ในวิชาเศรษฐศาสตร์ ปริมาณเงิน (อังกฤษ: money supply หรือ money stock) เป็นปริมาณรวมของสินทรัพย์การเงินที่มีอยู่ในเศรษฐกิจหนึ่งในเวลาใดเวลาหนึ่ง[1] มีวิธีนิยาม "เงิน" หลายวิธี แต่วิธีมาตรฐานปกติรวมเงินตราที่หมุนเวียนในระบบ และเงินฝากกระแสรายวัน[2][3]

ปกติรัฐบาลหรือธนาคารกลางของประเทศหนึ่งบันทึกและจัดพิมพ์ข้อมูลปริมาณเงิน นักวิเคราะห์ภาครัฐและเอกชนเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมาช้านาน เนื่องจากเชื่อว่ากระทบต่อระดับราคา ภาวะเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยนและวัฏจักรเศรษฐกิจ[4]

ความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับราคาในอดีตสัมพันธ์กับทฤษฎีปริมาณเงิน (quantity theory of money) มีหลักฐานเชิงประจักษ์เข้มของความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างการเติบโตเงิน–อุปสงค์ (money–supply growth) และภาวะเงินเฟ้อราคาระยะยาว อย่างน้อยสำหรับการเพิ่มปริมาณเงินในเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น ประเทศอย่างซิมบับเวซึ่งมีการเพิ่มปริมาณเงินอย่างรวดเร็วอย่างยิ่งมีราคาเพิ่มขึ้นรวดเร็วอย่างยิ่ง (ภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวด) จึงเป็นเหตุผลหนึ่งสำหรับการพึ่งพานโยบายการเงินเป็นวิธีการควบคุมเงินเฟ้อ[5][6]

อ้างอิง แก้

  1. Paul M. Johnson. "Money stock," A Glossary of Political Economy Terms
  2. Alan Deardorff. "Money supply," Deardorff's Glossary of International Economics
  3. Karl Brunner, "money supply," The New Palgrave: A Dictionary of Economics, v. 3, p. 527.
  4. The Money Supply – Federal Reserve Bank of New York. Newyorkfed.org.
  5. Milton Friedman (1987). "quantity theory of money", The New Palgrave: A Dictionary of Economics, v. 4, pp. 15–19.
  6. "money supply Definition". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.