ประเทศไทยในสงครามเกาหลี

ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 21 ประเทศที่ตอบรับคำขอของสหประชาชาติในการส่งกำลังเพื่อช่วยเหลือเกาหลีใต้ในช่วงสงครามเกาหลี (2493–2496) ตลอดจนเป็นประเทศแรก ๆ ที่แสดงออกซึ่งการสนับสนุนอุดมการณ์ของเกาหลีใต้ ขณะที่เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของสหประชาชาติในสงคราม การสนับสนุนของไทยมีความสำคัญในการตัดสินผลของบางสมรภูมิ เช่น เนินพอร์กช็อปและ ยุทธการที่โซลครั้งที่ 3

กองทัพไทยในเกาหลี
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
ทหารไทยในสงครามเกาหลี
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อสหประชาชาติสหประชาชาติ
รูปแบบกองพันทหารราบ
กำลังรบ11,776 นาย ตลอดสงคราม[1]
สมญา"พยัคฆ์น้อย"
ปฏิบัติการสำคัญยุทธการที่เนินพอร์กช็อป
ยุทธการที่โซลครั้งที่สาม
อิสริยาภรณ์ เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (เกาหลีใต้)
เพรสซิเดนเชิล ยูนิท ไซเทเชิน (ทหารบก) (สหรัฐ)
ผู้บังคับบัญชา
จอมทัพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ผบ. สำคัญพลตรี หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
พันโท เกรียงไกร อัตตะนันทน์
พันตรี เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
เครื่องหมายสังกัด
สัญลักษณ์

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ส่งความช่วยเหลือไปยังเกาหลีใต้[2] รัฐบาลตระหนักว่าหากพรรคคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองเกาหลีอาจเป็นความหายนะต่อระเบียบทางการเมืองของไทย รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจสนับสนุนอุดมการณ์ของเกาหลีใต้อย่างเต็มที่[3] มีการส่งข้าว 40,000 ตันไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ และต่อมาส่งกำลังทหารราบ 1 กองพันจากกรมผสมที่ 21 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) และเรือรบอีกหลายลำ ต่อมา รัฐบาลไทยส่งอากาศยานขนส่งไปช่วยหลายลำ กรมทหารราบนี้กลับสู่ประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498

กำลังทหาร แก้

 
ทหารไทย ณ ปูซาน ปี 2493

ปฏิบัติการในเกาหลี แก้

ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป แก้

ยุทธการที่เนินพอร์กช็อป (31 ตุลาคม - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495) เป็นการสู้รบหลายครั้งเพื่อแย่งชิงการควบคุมเนินด่านหน้าที่สำคัญตามแนวหน้าระหว่างที่มีการเจรจาพักรบที่พันมุนจ็อม ยุทธการบนเนินเกิดขึ้น ณ "เนินพอร์กช็อป" ซึ่งขณะนั้นกองพันทหารราบที่ 21 ของไทยถือครองอยู่ ทหารไทยสามารถผลักดันการเข้าตีของอาสาสมัครประชาชนจีน หลังได้ชัยชนะกองทัพสหรัฐมอบเครื่องอิสรยาภรณ์ลีเจียนออฟเมอริตแก่ พ.ต. เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อีก 12 นายได้รับเหรียญซิลเวอร์สตาส์ และอีก 26 นายได้รับเหรียญบรอนซ์สตาร์ พล.อ. เจมส์ แวน ฟลีต ผู้บังคับบัญชากองทัพสหรัฐที่ 8 มอบสมญาให้ทหารเหล่านี้ว่า"พยัคฆ์น้อย"

ทหารจีนพยายามแบบสุดตัวในการยึดเนินพอร์กช็อป โดยเข้าตี 5 ครั้ง แต่ล้มเหลวทั้งหมด

ในฤดูใบไม้ผลิสุดท้ายของสงคราม (มีนาคม - ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2496) ทหารไทยใช้เวลาส่วนใหญ่กับการฝึกและในฐานะกองหนุนของเหล่าสหรัฐที่ 9 ถูกย้ายไปยังเคียวตง (Kyo-dong) ในวันที่ 4 พฤษภาคม ยุทธการที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาในบริเวณของ "บูมเมอแรง" ตั้งแต่วันที่ 14 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Kumhwa

กำลังทางเรือ แก้

 
เรือหลวงท่าจีน และ เรือหลวงประแส ในปี 2494 ก่อนไปประจำการในสงคราม

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2493 เรือรบไทย 2 ลำ คือ ร.ล.ประแส ลำที่ 1 (เดิมที่คือ เอชเอ็มเอส เบโทนี่ ของราชนาวี และขายต่อให้ไทยในปีพ.ศ. 2490) และร.ล.บางปะกง ลำที่ 1 (เดิมที่คือ เอชเอ็มเอส เบอร์เน็ต ของราชนาวี และขายต่อให้ไทยในปีพ.ศ. 2490) มาถึงเกาหลีใต้ ทั้ง 2 ลำไปราชการภายใต้กองบัญชาการสหประชาชาติ โดยปฏิบัติหน้าที่นำขบวนและยิงปืนใหญ่ถล่มเป้าหมายบนพื้นดิน ร.ล.ประแส เกยตื้นบนชายฝั่งใกล้กับยางยางระหว่างเกิดพายุหิมะ ความพยายามในการทำให้เรือกลับมาลอยอีกครั้งล้มเหลว และมีการยิงถล่มซากเรือเพื่อให้สิ้นซาก ร.ล.บางปะกง ออกจากเกาหลีในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 และในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2494 เรือรบไทยอีก 2 ลำ ร.ล.ประแส ลำที่ 2 และร.ล.ท่าจีน (ซึ่งเป็นเรือรบที่ทางการสหรัฐให้) มาถึงเกาหลี ทั้ง 2 ลำกลับประเทศหลังมีการสงบศึกในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2498[4] เรือขนส่ง ร.ล.สีชัง มาถึงเกาหลีในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 และอยู่จนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2494

กำลังทางอากาศ แก้

กองทัพอากาศไทยจัดหาอากาศยาน ซี-47 เข้าร่วมในสงครามเกาหลี วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2493 รัฐบาลไทยสั่งให้หน่วยของตนสนับสนุนปฏิบัติการของกองทัพสหประชาชาติ

หน่วยบินลำเลียง แก้

กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบ ซี-47 จำนวน 3 เครื่อง พร้อมด้วยกำลังพล 17 คน ประกอบด้วยหัวหน้าหน่วยซึ่งเป็น

  • นักบิน 1 นาย
  • นักบิน 8 นาย
  • ช่างอากาศ 4 นาย
  • เจ้าหน้าที่สื่อสาร 4 นาย

ตามที่ได้รับคำแนะนำจากคณะที่ปรึกษา และช่วยเหลือทางทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ต่อมาได้พิจารณาเพิ่มอีก 2 นาย รวมเป็น 19 นาย คือ

  • นายทหารฝ่ายการเงิน 1 นาย
  • นายทหารเสมียน 1 นาย

ภารกิจที่ได้รับมอบ แก้

  • การขนส่งทางอากาศ ได้แก่การส่งกลับทหารบาดเจ็บและป่วยไข้ การลำเลียงทหารและพลเรือนระหว่างสนามบินต่าง ๆ ในเกาหลีใต้ และระหว่างสนามบินทหารในญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้ การลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ การขนส่งสัมภาระทางอากาศ ระหว่างญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้
  • บินขนส่งไปรษณีย์สำหรับกองกำลังสหประชาชาติ เป็นประจำทุกสัปดาห์ จัดเที่ยวบินเป็น 3 สาย
    1. เส้นทาง ฐานบินตาชิกาวา - อิตาสุะเกะ - ปูซาน
    2. เส้นทาง ฐานบินตาชิกาวา - อิตาสุะเกะ - ฐานบินเช็กชาโดบนเกาะคิวชิว
    3. เส้นทาง ฐานบินตาชิกาวา - โอกินาวา - ไทเป - ฐานทัพอากาศสหรัฐฯ คลาร์ก
  • การบินสนับสนุนการฝึกพลร่มของทหารสหรัฐฯ
  • การขนส่งทหารบกไทย ที่ปฏิบัติการอยู่ในเกาหลีใต้เดินทางไป - กลับ กรุงโตเกียว ตามโครงการพักผ่อน และฟื้นฟูของสหประชาชาติ
  • การสนับสนุนนักบินต้นหน และช่างเครื่องไปร่วมปฏิบัติงานกับ เจ้าหน้าที่ในหน่วยบินลำเลียงสหรัฐฯตามที่ได้รับคำสั่ง
  • การบินขนส่งบรรเทาสาธารณภัยให้แก่ทางการญี่ปุ่น เมื่อเกิดภัยธรรมชาติตามที่ได้รับการร้องขอ

การถอนกำลังทหาร แก้

ในปลายปี พ.ศ. 2513 สภากลาโหม มีมติเห็นควรที่จะถอนกำลังทหารไทยในเกาหลีใต้กลับตามข้อเสนอของ พล.ต. โชติ คล่องวิชา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ซึ่งแจ้งว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เตรียมที่จะถอนกำลังทหารที่ประจำในเกาหลีใต้กลับ และบางส่วนได้ถอนกลับไปแล้ว กองร้อยอิสระของไทยได้รับการสนับสนุนลดน้อยลงมาก และทางสหรัฐฯ ได้แจ้งให้ทราบว่าไม่ขัดข้องถ้าทางไทยจะถอนกำลังทหารไทยออกจากเกาหลีใต้  จึงสมควรถอนกำลังทหารกลับ และยุบเลิกหน่วยบินลำเลียง ตามมติสภากลาโหมดังกล่าว ให้กองทัพบกจัดกำลังทหารไว้ประจำ 1 หมู่เกียรติยศ จำนวน 6 คน ขึ้นอยู่ในความปกครองบังคับบัญชาของผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโซล ให้ยุบเลิกสำนักงานนายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโตเกียว และกรุงโซล ซึ่งจะได้ประกาศถอน และยุบเลิกภายหลังเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2514 กองร้อยอิสระผลัดที่ 23 ซึ่งเป็นกำลังทหารบกผลัดสุดท้ายของไทย ได้เตรียมการถอนกำลังกลับประเทศไทยใน 23 มิถุนายน พ.ศ. 2515 ในวันที่ 21 มิถุนายน ในปีเดียวกัน กองบัญชาการสหประชาชาติได้จัดพิธีอำลา เป็นเกียรติยศแก่กองร้อยอิสระผลัดที่ 23 ที่สนามไนท์ ในกรุงโซล โดยมีจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, กองบัญชาการสหประชาชาติ และผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ในเกาหลีใต้เป็นประธาน มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมในพิธีเป็นจำนวนมาก เช่น คิม จง พิล นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 ของเกาหลีใต้ ผู้แทนประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ผู้แทนชาติพันธมิตรต่าง ๆ ที่ร่วมปฏิบัติการในสงครามเกาหลี กองบัญชาการสหประชาชาติได้จัดให้มีการยิงสลุต และพิธีสวนสนามเป็นเกียรติยศแก่กองร้อยอิสระของไทย ในวันเดินทางกลับของกองร้อยอิสระ พล.ท. ยู แจ-ฮุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้, ผู้แทนรัฐบาลเกาหลีใต้, ผู้แทนกองบัญชาการสหประชาชาติ รวมทั้งชาวเกาหลีใต้เป็นจำนวนมากได้ไปส่งที่สนามบินคิมโป กรุงโซลด้วยความอาลัย กองร้อยอิสระผลัดที่ 23 ไดเดินทางโดยเครื่องบินลำเลียงแบบ ซี - 141 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ถึงประเทศไทยในวันเดียวกัน รวมระยะเวลาที่กองกำลังทหารไทยไปปฏิบัติการในเกาหลีใต้ตั้งแต่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ถึง 23 มิถุนายนพ.ศ. 2515 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 16 ปี 7 เดือน 15 วัน จำนวนทหารบกที่ไปร่วมปฏิบัติการ 23 ผลัด รวม 11,776 นาย โดยไม่รวมกันกองทัพเรือทั้งหมด 6 ผลัด, กองทัพอากาศทั้งหมด 24 ผลัด รวมทั้งสภากาชาดไทยทั้งหมด 4 รุ่น[5]

มรดก แก้

 
อนุสรณ์เรือรบหลวงประแส ที่จัดแสดง ณ จังหวัดระยอง

ตลอดระยะเวลาของสงครามเกาหลี ประเทศไทยส่งทหารรวม 11,786 นายไปประเทศเกาหลีใต้[6] มีบันทึกว่าทหารไทย 136 นายเสียชีวิตในสงคราม ในปีพ.ศ. 2517 รัฐบาลเกาหลีใต้สร้างอนุสาวรีย์และศาลาไทยในเมืองโพชอนเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารไทยที่เข้าร่วมในสงครามเกาหลี เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ช่วยทูตสำนักงานกลาโหมเป็นเจ้าภาพในพิธีเปิดงานอนุสรณ์สถานไทย ณ สุสานอนุสรณ์สหประชาชาติในเกาหลี (UNMCK) เพื่อระลึกถึงการเสียสละของทหารไทยในสงครามเกาหลี

ร.ล.ประแส ลำที่ 2 ถูกปลดประจำการจากกองทัพเรือไทยในปี พ.ศ. 2543 และมีการกำหนดให้เป็นเรือพิพิธภัณฑ์ เรือมองเห็นได้ที่ปากแม่น้ำประแสร์ จังหวัดระยอง โดยคณะกรรมการชุมชนแม่น้ำประแส เรือรบใช้เป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์กรมทหารราบที่ 21

เหรียญบำเหน็จกล้าหาญ แก้

เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี แก้

แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี​ กำหนดลักษณะไว้ตามตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ พ.ศ. 2494 ดังนี้

"แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิสำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำการร่วมรบกับสหประชาชาตินั้น ให้เป็นสีฟ้า ขนาดกว้าง 3.5 เซนติเมตร และถัดริ้วสีฟ้าเข้าไปเป็นริ้วสีขาวทั้งสองข้าง ด้านบนแพรแถบมีเข็มโลหะรูปคทาจอมพลจารึกอักษรว่า "ชัยสมรภูมิ""[7]

แพรแถบย่อ
 
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลีประดับช่อชัยพฤกษ์
 
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี ประดีบเปลวระเบิด
 
แพรแถบย่อเหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี

อนุสรณ์ แก้

วันที่ระลึก แก้

วันที่ระลึกทหารผ่านศึกสงครามเกาหลี ตรงกับวันที่ 22 ตุลาคม ของทุกปี

ปัจจุบัน แก้

 
นายสิบทหารบกไทยที่ประจำการในเกาหลี ณ พันมุนจ็อม​ ปี 2556

ไทยยังคงมอบหมายให้นายทหาร 1 นาย เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานในคณะกรรมการสงบศึก (นายทหารติดต่อ) นายทหารชั้นประทวนอีก 7 นาย เป็นเสมียนธุรการ ประจำ สง.นตต.ฯ (Seoul) 1 นาย และเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยแยก ทบ. ประจำ บก.สหประชาชาติ (Honor Guard) กองบัญชาการสหประชาชาติ (UNC) ใน Camp Humphrey จังหวัดพย็องแท็ก อีก 6 นาย

อ้างอิง แก้

  1. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2013. สืบค้นเมื่อ 17 May 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  3. History of Thailand
  4. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 2012-07-03.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  5. กองกำลังทหารไทยในสงครามเกาหลี
  6. ประเทศไทยส่งทหารรวม 11,786 นายไปประเทศเกาหลีใต้
  7. แพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้