ประเทศโมร็อกโก

ประเทศในแอฟริกาเหนือ

พิกัดภูมิศาสตร์: 32°N 6°W / 32°N 6°W / 32; -6

โมร็อกโก[a] มีชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรโมร็อกโก,[b] เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐเอกราชที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคมาเกร็บในแอฟริกาเหนือ เป็นหนึ่งในถิ่นกำเนิดชนเบอร์เบอร์[13][14] ในทางภูมิศาสตร์โมร็อกโกมีเทือกเขาหินขรุขระตรงกลาง มีทะเลทรายขนาดใหญ่และมีชายฝั่งยาวมาตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกจนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน

ราชอาณาจักรโมร็อกโก

ตราแผ่นดินของโมร็อกโก
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
الله، الوطن، الملك  (อาหรับ)
ⴰⴽⵓⵛ, ⴰⵎⵓⵔ, ⴰⴳⵍⵍⵉⴷ (Standard Moroccan Tamazight)
"พระเจ้า, ประเทศ, กษัตริย์"
ที่ตั้งของประเทศโมร็อกโกในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ สีเขียวเข้ม: ดินแดนของโมร็อกโก สีเขียวอ่อน: เวสเทิร์นสะฮารา ดินแดนที่โมร็อกโกอ้างสิทธิและครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในฐานะจังหวัดทางใต้[หมายเหตุ 1]
ที่ตั้งของประเทศโมร็อกโกในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ
สีเขียวเข้ม: ดินแดนของโมร็อกโก
สีเขียวอ่อน: เวสเทิร์นสะฮารา ดินแดนที่โมร็อกโกอ้างสิทธิและครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในฐานะจังหวัดทางใต้[หมายเหตุ 1]
เมืองหลวงราบัต
34°02′N 6°51′W / 34.033°N 6.850°W / 34.033; -6.850
เมืองใหญ่สุดกาซาบล็องกา
33°32′N 7°35′W / 33.533°N 7.583°W / 33.533; -7.583
ภาษาราชการ
ภาษาพูด
ภาษาต่างชาติอังกฤษสเปน[4]
กลุ่มชาติพันธุ์
(2014[5])
ศาสนา
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ [6]
สมเด็จพระราชาธิบดีมุฮัมมัดที่ 6
อะซีซ อะค็อนนูช
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
ราชมนตรีสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ก่อตั้ง
788
• ราชวงศ์อะละวี (ราชวงศ์ปัจจุบัน)
1631
30 มีนาคม ค.ศ. 1912
7 เมษายน ค.ศ. 1956
พื้นที่
• รวม
710,850 ตารางกิโลเมตร (274,460 ตารางไมล์)
หรือ 446,550 km2 (172,410 sq mi)[b]
(อันดับที่ 39 หรือ 57)
0.056 (250 ตารากิโลเมตร)
ประชากร
• 2020 ประมาณ
37,112,080[7] (อันดับที่ 39)
• สำมะโนประชากร 2014
33,848,242[8]
50.0 ต่อตารางกิโลเมตร (129.5 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
332.358 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
9,339 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
122.458 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9]
3,441 ดอลลาร์สหรัฐ[9]
จีนี (2015)40.3[10]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.686[11]
ปานกลาง · อันดับที่ 121
สกุลเงินดิรฮัม (MAD)
เขตเวลาUTC+1[12]
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+212
โดเมนบนสุด.ma
المغرب.
  1. ^ ศาสนาประจำชาติ
  2. ^ พื้นที่ 446,550 ตารางกิโลเมตร (172,410 ตารางไมล์) ไม่รวมดินแดนพิพาททั้งหมด ส่วน 710,850 ตารางกิโลเมตร (274,460 ตารางไมล์) รวมดินแดนอ้างสิทธิของโมร็อกโกและพื้นที่ควบคุมบางส่วนของเวสเทิร์นสะฮารา (อ้างสิทธิเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีโดยแนวร่วมโปลิซาริโอ) โมร็อกโกยังอ้างสิทธิเซวตาและเมลียา ซึ่งรวมพื้นที่อ้างสิทธิอีกประมาณ 22.8 ตารางกิโลเมตร (8.8 ตารางไมล์)

โมร็อกโกมีพื้นที่ประมาณ 710,850 ตารางกิโลเมตรและประชากรกว่า 35,276,786 คน[15] เมืองหลวงชื่อราบัตและมีเมืองใหญ่สุดชื่อกาซาบล็องกา นอกจากนี้ยังมีเมืองสำคัญอื่น ๆ อีกอาทิมาร์ราคิช แทงเจียร์ ซาเล่ห์ แฟ็ส แม็กแน็สและ วัจด้า ในทางประวัติศาสตร์โมร็อกโกเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคมีความเป็นอิสระและไม่ได้ถูกยุ่งเกี่ยวหรือรุกรานโดยเพื่อนบ้านตั้งแต่สุลต่าน โมเลย์ อิดริส ที่ 1ก่อตั้งรัฐโมร็อกโกครั้งแรกใน พ.ศ. 1332 ประเทศถูกปกครองโดยระบบราชวงศ์และเจริญสุดขีดในช่วงราชวงศ์อัลโมราวิดและราชวงศ์อัลโลฮัดซึ่งครอบครองส่วนหนึ่งของคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ราชวงศ์มารีนิดและราชวงศ์ซาดีได้ยืนหยัดต่อต้านการรุกร่านจากต่างประเทศ อีกทั้งโมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือประเทศเดียวที่เลี่ยงการยึดครองจากจักรวรรดิออตโตมันได้ ราชวงศ์อเลาอัวซึ่งปกครองประเทศอยู่ในปัจุบันนั้นขึ้นมามีอำนาจในโมร็อกโกตั้งแต่ พ.ศ. 2174 ใน พ.ศ. 2455 โมร็อกโกถูกแบ่งเป็นโมร็อกโกในอารักขาของฝรั่งเศส โมร็อกโกในอารักขาของสเปนกับเขตสากลในแทนเจียร์และกลับมาได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2499 วัฒนธรรมชาวโมร็อกโกจะเป็นแบบผสมผสานตามอิทธิพลของเบอร์เบอร์ อาหรับ แอฟริกาตะวันตกและยุโรป

โมร็อกโกอ้างว่าเวสเทิร์นสะฮาราดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองซึ่งเคยเป็นสะฮาราของสเปนนั้นเป็นจังหวัดทางใต้ของโมร็อกโก หลังจากสเปนตกลงที่จะปลดปล่อยดินแดนนี้ให้โมร็อกโกและมอริเตเนียใน พ.ศ. 2518 ชาวซาห์ราวีได้ทำสงครามแบบกองโจร มอริเตเนียถอนตัวออกจากดินแดนที่มีสิทธิครอบครองใน พ.ศ. 2522 และสงครามอันยืดเยื้อก็ยุติจากการหยุดยิงใน พ.ศ. 2534 ปัจจุบันโมร็อกโกครอบครองดินแดนสองในสาม

โมร็อกโกปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง กษัตริย์โมร็อกโกมีอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติอย่างมาก โดยเฉพาะการทหาร นโยบายต่างประเทศและศาสนา อำนาจบริหารออกใช้โดยรัฐบาล ขณะที่สภานิติบัญญัติเป็นของรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรโมร็อกโกและราชมนตรีสภาทั้งสองสภา กษัตริย์สามารถออกพระราชกฤษฎีกาที่เรียกว่าดาฮีร์ซึ่งมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย นอกจากนี้กษัตริย์สามารถยุบสภาหลังจากปรึกษานายกรัฐมนตรีและประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ชาวโมร็อกโกส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามมีภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเบอร์เบอร์เป็นภาษาหลักของโมร็อกโกก่อนที่อาหรับจะมามีบทบาทในคริสศ์ศตวรรษที่ 600[16][17] ภาษาอาหรับในโมร็อกโกเรียกว่า Darija โมร็อกโกเป็นสมาชิกของสันนิบาตอาหรับ สหภาพเมดิเตอร์เรเนียนและสหภาพแอฟริกา และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของแอฟริกา

ภูมิศาสตร์ แก้

โมร็อกโกมีชายฝั่งยาวตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกยาวขึ้นไปผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์จนถึงทะเลเมดิเตอเรเนียน ทางเหนือติดกับสเปน (เซวตา เมลียาและโขดหินเบเลซเดลาโกเมรา) ทางทิศตะวันออกจรดแอลจีเรีย จรดซาฮาราตะวันตกทางทิศใต้ ตั้งแต่โมร็อกโกควบคุมส่วนใหญ่ของซาฮาราตะวันตกจึงมีพรมแดนด้านใต้ติดกับประเทศมอริเตเนียโดยพฤตินัย

ประเทศโมร็อกโกตั้งอยูที่ละติจูด 27 องศาถึง 36 องศาเหนือและจากลองจิจูด 1 องศาถึง 17 องศาตะวันตก แต่หากร่วมพื้นที่ซาฮาราตะวันตกโมร็อกโกจะตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 21 องศาถึง 36 องศาเหนือและจากลองจิจูด 1 องศาถึง 17 องศาตะวันตก

พื้นที่ของโมร็อกโกครอบคลุมตั้งแต่ชายฝั่งแอตแลนติก พื้นที่ภูเขาตรงกลางและทะเลทรายซาฮาร่า โมร็อกโกเป็นประเทศในแอฟริกาเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนระกว่างแอลจีเรียกับซาฮาราตะวันตก และเป็นหนึ่งในสามประเทศที่มีชายฝั่งติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (อีกสองประเทศคือสเปนและฝรั่งเศส)

พื้นที่ส่วนใหญ่ของโมร็อกโกเป็นภูเขา เทือกเขาแอตลาสตั้งอยู่ตรงกลางและทางตอนใต้ของประเทศ เทือกเขาริฟอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ เทือกเขาทั้งสองนี้มีชาวเบอร์เบอร์อาศัยอยู่ หากไม่นับซาฮาราตะวันตกจะมีพื้นที่ 446,550 กิโลเมตรมีขนาดเป็นอันดับที่ 57ของโลก ติดกับแอลจีเรียทางตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้แม้ว่าชายแดนระหว่างสองประเทศถูกปิดตั้งแต่ พ.ศ. 2537

มีดินแดนห้าแห่งของสเปนบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในแอฟริกาเหนือที่ติดและอยู่ใกล้กับโมร็อกโกได้แก่เซวตาและเมลียา หมู่เกาะชาฟารินัส โขดหินอาลูเซมัสและโขดหินเบเลซเดลาโกเมราและดินแดนพิพาทอีก 1 แห่งคือเกาะเปเรฆิล นอกจากนี้ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกยังใกล้กับกานาเรียสของสเปน และมาเดราของโปรตุเกส ทางเหนือของโมร็อกโกมีพรมแดนติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ที่สามารถส่งสินค้าระหว่างประเทศไปมาระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้

เทือกเขาริฟทอดตัวยาวตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากตะวันตกเฉียงเหนือไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เทือกเขาแอตลาสที่อยู่กลางคล้ายกระดูกสันหลังของประเทศนั้นทอดตัวตั้งแต่ตะวันออกเฉียงเหนือไปตะวันตกเฉียงใต้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ประเทศมีทะเลทรายซาฮาราซึ่งไม่ค่อยมีประชากรอาศัยและไม่มีการก่อผลทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือบริเวณ 2 เทือกเขานี้ ขณะที่ประชากรทางใต้จะอยู่ในซาฮาราตะวันตกซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนในอดีตที่ถูกผนวกโดยโมร็อกโกเมื่อ พ.ศ. 2518[18] และอ้างว่าเป็นจังหวัดทางใต้

เมืองหลวงของโมร็อกโกคือเมืองราบัต เมืองใหญ่สุดเป็นเมืองท่าชื่อกาซาบล็องกา และเมืองอื่น ๆ ที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คนในการสำรวจสำมะโนประชากรโมร็อกโก 2557 อย่างมาร์ราคิช แฟ็ส แม็กแน็ส แทงเจียร์และซาเล่ห์[19]

โมร็อกโกใช้ MA ในมาตรฐาน ISO 3166-1 alpha-2[20] รหัสนี้ใช้เป็นพื้นฐานของโดเมนระดับบนสุดของโมร็อกโก.ma[20]

หมายเหตุ แก้

  1. /məˈrɒk/ (  ฟังเสียง); อาหรับ: المغرب, อักษรโรมัน: al-maḡrib, แปลตรงตัว'แดนอาทิตย์อัสดง; ตะวันตก'; Standard Moroccan Tamazight: ⵍⵎⵖⵔⵉⴱ, อักษรโรมัน: lmeɣrib, ฝรั่งเศส: Maroc, [maʁɔk])
  2. อาหรับ: المملكة المغربية, อักษรโรมัน: al-mamlaka al-maḡribiyya, แปลตรงตัว'ราชอาณาจักรทางตะวันตก'; Standard Moroccan Tamazight: ⵜⴰⴳⵍⴷⵉⵜ ⵏ ⵍⵎⵖⵔⵉⴱ, อักษรโรมัน: tageldit n lmeɣrib, ฝรั่งเศส: Royaume du Maroc

อ้างอิง แก้

  1. "MANDATE". UNITED NATIONS. 26 October 2016.
  2. 2.0 2.1 "Morocco". World Factbook. Central Intelligence Agency.
  3. "Présentation du Maroc". Ministère de l’Europe et des Affaires étrangères (ภาษาฝรั่งเศส).
  4. Oukhira, Fatima Zahra. "The teaching of English in Morocco". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. "Morocco". World Factbook. Central Intelligence Agency. 23 September 2021. Ethnic groups: Arab-Berber 99%, other 1%
  6. "Constitution of the Kingdom of Morocco, I-1" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 18 May 2012. สืบค้นเมื่อ 9 January 2013.
  7. "Morocco Population, 1960-2019 - knoema.com". Knoema. 2019. สืบค้นเมื่อ 2 April 2020.
  8. "Rgbh 2014" (ภาษาฝรั่งเศส). HCP. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-09. สืบค้นเมื่อ 17 October 2019.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "Morocco". IMF.
  10. Africa's Development Dynamics 2018:Growth, Jobs and Inequalities. AUC/OECD. 2018. p. 179. สืบค้นเมื่อ 18 December 2020.
  11. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  12. "Morocco Keeps Clocks Steady on GMT+1". 28 October 2018.
  13. Books Llc (September 2010). Ethnic Groups in Morocco: Berber People. General Books LLC. ISBN 978-1-156-46273-7.
  14. Jamil M. Abun-Nasr (20 August 1987). A History of the Maghrib in the Islamic Period. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-33767-0.
  15. "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  16. Rodd, Francis. "Kahena, Queen of the Berbers: "A Sketch of the Arab Invasion of Ifriqiya in the First Century of the Hijra" Bulletin of the School of Oriental Studies, University of London, Vol. 3, No. 4, (1925)
  17. Source Wikipedia; LLC Books (June 2010). Languages of Morocco: Spanish Language, Arabic Language, Berber Languages, Central Morocco Tamazight, Moroccan Arabic, Tashelhiyt Language. General Books LLC. ISBN 978-1-157-60671-0.
  18. Pending resolution of the Western Sahara conflict.
  19. "POPULATION LÉGALE DES RÉGIONS, PROVINCES, PRÉFECTURES, MUNICIPALITÉS, ARRONDISSEMENTS ET COMMUNES DU ROYAUME D'APRÈS LES RÉSULTATS DU RGPH 2014" (ภาษาอาหรับ และ ฝรั่งเศส). High Commission for Planning, Morocco. 8 April 2015. สืบค้นเมื่อ 29 September 2017.
  20. 20.0 20.1 "English country names and code elements". International Organization for Standardization. 15 May 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 May 2008.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/> ที่สอดคล้องกัน