลาฉลามสายพันธุ์นี้ไม่ถูกล่าในน่านน้ำประเทศออสเตรเลีย โดยทาง IUCN[1] ได้กำหนดสถานะเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Simpfendorfer, C.A. (2003). "Eusphyra blochii". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.2.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Last, P.R.; Stevens, J.D. (2009). Sharks and Rays of Australia (second ed.). Harvard University Press. p. 288. ISBN 0674034112.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Cuvier, G. (1816). Le Règne Animal distribué d'après son organisation pour servir de base à l'histoire naturelle des animaux et d'introduction à l'anatomie comparée. Deterville. p. 127.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Compagno, L.J.V. (1984). Sharks of the World: An Annotated and Illustrated Catalogue of Shark Species Known to Date. Food and Agricultural Organization of the United Nations. pp. 540–541. ISBN 9251013845.
  5. Gill, T.N. (1862). "Analytical synopsis of the order of Squali; and revision of the nomenclature of the genera". Annals of the Lyceum of Natural History of New York. 7: 371–408.
  6. 6.0 6.1 6.2 Froese, R.; Pauly, D., บ.ก. (2011). "Eusphyra blochii, Winghead shark". FishBase. สืบค้นเมื่อ May 18, 2013.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 Martin, R.A. (1998). "Recent Changes in Hammerhead Taxonomy". ReefQuest Centre for Shark Research. สืบค้นเมื่อ May 18, 2013.
  8. Lim, D.D.; Motta, P.; Mara, K.; Martin, A.P. (2010). "Phylogeny of hammerhead sharks (Family Sphyrnidae) inferred from mitochondrial and nuclear genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 55 (2): 572–579. doi:10.1016/j.ympev.2010.01.037. PMID 20138218.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Cavalcanti, M.J. (2007). "A Phylogenetic Supertree of the Hammerhead Sharks (Carcharhiniformes: Sphyrnidae)". Zoological Studies. 46 (1): 6–11.
  10. 10.0 10.1 10.2 Last, P.R.; White, W.T.; Caire, J.N.; Dharmadi; Fahmi; Jensen, K.; Lim, A.P.F.; Manjaji-Matsumoto, B.M.; Naylor, G.J.P.; Pogonoski, J.J.; Stevens, J.D.; Yearsley, G.K. (2010). Sharks and Rays of Borneo. CSIRO Publishing. pp. 134–135. ISBN 978-1-921605-59-8.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. 11.0 11.1 Randall, J.E. (1995). Coastal Fishes of Oman. University of Hawaii Press. p. 38. ISBN 0824818083.
  12. Mello, W.C.; de Carvalho, J.J.; Brito, P.M.M. (2013). "Microstructural morphology in early dermal denticles of hammerhead sharks (Elasmobranchii: Sphyrnidae) and related taxa". Acta Zoologica. 94 (2): 147–153. doi:10.1111/j.1463-6395.2011.00547.x.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Kajiura, S.M.; Forni, J.B.; Summers, A.P. (2005). "Olfactory morphology of carcharhinid and sphyrnid sharks: Does the cephalofoil confer a sensory advantage?". Journal of Morphology. 264 (3): 253–263. doi:10.1002/jmor.10208. PMID 15549717.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Nakaya, K. (1995). "Hydrodynamic function of the head in the hammerhead sharks (Elasmobranchii: Sphyrnidae)". Copeia. 1995 (2): 330–336. doi:10.2307/1446895.
  15. Pramanik, P.B.; Manna, B. (2006). "Callitetrarhynchus blochii new species (Cestoidea: Lacistorhynchidae) from Sphyrna blochii Cuvier, 1817 from Bay of Bengal at Digha coast, India". Journal of Natural History. 2 (2): 10–15.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Palm, H.W. (1999). "Nybelinia Poche, 1926, Heteronybelinia gen. nov. and Myxonebelinia gen. nov. (Cestoda: Trypanorhyncha) in the collections of The Natural History Museum, London". Bulletin of the Natural History Museum, London (Zoology series). 65 (2): 133–153.
  17. Schaeffner, B.C.; Beveridge, I. (2013). "Redescriptions and new records of species of Otobothrium Linton, 1890 (Cestoda: Trypanorhyncha)". Systematic Parasitology. 84 (1): 17–55. doi:10.1007/s11230-012-9388-1. PMID 23263940.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Srivastav, A.K.; Capoor, V.N. (1982). "On a new cestode, Phoreiobothrium puriensis n. sp". Indian Journal of Helminthology. 34 (1–2): 82–85.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Srivastav, A.K.; Srivastava, B.K. (1988). "On a new cestode, Phyllobothrium blochii sp. n. (Phyllobothriidae, Cestoda) from the elasmobranch fish, Zygaena blochii (Cuvier) (Carchariidae, Euselachii) from Puri, Orissa (India)". Helminthologia. 25: 89–94.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Lakshmi, I.R.; Sreeramulu, K. (2007). "Hysterothylacium ganeshi n. sp (Nematoda-Anisakidae) from the intestine of Shark, Sphyrna blochii (Cuvier)". Geobios. 34 (1): 29.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. 21.0 21.1 Arthur, J.J.R.; Ahmed, A.T.A. (2002). Checklist of the Parasites of Fishes of Bangladesh (FAO Fisheries Technical Paper 369/1). Food and Agriculture Organization of the United Nations. p. 44. ISBN 9251048541.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Bruce, N.L.; Cannon, L.R.G.; Adlard, R. (1994). "Synoptic checklist of ascaridoid parasites (Nematoda) from fish hosts". Invertebrate Taxonomy. 8 (3): 583–674. doi:10.1071/IT9940583.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Margolis, L.; Kabata, Z.; Parker, R.R. (1975). "Catalogue and synopsis of Caligus, a genus of Copepoda (Crustacea) parasitic on fishes". Bulletin of the Fisheries Research Board of Canada. 192: 1–117.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Chakravarty, M.; Mandal, A.K. (1961). "A new coccidium, Eimeria zygaenae n. sp. from hammer headed shark, Zygaena blochii". Proceedings of the 48th Indian Science Congress (Roorkee) (Part III): abstract 93.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 Stevens, J.D.; Lyle, J.M. (1989). "Biology of three hammerhead sharks (Eusphyra blochii, Sphyrna mokarran and S. lewini) from Northern Australia". Australian Journal of Marine and Freshwater Research. 40 (2): 129–146. doi:10.1071/MF9890129.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Devadoss, P. (1988). "Observations on the breeding and development of some sharks". Journal of the Marine Biological Association of India. 30 (1–2): 121–131.
  27. 27.0 27.1 Appukuttan, K.K. (1978). "Studies on the developmental stages of hammerhead shark Sphyrna (Eusphyrna) blochii from the Gulf of Mannar". Indian Journal of Fisheries. 25 (1–2): 41–52.
  28. Smart, J.J.; Harry, A.V.; Tobin, A.J.; Simpfendorfer, C.A. (2012). "Overcoming the constraints of low sample sizes to produce age and growth data for rare or threatened sharks". Aquatic Conservation: Marine and Freshwater Ecosystems. 23 (1): 124–134. doi:10.1002/aqc.2274.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งอ้างอิงอื่น แก้