พลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก อดีตรองนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายความมั่นคง) และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตนายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ[3]และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายตำรวจมือปราบมีฉายาว่า "อินทรีอีสาน" เนื่องจากเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา เป็นทั้งอธิบดีกรมตำรวจคนสุดท้ายและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก เนื่องจากมีตำแหน่งสูงสุดในช่วงที่ปรับเปลี่ยนสถานะของกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[4]และอดีตนายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานีและนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ประชา พรหมนอก
ประชา ภาพในปี พ.ศ. 2541
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(0 ปี 311 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าเฉลิม อยู่บำรุง
ถัดไปประวิตร วงษ์สุวรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
(1 ปี 326 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ถัดไปชัยเกษม นิติสิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
(0 ปี 240 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าวุฒิ สุโกศล
ถัดไปเดช บุญ-หลง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
24 กันยายน พ.ศ. 2551 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551
(0 ปี 69 วัน)
นายกรัฐมนตรีสมชาย วงศ์สวัสดิ์
ก่อนหน้ามิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
ถัดไปชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 (1 ปี 36 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
ถัดไปจำลอง เอี่ยมแจ้งพันธ์
อธิบดีกรมตำรวจ
ดำรงตำแหน่ง
8 มกราคม พ.ศ. 2540[1] – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2541
(1 ปี 281 วัน)
ก่อนหน้าพจน์ บุณยะจินดา
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
17 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2543[2] (1 ปี 239 วัน)
ถัดไปพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์
หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 27 มีนาคม พ.ศ. 2552
ก่อนหน้าสุวิทย์ คุณกิตติ
ถัดไปชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ดำรงตำแหน่ง
17 มกราคม พ.ศ. 2548 – 18 สิงหาคม พ.ศ. 2551
(3 ปี 213 วัน)
ก่อนหน้าพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก
ถัดไปศาสตราจารย์ ดร.พจน์ สะเพียรชัย
นายกสภาประจำสถาบันราชภัฏอุดรธานี
ดำรงตำแหน่ง
10 กันยายน พ.ศ. 2546 – 16 มกราคม พ.ศ. 2548
(1 ปี 128 วัน)
ก่อนหน้านายสงบ ลักษณะ
ถัดไปพลตำรวจเอกประชา พรหมนอก
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (81 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา (2543–2547)
ไทยรักไทย (2547–2548)
มหาชน (2548–2550)
เพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
เพื่อไทย (2554–2561)
คู่สมรสคุณหญิงวารุณี พรหมนอก (หย่า)
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ชั้นยศ พลตำรวจเอก

ประวัติ แก้

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก มีชื่อเดิมว่า "ผิวทอง" เกิดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมาเป็นบุตรของนายผ่าน กับนางบาง พรหมนอก สมรสกับคุณหญิงวารุณี บำรุงสวัสดิ์ (หย่า) มีบุตร-ธิดา 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน คือ พ.ต.อ.ชัชธรรม พรหมนอก (เสียชีวิต), นางธารศรี ศรีวรขาน (สมรสกับ พล.ต.อ.เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน รอง ผบ.ตร.), นางนุดี เพชรพนมพร (สมรสกับนายศราวุธ เพชรพนมพร) และ พ.ต.ท.จิรพัฒน์ พรหมนอก[5]

ประวัติการศึกษา แก้

ประสบการณ์ แก้

การเมือง แก้

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกเมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2540 ภายหลังเกษียณราชการแล้ว ต่อมาได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา[8] และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร ต่อมาได้ย้ายมาเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคแทนที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ที่ประกาศลาออกไป และได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[9]

ภายหลังรัฐบาลนายสมชายต้องพ้นวาระไปจากคดียุบพรรคพลังประชาชน ทำให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องว่างลง พล.ต.อ.ประชาได้รับการสนับสนุนจากนายเสนาะ เทียนทอง และพรรคเพื่อไทยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นคนต่อไป ในวันที่เลือกนายกรัฐมนตรีที่รัฐสภา เสียงที่เลือก พล.ต.อ.ประชา แพ้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 235 เสียง ซึ่ง พล.ต.อ.ประชาได้โหวตให้แก่ตัวเองด้วย

ต่อมา พล.ต.อ.ประชา ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554[10] และเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[11] และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554[12] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 5[13] จนกระทั่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2556 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี[14]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 พล.ต.อ.ประชา ได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ในช่วงที่มีการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ต่อมาได้มีการแต่งตั้ง ดร.สุรพงศ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล เข้ามาทำหน้าที่แทน[15]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 8[16] ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ เนื่องจากไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งทั้งราชอาณาจักรในวันเดียวกันได้ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญ[17]

วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 พล.ต.อ.ประชา ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากมีส่วนเกี่ยวข้องในการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรีจากตำแหน่งเลขาธิการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยขาดความชอบธรรม[18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. แต่งตั้ง รองอธิบดี เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
  2. ให้ข้าราชการตำรวจพ้นจากตำแหน่ง
  3. นายตำรวจราชองครักษ์พิเศษ
  4. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
  5. บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก[ลิงก์เสีย]
  6. แต่งตั้ง รองอธิบดี เป็น อธิบดีกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย
  7. m.mgronline.com https://m.mgronline.com/uptodate/detail/9510000142895. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  8. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  9. "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-04-18.
  10. “ประชา”ลาเพื่อแผ่นดิน คาดร่วมงาน พท.
  11. [ลิงก์เสีย] พล.ต.อ.ประชาสมัครเป็นสมาชิกเพื่อไทยแล้ว จากประชาทรรศน์
  12. พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 3
  13. "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕)
  15. แฉปลด"ประชา"พ้นผอ.ศอ.รส.ฉุนใจไม่สู้.... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1eOeLg9[ลิงก์เสีย]
  16. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  17. "มติศาล รธน. 6 ต่อ 3 ชี้การเลือกตั้ง 2 ก.พ. เป็นโมฆะ". Manager. 2014-03-21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-22. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
  18. เปิดรายชื่อ รมต. ตกเก้าอี้พร้อมยิ่งลักษณ์ ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๗, ๑๔ เมษายน ๒๕๒๙
ก่อนหน้า ประชา พรหมนอก ถัดไป
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง    
รองนายกรัฐมนตรี
ฝ่ายความมั่นคง

(ครม. 60)

(30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ครม. 60)
(9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556)
  ชัยเกษม นิติสิริ
มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (ครม. 58)
(24 กันยายนพ.ศ. 2551 - 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
  ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ครม. 53)
(14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 - 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544)
  เดช บุญ-หลง
พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา    
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(พ.ศ. 2539 - 13 มิถุนายน พ.ศ. 2543)
  พลตำรวจเอกพรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์