ปราสาทตาควาย, ปราสาทตาวาย หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย (เขมร: ប្រាសាទ​តា​ក្របី​ บฺราสาท​ตา​กฺรบี​) ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธมที่อยู่ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร

ปราสาทตาควาย
ศาสนา
ศาสนาศาสนาฮินดู
เทพพระศิวะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งชายแดนไทย-กัมพูชา
ประเทศไทย-กัมพูชา
ปราสาทตาควายตั้งอยู่ในประเทศไทย
ปราสาทตาควาย
ที่ตั้งในประเทศไทย
ปราสาทตาควายตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
ปราสาทตาควาย
ปราสาทตาควาย (ประเทศกัมพูชา)
พิกัดภูมิศาสตร์14°21′10″N 103°22′24″E / 14.35278°N 103.37333°E / 14.35278; 103.37333[1]
สถาปัตยกรรม
ประเภทเขมร
เสร็จสมบูรณ์คริสต์ศตวรรษที่ 11

นักประวัติศาสตร์คาดการณ์จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 [2] ศาสนสถานถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เพื่ออุทิศแด่พระศิวะและกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[3][4]

ลักษณะ แก้

ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงของเทือกเขาพนมดงรักประมาณ 10 เมตร เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ 1 ชิ้น

ที่ตั้ง แก้

ปราสาทนี้ตั้งอยู่บนทิวเขาพนมดงรัก ตรงชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองสำโรง 57 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธม 13 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเมืองสำโรงผ่านทางหลวงหมายเลข 56 และถนนคอนกรีตบนภูเขาที่มีเส้นทางไปยังโบราณสถาน

ชาวกัมพูชาอ้างสิทธิ์ว่าปราสาทนี้ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านแฌร์สลับ (Chher Slap) คุ้มโคกขปัวส์ (Kouk Khpos) สรุกบันเตียอ็อมปึล (Banteay Ampil) จังหวัดอุดรมีชัย ส่วนฝั่งไทยตั้งอยู่ในอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ การเป็นเจ้าของปราสาทอยู่ในกรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา และเคยมีการโจมตีของทหารใกล้ปราสาทใน ค.ศ. 2008 ถึง 2011[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Google Earth". 8 September 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2010. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  2. ปราสาทตาควาย เก็บถาวร 2010-05-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการแผนที่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ชายแดนไทย-กัมพูชา มหาวิทยาลัยมหิดล
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. "ប្រាសាទតាក្របីនិងតាមាន់ទាក់ទាញទេសចរ". Radio Free Asia. สืบค้นเมื่อ 25 November 2018.
  5. Channyda, Chhay; Reuters (22 April 2011). "New fighting at border". Phnom Penh Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 March 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้