ปราสาทบายน (เขมร: ប្រាសាទបាយ័ន) เป็นปราสาทหินของอาณาจักรเขมร อยู่ในบริเวณของใจกลางนครธม สร้างขึ้นราวปลายศตวรรษที่ 12 หรือต้นศตวรรษที่ 13 เป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หลังจากที่พระองค์ทรงได้ชัยชนะจากการขับไล่กองทัพอาณาจักรจามปาออกจากอาณาจักรเขมรได้สำเร็จ[1][2] นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้ายิ้มหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า[3]

ปราสาทบายน
ប្រាសាទបាយ័ន
ปราสาทบายน เมื่อปี พ.ศ. 2556
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทปราสาทหิน ศาสนสถาน
สถาปัตยกรรมเขมรโบราณ
เมืองนครธม เมืองพระนคร เสียมราฐ
ประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชา
เริ่มสร้างราวปลายศตวรรษที่ 12 หรือช่วงต้นศตวรรษที่ 13
ผู้สร้างพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างหินทราย
หอปราสาทบายนที่มีการแกะสลักตกแต่งหน้าเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าปราสาทหินขอมที่อื่นๆ

ลักษณทางสถาปัตยกรรมของบายนก็เช่นเดียวกับเรื่องความเชื่อ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมาในหลาย ๆ สมัย กษัตริย์ในยุคหลัง ๆ พบว่าเป็นการง่ายกว่าที่จะปรับปรุงวัดแห่งนี้ แทนที่จะรื้อสร้างใหม่เช่นที่ทำกัน และใช้เป็นวัดประจำสมัยต่อเนื่องกันมา

รูปสลักและศิลปกรรม แก้

สัณฐานของกลุ่มอาคารประกอบด้วยระเบียงคต (gallery) ล้อมรอบอยู่ 2 ชั้น เรียกว่าชั้นในและชั้นนอก ชั้นนอกจะสร้างก่อนชั้นใน ระเบียงจะมีเสาหินเรียงรายสองข้าง และมักมีรูปสลักนูนต่ำของนางอัปสรอยู่ รวมทั้งรูปสลักภาพประวัติความเป็นมาและสังคมในสมัยนั้น เช่น การรบระหว่างขอมกับจาม เป็นต้นระเบียงชั้นนอกจะเข้าถึงที่ตั้งของบรรณาลัย หรือหอหนังสือ (Library) 2 จุด คือหอเหนือ และหอใต้ ส่วนระเบียงชั้นในซึ่งสร้างในยุคหลัง จะเห็นการเปลี่ยนแปลงรูปสลักจากรูปชีวิตประจำวัน เป็นรูปสลักทางศาสนามากขึ้น

รอบปราสาทบายนที่เสียมราฐจะปรากฏภาพโดยเฉพาะภาพแกะสลักอายุนับพันปีเหล่านั้น รอบปราสาทบายนจะเห็นภาพของการประดั่ญ เรียกเป็นภาษาไทยว่าภาพการต่อสู้ อยู่บนกำแพงปราสาทบายน

อ้างอิง แก้

  1. Higham, C., 2001, The Civilization of Angkor, London: Weidenfeld & Nicolson, ISBN 9781842125847, p.121
  2. Higham, C., 2014, Early Mainland Southeast Asia, Bangkok: River Books Co., Ltd., pp.378-382 ISBN 9786167339443
  3. Freeman and Jacques, p.78.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°26′29″N 103°51′32″E / 13.441341°N 103.858867°E / 13.441341; 103.858867