ปฏิบัติการไม่คาดคิด

ปฏิบัติการไม่คาดคิด (อังกฤษ: Operation Unthinkable) เป็นชื่อรหัสของทั้งสองแผนการที่เกี่ยวข้องกับสงครามที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตโดยคณะเสนาธิการกองทัพบริติชในการต่อต้านสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1945 แผนการนี้ไม่เคยถูกอนุมัติหรือดำเนินการ การสร้างแผนได้รับคำสั่งโดยนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิล ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 และถูกพัฒนาโดยคณะเสนาธิการการวางแผนร่วมของกองทัพสหราชอาณาจักรในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปยุติลง

กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปกลางเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2488

แผนการที่หนึ่งคือให้ทำการแสร้งโจมตีอย่างไม่ทันตั้งตัวต่อกองกำลังโซเวียตที่ประจำการอยู่ในเยอรมนีเพื่อ"กำหนดความต้องการของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก"ต่อโซเวียต "ความต้องการ" คือเงื่อนไขที่ว่า "การแลกเปลี่ยนที่เป็นธรรมสำหรับโปแลนด์" ซึ่งอาจหมายถึงการบังคับใช้ข้อตกลงยัลตาที่เพิ่งลงนามไป นักวางแผนได้ให้ข้อสรุปว่า ถ้าปราศจากความช่วยเหลือจากอเมริกันอย่างมหาศาล บริเตนอาจจะล้มเหลวได้ การประเมินซึ่งถูกลงนามโดยคณะเสนาธิการกองทัพบก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1945 สรุปว่า "มันคงอยู่เหนืออำนาจของพวกเราที่จะชนะอย่างรวดเร็วแต่ประสบผลสำเร็จที่จำกัด และพวกเราจะมุ่งมั่นที่จะทำสงครามที่ยืดเยื้อต่อความได้เปรียบที่หนักหน่วง" รหัสนามนี้ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่แทนแผนที่สอง ซึ่งเป็นแผนการป้องกันที่บริติชจะต้องป้องกันการรุกของโซเวียตเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติกหลังจากที่กองทัพสหรัฐได้ถอนกำลังออกจากทวีปยุโรป แผนนี้ไม่มีส่วนร่วมกับสหรัฐหรือคนอื่น ๆ เลย เมื่อพรรคแรงงานได้ขึ้นสู่อำนาจในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1945 ซึ่งได้เมินเฉยต่อแผนการที่ถูกร่างไว้

การศึกษาได้กลายเป็นแผนการฉุกเฉินสำหรับการทำสงครามกับสหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็นช่วงแรก แผนการทั้งสองได้ถูกเก็บเป็นความลับอย่างมากและไม่ได้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจนถึงปี ค.ศ. 1998 - แม้ว่ากาย เบอร์เกส สายลับชาวบริติชของโซเวียต ได้ส่งรายละเอียดบางส่วนไปแล้วในช่วงเวลานั้น

ปฏิบัติการเชิงรุก แก้

เป้าหมายแรกเป็น การพยามการบีบบังคับให้โซเวียตยอมรับและทำตามสัญญาของสหรัฐฯและจักรวรรดิอังกฤษ ในการข้อตกลงเกี่ยวโปแลนด์และการไม่คุมคามในยุโรปตะวันออกจากการประชุมยัลตา

ในช่วงเวลานั้นคณะเสนาธิการกังวลว่าถึงจำนวนกองทัพโซเวียตที่ในช่วงท้ายสงครามอีกทั้งผู้นำโซเวียตโจเซฟ สตาลินดูเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือสิ่งเหล่านี้ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามต่อยุโรปตะวันตกได้ ในช่วงสหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่นยังอยู่ในสนธิสัญญาไม่รุกรานกันนั้นสมมติฐานหนึ่งรายงานว่าสหภาพโซเวียตอาจจะเป็นพันธมิตรร่วมรบกับญี่ปุ่นในกรณีที่ฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกประกาศสงครามกับสหภาพโซเวียต

ปฏิบัติการเริ่มต้นของการบุกสหภาพโซเวียตของสัมพันธมิตรในยุโรปมีกำหนดการวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นสี่วันก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร[1]ตามแผนการทหารอังกฤษและอเมริกัน กว่า 47 กองพล จากทั้งหมด 100 กองพลของอังกฤษ อเมริกันและแคนาดาที่ประจำการในเวลานั้น จะเจาะแนวรบตรงกลางของกองทัพแดงบริเวณเมืองเดรสเดนและโดยรอบ[1] และศึกนี้จะเป็นการร่วมกันเข้าตีของทหารเยอรมันกว่า 1 แสนนาย ซึ่งได้รับการสนับสนุนอาวุธเป็นที่เรียบร้อย โดยจะเข้าทำการโจมตีที่ตั้งหน่วยทหารโซเวียตทั่วทุกหัวเมืองใหญ่ของเยอรมันร่วมถึงโน้มน้าวให้โปแลนด์ ต่อต้านโซเวียตและเข้ามามีส่วนร่วมด้วย และประสานการโจมตีจากกองทัพโปแลนด์ด้วยเช่นกัน ในปฏิบัติการต้องทำการรุกอย่างรวดเร็วก่อนถึงฤดูหนาวเพราะเมื่อถึงฤดูหนาวจะทำให้สงครามยืดเยื้อจนเกิดความสูญเสียมหาศาล

แผนดังถูกนำเสนอให้กับคณะเสนาธิการของอังกฤษ แต่เนื่องมีกการคาดการณ์ไว้ว่าในวันที่ 1 กรกฎาคมซึ่งคาดว่าจะเกิดความขัดแย้งขึ้นกองกำลังโซเวียตในยุโรปและตะวันออกกลางจะมีอยู่ 2.5 ต่อ 1 ของกองกำลังสัมพันธมิตรเสนาธิการจึงไม่อนุมัติในการจัดกองกำลัง[2]อีกทั้งสหรัฐไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามในยุโรปอีก จนในที่สุด 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ปฏิบัติการถูกยกเลิกไปเนื่องจาก "อันตรายเกินไป"


ปฏิบัติการป้องกัน แก้

เพื่อตอบสนองสั่งของเชอร์ชิลล์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ตามรายงานเขียนว่า "จะต้องทำให้แน่ใจว่าเกาะอังกฤษจะมีการป้องกันพอรับสถานะการณ์กรณีที่เกิดสงครามกับรัสเซียในอนาคตอันใกล้นี้" [3] กองกำลังสหรัฐกำลังย้ายไปอยู่ที่แปซิฟิกเพื่อวางแผนการรุกรานญี่ปุ่นและเชอร์ชิลล์กังวลว่าการลดกำลังสนับสนุนนี้จะทำให้สหภาพโซเวียตใช้ช่วงเวลานี้ในการคุมคามยุโรปตะวันตก รายงานสรุปว่าถ้าสหรัฐอเมริกามุ่งเน้นอยู่กับการยุทธในแปซิฟิก สหราชอาณาจักร มองว่า""นั้นเป็นเรื่องประหลาดใจมาก""[4]

เจ้าหน้าที่วางแผนร่วมปฏิเสธความคิดของเชอร์ริลในการยึดเมืองหัวเขตฝั่งต่างๆทวีปยุโรปเนื่องจากไม่มีประโยชน์ในการปฏิบัติงาน มีการคาดการณ์ว่าอังกฤษจะใช้กองทัพอากาศและกองทัพเรือในการป้องกันและต่อต้านในการรุกรานถึงแม้ว่าจะมีการคาดการณ์อีกว่าอาจจะมีการโจมตีด้วยจรวดจากโซเวียตก็ตาม

ดูเพิ่ม แก้

เจ็ดวันไปแม่น้ำไรน์

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Reynolds, p. 250
  2. Operation Unthinkable p. 22 Retrieved 2 May 2017
  3. Operation Unthinkable..., p. 30 (Annex) ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)
  4. Operation Unthinkable..., p. 24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร 16 พฤศจิกายน 2010)

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Costigliola-336" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "Gibbons-158" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "OpRep-1" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า