ประธานสภาขุนนาง

ประธานสภาขุนนาง (อังกฤษ: Lord Speaker) เป็นประธานผู้ควบคุมการประชุม และผู้บริหารสูงสุดในสภาขุนนางอันเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาสหราชอาณาจักร โดยตำแหน่งนั้นคล้ายคลึงกับประธานสภาสามัญชน โดยประธานสภาขุนนางนั้นได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกในสภาขุนนาง และจะต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง

ประธานสภาขุนนาง
Lord Speaker
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ลอร์ดแมคฟอลแห่งอัลคลุยธ์

ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2021
สภาขุนนาง
การเรียกขาน
ผู้เสนอชื่อพรรคการเมือง
ผู้แต่งตั้งสภาขุนนาง
เมื่อมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งและได้ถวายสัตย์ต่อพระมหากษัตริย์
วาระ5 ปี โดยสามารถต่อได้เพียงสมัยเดียว
สถาปนา4 กรกฎาคม ค.ศ. 2006
คนแรกบารอเนส เฮย์แมน
รองรองประธานอาวุโส
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

ในอดีตจนถึงปีค.ศ. 2006 ตำแหน่งประธานในสภาขุนนางนั้นปฏิบัติหน้าที่โดยประธานศาลสูงสุด (Lord Chancellor) โดยตั้งแต่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในปีค.ศ. 2005 นั้นได้กำหนดให้ตำแหน่งประธานสภาขุนนาง[1]นั้นแยกออกมาจากประธานศาลสูงสุดและจะต้องสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาขุนนางซึ่งไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งประธานศาลสูงสุด โดยในขณะนั้นประธานศาลสูงสุดยังคงรักษาการในฐานะประธานสภาขุนนางจนกระทั่งร่างรัฐธรรมนูญได้ผ่านการรับรองจากทั้งสองสภา

รายนามประธานสภาขุนนาง แก้

รูป ชื่อ
(เกิด–ถึงแก่กรรม)
วาระ
การเลือกตั้ง
อดีตพรรคการเมือง[a] อ้างอิง
  เฮเลน เฮย์แมน บารอเนสเฮย์แมน
(เกิด ค.ศ. 1949)
4 กรกฎาคม
ค.ศ. 2006
31 สิงหาคม
ค.ศ. 2011
พรรคแรงงาน [3]
ค.ศ. 2006
  ฟรานเชส ดีซูซา บารอนเนส ดีซูซา
(เกิด ค.ศ. 1944)
1 กันยายน
ค.ศ. 2011
31 สิงหาคม
ค.ศ. 2016
ครอสเบนช์ [4]
ค.ศ. 2011
  นอร์แมน ฟาวเลอร์ บารอนฟาวเลอร์
(เกิด ค.ศ. 1938)
1 กันยายน
ค.ศ. 2016
30 เมษายน
ค.ศ. 2021
พรรคอนุรักษนิยม [5]
ค.ศ. 2016
  จอห์น แมคฟอล บารอนแห่งอัลคลุยธ์
(เกิด ค.ศ. 1944)
1 พฤษภาคม
ค.ศ. 2021
อยู่ในวาระ พรรคแรงงาน[b] [6]
ค.ศ. 2021


หมายเหตุ แก้

  1. พรรคการเมืองที่เคยสังกัดก่อนการเข้ารับตำแหน่งประธานสภาขุนนาง (หรือตำแหน่งอื่นๆ ภายในสภาขุนนาง) โดยตำแหน่งประธานสภาและตำแหน่งอื่นๆ จะต้องลาออกจากความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเมื่อเข้ารับตำแหน่ง[2]
  2. ลาออกจากความเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานอาวุโสในสภาขุนนางเมื่อปีค.ศ. 2016

อ้างอิง แก้

  1. House of Lords Minutes of Proceedings for Tuesday 4 July 2006.
  2. "The Lord Speaker". www.parliament.uk. สืบค้นเมื่อ 20 August 2017.
  3. "Hayman chosen to be Lords speaker". BBC News. British Broadcasting Corporation. 4 July 2006. สืบค้นเมื่อ 26 August 2008.
  4. "Baroness D'Souza elected new Lords Speaker". BBC News. British Broadcasting Corporation. 18 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
  5. "Election of the Speaker of the House of Lords: result" (PDF). สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  6. "Election of the Speaker of the House of Lords: result" (PDF). สืบค้นเมื่อ 21 April 2021.