ปราสาทกิฟุ (ญี่ปุ่น: 岐阜城โรมาจิGifu-jō) หรือ ปราสาทอินาบายามะ (稲葉山城, Inabayama-jō) เป็นปราสาทประจำจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น และถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์สำคัญประจำจังหวัด ตัวปราสาทตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนภูเขาคิงกะ ริมแม่น้ำนางาระ หากเดินทางโดยรถไฟมาจากเมืองนาโงยะก็จะเห็นปราสาทกิฟุบนยอดเขาคิงกะ ถือการต้อนรับเข้าสู่จังหวัดกิฟุ

ปราสาทกิฟุ
岐阜城
จังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น
ปราสาทกิฟุ
ปราสาทกิฟุตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ปราสาทกิฟุ
ปราสาทกิฟุ
พิกัด35°26′02″N 136°46′56″E / 35.43389°N 136.78222°E / 35.43389; 136.78222
ประเภทปราสาทญี่ปุ่น
ข้อมูล
สภาพบูรณะขึ้นใหม่
ประวัติศาสตร์
สร้างค.ศ. 1201
สร้างโดยตระกูลนิไกโด
อยู่ระหว่างการใช้งานค.ศ. 1200-1600
วัสดุไม่ทราบ (ดั้งเดิม)
คอนกรีตเสริมเหล็ก (ปัจจุบัน)
รื้อถอนค.ศ. 1600
ข้อมูลสถานี
ผู้บัญชาการ
ในอดีต
โอดะ โนบูนางะ
ผู้เข้าถือครองตระกูลไซโตและตระกูลโอดะ

ประวัติ แก้

ปราสาทกิฟุสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ตระกูลนิไกโด ยูกิมาซะ นิไกโด (Yukimasa Nikaido) ระหว่างปี ค.ศ. 1201 ถึง ค.ศ. 1204 ในช่วงยุคคามากูระ[1][2] มิตสึซาเกะ อิบานะผู้ครอบครองปราสาทในยุคต่อไปได้นำนามสกุลของตัวเองมาตั้งชื่อปราสาทเป็นปราสาทอินาบายามะ (ญี่ปุ่น: 稲葉山城โรมาจิInabayama-jō) หลังจากนั้นในยุคมูโรมาจิ (ค.ศ. 1336-1573) ตระกูลไซโตได้เข้ามาครองครอง ปราสาทกิฟุนั้นได้มีการซ่อมแซมหลายครั้งในหลายสมัย ถึงแม้ว่าจะถูกยกย่องให้เป็นปราสาทที่มีความแข็งแกร่งแต่ครั้งหนึ่งเคยถูกยึดได้ด้วยกำลังพล 16 คนเพียงเท่านั้น

ในระหว่างยุคเซ็งโงกุ (ค.ศ 1467 - 1603) ตระกูลไซโต โดย ไซโต โดซัง (Saitō Dousan) ซามูไรสมญานาม "อสรพิษแห่งแคว้นมิโนะ (美濃の蝮)" ได้พักอาศัยอยู่ที่ปราสาทอิบานายามะ ต่อมาภายหลังบุตรชายนามโยชิตัตสึ (Saitō Yoshitatsu) แอบรู้ความลับว่าพ่อจะมอบแคว้นมิโนะให้แก่บุตรชายคนใดคนหนึ่งหรือลูกเขย คือ โอดะ โนบูนางะ โยชิตัตสึจึงได้สังหารน้องชายทั้งสองคนของตนในปี ค.ศ. 1555 หลังจากนั้น 1 ปี เกิดสงครามระหว่างพ่อลูกที่แม่น้ำนางาระ หรือเรียกว่าสงครามนางารากาวะ โดยฝ่ายพ่อเป็นฝ่ายปราชัยและถูกโยชิตัตสึสังหารในสงคราม หลังจากโยชิตัตสึปกครองแคว้นมิโนะได้ 5 ปี ก็เสียชีวิตด้วยโรคร้าย

ต่อมาไซโต ทัตสึโอกิ บุตรชายของไซโต โยชิตัตสึได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองแคว้นมิโนะและปราสาทอินาบายะมะแทน หลังจากนั้นสามปีซามูไรผู้รับใช้ตระกูลไซโต ทาเกนากะ ฮัมเบะ ได้ยึดอำนาจโดยเดินทางมายังปราสาทเพื่อเยี่ยมน้องชายที่กำลังป่วยอยู่ แต่ที่จริงแล้วเป็นการออกอุบายเพื่อกำจัดทัตสึโอกิ ครั้นเมื่อฮัมเบะเริ่มโจมตี ไดเมียวทัตสึโอกิที่ไหวตัวทันจึงหลบหนีไป ฮัมเบะก็ได้ครอบครองปราสาทอินาบายามะช่วงเวลาหนึ่งแต่ยังคงให้อำนาจแก่ทัตสึโอกิเช่นเดิม ต่อมาฮัมเบะได้กลับมาพบไดเมียวทัตสึโอกิที่ปราสาทอีกครั้ง พบว่าไดเมียวทัตสึโอคิได้สูญเสียความนับหน้าถือตาอันเนื่องมาจากการที่เขาหนีออกจากปราสาทในช่วงที่มีการโจมตีจากฮัมเบะอย่างขี้ขลาดนั่นเอง

ใน ค.ศ. 156 โอดะ โนบูนางะได้เริ่มปฏิบัติการโจมตีที่แคว้นมิโนะ จากปราสาทซูโนมาตะ โนบูนางะนำกองกำลังพลข้ามแม่น้ำคิโซะ (Kiso River) และนำทัพเข้าสู่เมืองอิโนงูจิ (ปัจจุบันคือเมืองกิฟุ) ตลอดการเดินทางได้รวบรวมกำลังพล โดยโนบูนางะได้ล้อมปราสาทอินาบายามะ (siege to Inabayama Castle) การนำทัพพร้อมด้วยธงทัพโดยโนบูนางะทำให้กองกำลังป้องกันปราสาทอินาบายามะของไดเมียวทัตสึโอกิเสียขวัญ และสามารถยืนหยัดสู้บนปราสาทอินาบายามะได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ในระหว่างการปิดล้อมนั้น คิโนชิตะ โทกิจิโร ผู้ติดตามของโนบูนางะได้นำกำลังพลกลุ่มเล็กและทหารอีก 7 นายพร้อมด้วยนำเต้าบรรจุน้ำดื่ม ปีนขึ้นไปตามทางลาดชันของภูเขาคิงกะ ลอบโจมตีทางด้านหลังของปราสาทซึ่งไร้กองกำลังคุ้มกัน เผาคลังเก็บของและโรงเก็นดินปืน โดยอาศัยช่วงชุลมุนฝ่าด่านทหารและเข้าไปเปิดประตูด้านหน้าของปราสาท เปิดทางให้กองกำลังโจมตีเข้ามาภายในปราสาทได้ หลังจากที่ทัตสึโอกิพ่ายแพ้ โนบูนางะก็ครอบครองปราสาทอินาบายามะและใช้ปราสาทอินาบายามะเป็นฐานบัญชาการในเวลาต่อมา

ภายหลังโนบูนางะก็เปลี่ยนชื่อปราสาทอินาบายามะเป็น "ปราสาทกิฟุ"[2] โนบูนางะซ่อมแซมปราสาทใหม่ให้ยิ่งใหญ่และหรูหรากว่าเดิม ปราสาทกิฟุถือเป็นหนึ่งสถานที่ที่มีความสำคัญและสวยงาม ตามบันทึกของ หลุยส์ ฟรออิส มิชชันนารีนิกายเยซูอิตชาวโปรตุเกสที่มีชื่อเสียง ครั้งหนึ่งโนบูนางะได้เชิญเขามาเยี่ยมเยียนปราสาท และได้มาพักอยู่ที่กิฟุช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็เขียนในบันทึกยกย่องว่าเป็นปราสาทกิฟุเป็นปราสาทที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก

หลังจากยุคสมัยของโนบูนางะ ปราสาทก็ตกเป็นของบุตรชายคือโอดะ โนบูตาดะ (Oda Nobutada) ซึ่งภายหลังได้ฆ่าตัวตายโดยการคว้านท้องพร้อมกับพ่อที่วัดฮนโนะในเกียวโต ภายหลังโนบูตากะบุตรชายคนที่ 3 เป็นผู้รับช่วงต่อ และหลัจากนั้นปราสาทก็ตกเป็นของตระกูลฮิเกดะและโทโยโตมิ ตามลำดับ ท้ายที่สุด โอดะ ฮิเดโนบุ บุตรชายของโอดะ โนบุทาดะ เป็นผู้ครอบครองปราสาท หลังจากนั้น 8 ปี ก็เกิดยุทธการศึกปราสาทกิฟุ (岐阜城の戦い) ซึ่งเป็นศึกระหว่างสองขุนพลผู้ยิ่งใหญ่ โทโยโตมิ ฮิเดโยริ กับ โทกูงาวะ อิเอยาซุ โดยฮิเดโนบุอยู่ข้างเดียวกับฮิเดโยริ และได้ถูกกองกำลังของอิเอยาซุ นำโดยไดเมียวทารูมาซะ ฮิเกดะ และไดเมียวมาซาโนริ ฟูกูชิมะ บุกเข้ามาตีก่อนที่จะยึดครองได้สำเร็จ หลังจากนั้นปราสาทกิฟุได้ถูกทำลายลง ได้มีการรื้อถอนบางชิ้นส่วนไปสร้างเป็นปราสาทคาโน (Kanō Castle) เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง[1] แต่ในปัจจุบันไม่มีปราสาทนี้แล้ว

ปัจจุบัน แก้

 
วิวภูเขาคิงกะจากแม่น้ำนางาระ

ปราสาทกิฟุในปัจจุบันเป็นโครงสร้างปูนซีเมนต์ สร้างขึ้นใหม่เมื่อประมาณ ค.ศ. 1950 หลังจากที่ปราสาทถูกทำลายโดยระเบิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)[2] ภายในปราสาทมีการจัดแสดงนิทรรศการประวัตศาสตร์ของประสาทกิฟุแบ่งออกเป็น 3 ชั้น[2] นิทรรศการประกอบด้วยแผนที่ อาวุธ รูปภาพ และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีตของปราสาทกิฟุ ชั้นบนสุดเป็นจุดชมวิวพาโนราม่า 360 องศา สามารถชมทัศนียภาพอันสวยงานของเมืองกิฟุได้โดยรอบที่มีแม่น้ำนางาระไหลผ่านระหว่างเมืองและสามารถมองเห็นเมืองนาโงยะได้ด้วย และสามารถรับชมทัศนียภาพในยามค่ำคืนได้ในระหว่างเวลาทำการช่วงกลางคืน[3]

ระหว่างทางเดินจากปราสาทประกอบไปด้วยสิ่งประดิษฐ์จากปราสาทกิฟุ รวมไปถึงรูปภาพปราสาทชื่อดังของประเทศญี่ปุ่นด้วย

พิพิธภัณฑ์หอจดหมายเหตุปราสาทกิฟุ แก้

นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์หอจดหมายเหตุปราสาทกิฟุได้ ซึ่งตั้งอยู่ในปราสาทกิฟุ 70 m (230 ft) จากประตูทางเข้า (ค่าธรรมเนียมเข้าขมจะรวมอยู่กับค่าเข้าชมปราสาทกิฟุ) ภายในประกอบด้วยจดหมายเหตุของปราสาทกิฟุ ชั้นที่สองประกอบด้วยเครื่องดนตรีจากประเทศญี่ปุ่นทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมไปถึงรูปภาพปราสาทที่ตกแต่งอย่างสวยงามรายล้อมรอบพิพิธภัณฑ์

เวลาทำการ แก้

 
ทิวทัศน์จากยอดปราสาทกิฟุ
  • ช่วงเวลาปกติ
16 มีนาคม-11 พฤษภาคม: 9:30 ถึง 17:30
12 พฤษภาคม-16 ตุลาคม: 8:30 ถึง 17:30
17 ตุลาคม-15 มีนาคม: 9:30 ถึง 16:30
  • เที่ยวชมเวลากลางคืน
28 เมษายน-6 พฤษภาคม: จนถึง 21:30
14 กรกฎาคม-31 สิงหาคม: จนถึง 22:00
1 กันยายน-14 ตุลาคม: จนถึง 21:30pm (วันเสาร์, วันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้น)
15 ตุลาคม-30 พฤศจิกายน: จนถึง 18:30pm

ค่าเข้าชม[4] แก้

ผู้ใหญ่ - 200 เยน (อายุ 16 ปีขึ้นไป)  เด็ก - 100 เยน (อายุ 4 - 15 ปี)

ราคาสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเป็นกลุ่ม (30 คนขึ้นไป) : ส่วนลดจากราคาปกติ 20%

[ค่ากระเช้าลอยฟ้าขึ้นเขาคิงกะ]
ผู้ใหญ่ - 1080 เยน / ไปกลับ (อายุ 12 ปีขึ้นไป หรือนักเรียนประถมศึกษาต้น) เด็ก - 540 เยน / ไปกลับ (อายุ 4 - 11 ปี)

ราคาหลังจาก 18.00 น.:

ผู้ใหญ่ - 900 เยน / ไปกลับ

เด็ก - 450 เยน / ไปกลับ

การเดินทาง[4] แก้

 
กระเช้าลอยฟ้าภูเขาคิงกะ

สามารถใช้บริการรถบัสจากสถานี เจอาร์ กิฟุ (JR Gifu Station) หรือ เมอิเทะซึ กิฟุ (Meitetsu Gifu Station) เดินทางไป “Gifu Park/ Gifu City Museum of History”. (ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที. 210 เยน/เที่ยว) รถบัสที่ให้บริการมีดังนี้

  • กิฟุบัส หมายเลข N80 ทากาโตมิ (Takatomi) สถานี JR Gifu ป้ายหมายเลข 12[5] สถานี Meitetsu Gifu ป้ายหมายเลข 4[6]
  • กิฟุบัส หมายเลย N32 และ N86 เฉพาะเดินทางไปสวนสาธารณะกิฟุ/ทากาโตมิ (Gifu Park /Takatomi direction) สถานี JR Gifu ป้ายหมายเลข 13[5] สถานี Meitetsu Gifu ป้ายหมายเลข 4[6]
  • รถบัสรอบเมือง “City Loop-line” (เฉพาะรถบัสวิ่งทวนเข็มนาฬิกา)

เดินเท้าประมาณ 3 นาที จากป้ายสถานี “Gifu Park/ Gifu City Museum of History. ขึ้นไปยังประสาทกิฟุโดยกระเช้าลอยฟ้า (Mt. Kinka Ropeway), (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที) และเดินเท้าอีกประมาณ 8 นาที หรือสามารถเดินเท้าจากตีนเขาไปยังปราสาทกิฟุ (ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)

*หมายเหตุไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ขึ้นเขาคิงกะและปราสาทกิฟุ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Gifu Castle Official Page เก็บถาวร 2008-04-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ญี่ปุ่น) Gifu City Hall. Accessed January 11, 2008.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Gifu Castle. Japan National Tourist Organization. Accessed May 7, 2008.
  3. Gifu City Walking Map. Gifu Lively City Public Corporation, 2007.
  4. 4.0 4.1 Gifu Castle, Gifu Convention and Visitors Bureau,https://www.gifucvb.or.jp/en/01_sightseeing/01_02.html Accessed 28 February 2018
  5. 5.0 5.1 JR岐阜, 岐阜バス, http://www.gifubus.co.jp/rosen/noriba/jr-gifu/ Accessed 28 February 2018
  6. 6.0 6.1 名鉄岐阜, 岐阜バス,http://www.gifubus.co.jp/rosen/noriba/meitetsu-gifu/ Accessed 28 February 2018

บรรณานุกรม แก้

  • Benesch, Oleg and Ran Zwigenberg (2019). Japan's Castles: Citadels of Modernity in War and Peace. Cambridge: Cambridge University Press. p. 374. ISBN 9781108481946.
  • De Lange, William (2021). An Encyclopedia of Japanese Castles. Groningen: Toyo Press. pp. 600 pages. ISBN 978-9492722300.
  • Schmorleitz, Morton S. (1974). Castles in Japan. Tokyo: Charles E. Tuttle Co. p. 117. ISBN 0-8048-1102-4.

External links แก้