ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์

ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 –) หรือเป็นที่รู้จักในนาม โป่ง หินเหล็กไฟ เป็นนักร้องนำและนักแต่งเพลงของวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์, หิน เหล็ก ไฟ และเดอะซัน เจ้าของฉายา กระเดือกทองคำ และ ออซซี ออสบอร์นเมืองไทย[2] เขาอยู่ในวงการมายาวนานกว่า 40 ปี[2] และเป็นที่ยอมรับจากเสียงร้องที่ทรงพลังและคำประพันธ์ที่สละสลวย ทำให้ผลงานเพลงของเขาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[2]

ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
รู้จักในชื่อโป่ง หิน เหล็ก ไฟ, โป่ง ปฐมพงศ์, โป่ง เดอะ ซัน, โป่ง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์, วู้ดดี้ ดิคาปริโอ้
เกิด9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี) จังหวัดชุมพร ประเทศไทย
แนวเพลงเฮฟวีเมทัล ร็อก
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักธุรกิจ
ช่วงปี2521 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงห้องอัดเสียงทอง
จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ไมล์สโตน เรคคอร์ดส
อาร์.เอส.โปรโมชั่น
เบเกอรี่มิวสิค
เรียลแอนด์ชัวร์
เว็บไซต์pong.stonemetalfire.com

ประวัติ แก้

ปฐมพงศ์เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ที่อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ได้ชื่อว่า "ลูกโป่ง" หรือ "โป่ง" มาจากการที่มีปู่เป็นชาวจีนจึงเรียกชื่อปฐมพงศ์ไม่ชัด เพี้ยนเป็น "โป่ง" [3] จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ปฐมพงศ์สนใจด้านดนตรีมาตั้งแต่เยาว์วัย โดยเขามีโอกาสฟังเพลงหลากหลายประเภท รวมถึงเพลงของดิอิมพอสซิเบิ้ล, พยงค์ มุกดา, สุรพล สมบัติเจริญ, ชาตรี ศรีชล, ศรคีรี ศรีประจวบ และ สายัณห์ สัญญา นอกจากนี้เขายังเคยนำเพลง คนหัวล้าน ของสุรพลไปประกวดร้องเพลงในบางโอกาส[2]

เส้นทางดนตรี แก้

เขาเริ่มสนใจดนตรีร็อกขณะกำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เนื่องจากเขาพบกับพิทักษ์ ศรีสังข์ซึ่งเป็นเพื่อนจากจังหวัดเดียวกันได้ตั้งวงนาอ้อนขึ้นมา[2] แต่เมื่อหลังจากสมาชิกแต่ละวงจบการศึกษาจึงถูกยุบไป[2] หลังจากนั้นเขาได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้พบกับวีระ โชติวิเชียร ซึ่งต่อมาได้ร่วมกันก่อตั้งวงอินเฟอร์โน[2] ซึ่งอินเฟอร์โนมีโอกาสได้ไปแสดงในรายการของวิฑูร วทัญญูนักจัดรายการวิทยุชื่อดัง[2] ต่อมาเข้าเข้าสู่สังกัดจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ในฐานะนักร้องนำวงโซดา และออกอัลบั้มชุดแรกคือ คำก้อน ในปี พ.ศ. 2528 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จากนั้นเขาร่วมกับโอฬาร พรหมใจก่อตั้งวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ขึ้นมาหลังจากหมดสัญญากับต้นสังกัดเดิม และออกสตูดิโออัลบั้มสองชุด ได้แก่ กุมภาพันธ์ 2528 วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งมีเพลงดังอย่าง อย่าหยุดยั้ง, ไฟปรารถนา และ หูเหล็ก ที่มีเพลงดังคือเพลงที่มีชื่อเดียวกับอัลบั้ม วางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2532[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 เขาร่วมกับนำพล รักษาพงษ์และณรงค์ สิทธิสารสุนทร ก่อตั้งวง หิน เหล็ก ไฟ ซึ่งใช้เวลาถึง 2 ปีจึงตั้งวงดนตรีได้สำเร็จเนื่องจากจักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัยซึ่งเป็นมือกีต้าร์ได้เข้าร่วมวง แต่เดิมเขาได้นำตัวเดโมของวงไปเสนอกับแกรมมี่ซึ่งเป็นต้นสังกัดเดิมแต่ถูกปฏิเสธ จากนั้นเขาจึงนำไปเสนอกับอาร์เอสซึ่งทางอาร์เอสได้ตอบรับ หลังจากนั้นวงจึงออกสตูดิโออัลบั้มชุดแรกที่มีชื่อเดียวกันกับวงในปี พ.ศ. 2536 ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงและมีเพลงที่ได้รับความนิยมเกือบทั้งชุด อาทิ นางแมว, ยอม, พลังรัก, เพื่อเธอ, สองคน, สู้, ก่อนจะสาย, ค้างคาวไฟ, ร็อกเกอร์ ฯลฯ ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 พวกเขาได้ออกสตูดิโออัลบั้มชุดถัดมาคือ คนยุคเหล็ก ซึ่งมีเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากเช่นกัน อาทิ หลงกล, มั่วนิ่ม, คิดไปเอง, หวาดระแวง ฯลฯ

หลังจากหิน เหล็ก ไฟออกผลงานทั้งสองชุดได้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกวง ทำให้เขาและจักรรินทร์ได้แยกตัวออกไปและก่อตั้งวง เดอะซัน ภายหลังเซลเวสเตอร์ ซี เลสเตอร์ เอสเตบัน มือกลองของวงได้เข้าร่วมกับเดอะซัน[2] ทั้งยังได้พิทักษ์ มือเบสซึ่งเป็นเพื่อนของเขาเข้าร่วมกับเดอะซันเช่นกัน และในเวลาไล่เลี่ยกันณรงค์และนำพลได้ก่อตั้งวงลาวา ซึ่งเพลงดังที่เป็นที่นิยมในนามเดอะซันได้แก่ พอแล้ว, Are You Ready To Rock, Vampire, ง่ายเกินไป และ ทำดีที่สุดแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 เขาและสมาชิกวงหิน เหล็ก ไฟได้กลับมารวมตัวอีกครั้งและออกสตูดิโออัลบั้มอีกสองชุด ได้แก่ Never Say Die มีผลงานเพลงดังคือ ศรัทธา ซึ่งวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2548 และชุด Acoustique ซึ่งได้นำเพลงดังของวงมาบันทึกเสียงใหม่ในรูปแบบอะคูสติก

นอกจากนี้แล้วยังมีผลงานการแสดง ในบทสมบทในภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์ร็อกหน้าย่น ในบทของ วู้ดดี้ ดิคาริปโอ มือคีย์บอร์ดประจำวง ในปี พ.ศ. 2546 และ Super แหบ-แสบ-สะบัด ในปี พ.ศ. 2551[4][5] อีกทั้งปฐมพงศ์ยังเคยเปิดสังกัดเพลง เรียลแอนด์ชัวร์ (ค่ายเพลงในเครือ อาร์เอส) ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2549 สังกัดเพลงดังกล่าวก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก จึงตัดสินใจยุบ และในปี พ.ศ. 2558 ได้ค้นหาร็อกเลือดใหม่ Super Rock Project เพื่อร่วมงานกับค่ายเพลง เรียลแอนด์ชัวร์ โดยในวันที่ 1 มิถุนายน ปีเดียวกัน จะเป็นการเปิดรับผลงานเพลงจากศิลปินหน้าใหม่[6]

ชีวิตส่วนตัว แก้

เขาสมรสกับจริยา สมบัติพิบูลย์ โดยมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคน ได้แก่ ฐิติชา สมบัติพิบูลย์ นักร้องในสังกัดกามิกาเซ่[7] และลูกชายชื่อ "จูเนียร์"

ผลงาน แก้

อัลบั้มวง แก้

ผลงานเดี่ยว แก้

อัลบั้มพิเศษ แก้

  • อัลบั้มพิเศษ A Tribute To อิทธิ พลางกูร (กันยายน 2547)
  • อัลบั้มพิเศษ ลูกของพ่อ (26 ตุลาคม 2549)
  • อัลบั้มพิเศษ คิดถึงแม่ เรารักแม่ (1 กรกฏาคม 2549)

คอนเสิร์ต แก้

  • คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก (29 พฤษภาคม 2536)
  • คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก คอนเสิร์ต เหล็กคำราม (13 พฤษภาคม 2538)
  • คอนเสิร์ต ถูกใจคนไทย ใช้สินค้าถูกกฎหมาย (17-18 สิงหาคม 2545)
  • คอนเสิร์ต ทรัพย์สินทางปัญญา (29-30 สิงหาคม 2546)
  • คอนเสิร์ต เก็บตะวัน A Tribute To อิทธิ พลางกูร (30 ตุลาคม 2547)
  • คอนเสิร์ต Trilogy Rock Concert (30 เมษายน 2548)
  • คอนเสิร์ต SMF Meeting Concert : รวมพลคนหิน เหล็ก ไฟ (10 กันยายน 2548)
  • คอนเสิร์ต เราจะเป็นคนดี (2 มีนาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต มนต์เพลงคาราบาว (7 กรกฎาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต xCOOLsive moment Miracle of voice the memories of Joe Pause (15 ธันวาคม 2550)
  • คอนเสิร์ต ฟ้าสีคราม (15 มิถุนายน 2551)
  • คอนเสิร์ต Acoustic Winter Fest ครั้งที่ 3 (6 ธันวาคม 2551)
  • คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 3 (14 มีนาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต วันซ์ อิน อะ ไลฟ์ ไทม์ คอนเสิร์ต โพรดิวซ์ บาย ภูษิต ไล้ทอง (20-21 มีนาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต ร็อก ดาว คอนเสิร์ต (7 กันยายน 2553)
  • คอนเสิร์ต 40 ปี the legend of the guitar (20-21 พฤศจิกายน 2553)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 2 (11 ธันวาคม 2553)
  • คอนเสิร์ต Acoustic Rock (12 มีนาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 4 (19 มีนาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต We Are The One Concert (23 กรกฎาคม 2554)
  • จุดประกาย คอนเสิร์ต ซีรีส์ # 47 หงา & โป่ง Rock For Life (21 ตุลาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า ครั้งที่ 3 (10 ธันวาคม 2554)
  • คอนเสิร์ต Do for Dad (3 มีนาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต Biker & River City ร่วมใจเพื่อสภากาชาดไทย (25 สิงหาคม 2555)
  • คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 6 (16 มีนาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อก ร็อก ลีเจนด์ เหล็ก พันธุ์ เสือ (17 สิงหาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 5 (7 ธันวาคม 2556)
  • คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 7 (2 มีนาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต Rock Talking Life (31 สิงหาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต Rock On The Lake Music Festival 2014 (22 พฤศจิกายน 2557)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 6 (6 ธันวาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต คืนรัง (20 ธันวาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต เส้นทางทรนง (26 ธันวาคม 2557)
  • คอนเสิร์ต Samutprakarn Bike Week (6 มีนาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต The Legends Live Concert ปรากฏการณ์ตำนานดนตรี (30 พฤษภาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต The Sun & Friends (17 ตุลาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต คืนรัง 2 (6 ธันวาคม 2558)
  • คอนเสิร์ต Love & Hurt : Super Rock Ballads (30 เมษายน 2559)
  • คอนเสิร์ต กาชาดคอนเสิร์ต ครั้งที่ 43 (28 - 29 มิถุนายน 2559)
  • คอนเสิร์ต การกุศล Friends for friend ช่วยค่ารักษาพยาบาล อดีตมือกลอง (วง Kaleidoscope) (18 พฤษภาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต Love & Hurt : Super Rock (23 กรกฎาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต The Legend of The Guitar (30 กรกฎาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต ร่างทรงคนเขียนเพลง (15 ตุลาคม 2559)
  • คอนเสิร์ต คือเพื่อน เพื่อหารายได้มอบให้ เต้ย ไฮร็อก (12 มิถุนายน 2560)
  • คอนเสิร์ต ทำให้หมา หาให้แมว (5 กรกฎาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต รวมพี่ รวมน้อง ร่วมร้อง เรามีเรา (10 กรกฎาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต The Legend Music Festival 2017 (11 พฤศจิกายน 2560)
  • คอนเสิร์ต แคมป์ไฟดนตรี มาลีฮวนน่า 8 (10 ธันวาคม 2560)
  • คอนเสิร์ต THE SUN THE LEGENDARY OF ROCK CONCERT (6 เมษายน 2561)
  • คอนเสิร์ต คืนรัง 4 (20 มกราคม 2561)
  • คอนเสิร์ต เพื่อผู้พิทักษ์ป้า (19 มีนาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต Road to Race Concert (14 กรกฎาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต คำภีร์ ไอ้เสือบุก (29 กรกฎาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม แขวงอัตตะปือ สปป.ลาว (8 สิงหาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต รำลึก มงคล อุทก (กันยายน 2561)
  • คอนเสิร์ต IMMORTALS DAY (15 กันยายน 2561)
  • คอนเสิร์ต GSB & TIPlife present LEGEND OF ROCK CONCERT อำพล & บิลลี่ (21 ตุลาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต Khao Lak Music Festival (2 ธันวาคม 2561)
  • คอนเสิร์ต ชีวิตสัมพันธ์ Rock On The Beach (11 มกราคม 2562)
  • คอนเสิร์ต เด็กเทป ครั้งที่ 3 (6 กรกฎาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต The Rock Power Concert ระเบิดพลังร็อก (27 กรกฎาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต รวมใจราชาแห่งร็อค (21 สิงหาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต SDO Charity Concert (22 สิงหาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต Legends Of Love Songs (19 ตุลาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต เพื่อไม่ทิ้งกัน ช่วยเหลือฟี้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยนํ้าท่วมชาวภาดอีสาน (23 ตุลาคม 2562)
  • คอนเสิร์ต Pong Fest (1 กุมภาพันธ์ 2563)
  • คอนเสิร์ต ผาดำ ครั้งที่ 11 (27 มีนาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต Thailand Connection 2020 (16 พฤษภาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต Khaosod Legends Charity (23 พฤษภาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต Boost Up @rayong รวมพลัง อึด ฮึด สู้ (22 สิงหาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต ระริกระรี้ กระดี่ (19 ธันวาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต เพื่อไม่ทิ้งกัน แสดงช่วยเหลือเพื่อนพี่น้องชาวใต้ (22 ธันวาคม 2563)
  • คอนเสิร์ต Khaosod Acoustic Love (13 กุมภาพันธ์ 2564)
  • คอนเสิร์ต JAM FOR LAM (28 กุมภาพันธ์ 2565)
  • คอนเสิร์ต Road For Life (4 มีนาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต RS HITS JOURNEY CONCERT 2023 #ต้นปีถึงทีฮิต (27 พฤษภาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต การกุศล เพื่อเพื่อนศิลปินและนักดนตรี (16 สิงหาคม 2566)
  • คอนเสิร์ต Rockstar Café Glamping Day (12 กุมภาพันธ์ - 24 กันยายน 2566)
  • คอนเสิร์ต เพื่อนมีไว้ทำไม เพื่อหารายได้ช่วยเหลือ เมฆ วินัย ไกรบุตร (26 มีนาคม 2567)
  • คอนเสิร์ต PONG 47 ปี Rock Never Dies (27 เมษายน 2567)
  • คอนเสิร์ต Grammy X RS HIT100 Vol.2 (11-12 พฤษภาคม 2567)

เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้

เพลงประกอบละครและซีรีส์ แก้

ผลงานร่วมร้องรับเชิญ แก้

  • ปืนโต - อัลบั้ม Tourist ตัวฤทธิ์
  • แบ่งกัน - อัลบั้ม Songs From Different Scenes 3
  • ฝาโลง - อัลบั้ม มนต์เพลงคาราบาว
  • เดือด (Dream Starter) - บุดด้า เบลส และมีธนดล ช้างเสวก (ปิ๊ด) ธนชัย ตันตระกูล (ยอด) จาก บอดี้แสลม มาร่วมทำหน้าที่กีตาร์และเบส
  • ยิ่งรัก ยิ่งแย่ - Dezember feat. โป่ง หิน เหล็ก ไฟ
  • เพลง "ศักดิ์ศรีภูเก็ต" เพลงประจำสโมสรฟุตบอลภูเก็ต เอฟซี
  • คนจนรุ่นใหม่ - อัลบั้ม หนึ่งก้าว ๖๐ เพื่อนพ้องร้องเพลงพงษ์เทพ
  • เพลง "I wanna love you" - โป่ง หิน เหล็ก ไฟ และเดอะ ซัน (นำเพลงโลโซ นำมาเรียบเรียงใหม่) (พ.ศ. 2559)
  • เพลง "บอกตัวเอง" - อัลบั้ม บอกตัวเอง วง Room 39 (พ.ศ. 2561)
  • เพลง "เรื่องของหัวใจ" - โปรเจกต์ เพลงเรื่องใหญ่ ค่ายแบตเตอรี่มิวสิก (พ.ศ. 2562)
  • เพลง "ไม่ใช่ความรัก" - LOMOSONIC อัลบั้ม My Hero (พ.ศ. 2562)
  • เพลง "อย่าหยุดยั้ง" - ป๊อต โมเดิร์นด็อก ละคร ทริอาช (พ.ศ. 2565)

เพลงพิเศษ แก้

  • เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว - จัดทำขึ้นเพื่อปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • เพลง ครองแผ่นดินโดยธรรม - จัดทำขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • เพลง สดุดีมหาราชา - จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
  • เพลง แสงสุดท้าย - จังหวะจะเดิน
  • เพลง มองบนฟ้า - จัดทำขึ้นเพื่อจากหัวใจที่เต็มเปี่ยมด้วยรักและศรัทธาในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย

ผลงานภาพยนตร์ แก้

ผลงานโปรดิวเซอร์ แก้

โฆษณา แก้

ธุรกิจ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติอย่างเป็นทางการของหินเหล็กไฟ
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 ตำนานชีวิต ‘โป่ง หินเหล็กไฟ’ อีกหนึ่งร็อกสตาร์ที่เคยอยู่ทั้ง GRAMMY-RS จากโซดา ถึงเดอะซัน
  3. บทสัมภาษณ์จากนิตยสาร RS Fanclub พ.ศ. 2538
  4. ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์
  5. "ประวัติจากเว็บไซต์ของหิน เหล็ก ไฟ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-11. สืบค้นเมื่อ 2012-01-03.
  6. Super Rock Project
  7. หน้า 29 บันเทิง, 'พ่อโป่ง' ย้อนวัยพา 'น้องแองจี้' ตะลุยหิมะเที่ยวสวนสนุกคลายร้อน. "ฟรีไทม์" โดย จ๊ะโอ๋. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,159: วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แรม 10 ค่ำ เดือน 12 ปีมะแม
  8. วิจารย์อัลบั้มใหม่ โมทีฟ (Rock Blood)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้