ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล (เกิด 17 มกราคม พ.ศ. 2511) ชื่อเล่น เอก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กรรมการสภาวิจัยสาขานิติศาสตร์​ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นักวิชาการกฎหมายชาวไทย อดีตรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชนและผู้อำนวยการศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มักแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในแง่มุมกฎหมายตามสื่อต่าง ๆ[1] ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 มีบทบาทเป็นเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)[2] แต่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เมื่อทหารปราบประชาชนในวันที่ 18-20 พฤษภาคม และการชุมนุมที่ลาน สวป. มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากนั้น[3]


ปริญญา เทวานฤมิตรกุล

ปริญญาใน พ.ศ. 2563
เกิด17 มกราคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
ตำบลท่าลาด อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย
ชื่ออื่นเอก (ชื่อเล่น)
การศึกษาPh.D. (Public Law)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกออร์ก-เอากุสต์แห่งเกิททิงเงิน
อาชีพอาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน
บิดามารดา
  • ณรงค์ เทวานฤมิตรกุล (บิดา)
  • แน่งน้อย เทวานฤมิตรกุล (มารดา)

ประวัติการศึกษา แก้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล มีประวัติการศึกษาดังนี้

หนังสือ แก้

  1. สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) , สถาบันพระปกเกล้า, 2544, 140 หน้า.
  2. Parteienfinanzierung, Spenden, Transparenz und Kontrolle: System und Problematik in Deutschland und in Thailand, สำนักพิมพ์ Potsdamer Verlag สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, 2548, 270 หน้า.

บทความวิจัย แก้

  1. การคุ้มครอง สส.ในฐานะผู้แทนปวงชนไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อาณัติของพรรคการเมือง, นำเสนอในการประชุมวิชาการประจำปีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 9 ธันวาคม 2548, 31 หน้า.
  2. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพรรคการเมือง : การแก้จุดอ่อนของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเหนือผู้แทนปวงชนโดยใช้พรรคการเมือง, นำเสนอในที่ประชุมนิติศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 6, 28 มีนาคม 2550, 42 หน้า.

บทความในวารสารวิชาการ แก้

  1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับความเป็นประชาธิปไตยทางตรง, วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม 17 ตอน 2, สิงหาคม 2541, หน้า 57–81.
  2. การใช้โทรศัพท์มือถือในห้องเรียนกับขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ, หนังสือรพี 2542, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2542, หน้า 59–63.
  3. การอุดหนุนเงินให้พรรคการเมืองโดยรัฐและการควบคุมเงินบริจาค : การปรับปรุงระบบของประเทศไทยโดยศึกษาเปรียบเทียบกับระบบของประเทศเยอรมัน, วารสารนิติศาสตร์ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3, กันยายน 2547, หน้า 411–435.
  4. การยึดทรัพย์ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นมาตรการทางแพ่งและย้อนหลังได้จริงหรือ?, หนังสือรพี 2548, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548, หน้า 79–86.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้