ปฏิบัติการดาวน้ำเงิน

ปฏิบัติการดาวน้ำเงิน (อังกฤษ: Operation Blue Star) เป็นรหัสชื่อของการปฏิบัติการทางทหารที่กองทัพอินเดียเริ่มในระหว่างวันที่ 1 และ 8 มิถุนายน 1984 เพื่อกำจัดหัวหน้ากองกำลังซิกข์ติดอาวุธ ชรไนล สิงห์ ภิณฑราณวาเล และสมุนออกจากหมู่อาคารของหริมันทิรสาหิบ (วิหารทอง) ในอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย การตัดสินใจนี้เป็นของนายกรัฐมนตรีอินเดียในขณะนั้น อินทิรา คานธี[10] เหตุการณ์เริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 1982 เมื่อ หรจันท์ สิงห์ โลงโควาล ประธานพรรคการเมืองซิกข์ อกาลีดาล เชิญชวนให้ ภิณฑราณวาเล มาอาศัยในหมู่อาคารหริมันทิรสาหิบเพื่อหลบหลีกการจับกุม[11][12] ต่อมาภิณฑราณวาเลได้ทำให้วิหารอันเป็นที่เคารพของชาวซิกข์ทั่วโลกกลายเป็นคลังแสงและสำนักงานใหญ่สำหรับขบวนการขาลิสถาน[13]

ปฏิบัติการดาวน้ำเงิน
ส่วนหนึ่งของ ความไม่สงบในปัญจาบ

อกาลตัขตะในปัจจุบัน โดยอกาลตัขตะเป็นอาคารที่เสียหายอย่างหนักและพังทลายลงมาจากการโจมตีในปฏิบัติการดาวน้ำเงิน
วันที่1–8 มิถุนายน 1984
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

 อินเดีย

ขบวนการขาลิสถาน
[1][2][3]

สนับสนุนโดย
ปากีสถาน ISI ของปากีสถาน[4][5]
 กองทัพบกปากีสถาน Special Services Group[4]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
พันตรี นายพล กุลทีป สิงห์ บราร์
พลโท นายพล รณชีต สิงห์ ทยาล[6]
พลโท นายพล กฤษณสวามี สุนทรจี
ชรไนล สิงห์ ภิณฑราณวาเล 
อมริก สิงห์ 
ชาเบก สิงห์ 
กำลัง
10,000 กองร้อยติดอาวุธ จากทัพที่ 9
175 พลร่มและ พลปืนใหญ่
700 ชวัน จาก CRPF 4th Battalion และ BSF 7th Battalion
150 ชวัน จาก ตำรวจปัญจาบติดอาวุธ
เจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สน. หริมันทิรสาหิบ[ต้องการอ้างอิง]
ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
83 ราย[7][8]
493 ราย[7] ทั้งกองกำลังขาลิสถานและประชาชนผู้บริสุทธิ์ (ทางการ) ถึงแม้การประมาณการบางสำนักอาจจะตั้งไว้ที่สูงกว่านี้มาก[9]

หน่วยข่าวกรองอินเดียได้รายงานว่าหัวหน้าหลักสามคน คือ ชาเบก สิงห์, พาลพิเยร์ สิงห์ (Balbier Singh) และ อมริก สิงห์ ได้เดินทางไปปากีสถานถึง 6 ครั้งในรอบระหว่างปี 1981 และ 1983[4] นอกจากนี้ยังระบุว่ามีการจัดการฝึกซ้อมอาวุธในคุรุทวาราต่าง ๆ ในรัฐชัมมูและกัศมีร์ และรัฐหิมาจัลประเทศ และมีรายงานว่าหน่วยข่าวกรองโซเวียต KGB ได้ให้ความร่วมมือกับแผนการในปัญจาบ แทนที่จะร่วมมือกับหน่วยงานสำนักข่าวกรอง RAW ของอินเดีย, CIA ของสหรัฐ และ ISI ต่อมา RAW ได้รับข้อมูลว่า กลุ่มบริการพิเศษ ที่ได้รับการฝึกแล้วกว่าพันคนจากหน่วยคอมมานโดของกองทัพปากีสถานได้รับคำสั่งให้เดินทางเข้ามายังปัญจาบของอินเดีย เพื่อช่วยเหลือภิณฑราณวาเลในการต่อสู้กับรัฐบาลอินเดีย

ในวันที่ 1 มิถุนายน 1984 หลังการต่อรองกับกองกำลังขาลิสถานล้มเหลว อินทิรา คานธีจึงตัดสินใจออกคำสั่งให้ปฏิบัติการดาวน้ำเงิน[14] กองพลจากหลายกองทัพและภาคส่วนเดินทางเข้ามาล้อมหมู่อาคารวิหารทองในวันที่ 3 มิถุนายน 1984 กองทัพมีการใช้โทรโข่งเพื่อเจรจาให้กองกำลังขาลิสถานยอมจำนน และยังได้ร้องขอให้กองกำลังปล่อยศาสนิกชนบริสุทธิ์ผู้มาแสวงบุญในวิหารที่ถูกกักไว้ภายในออกมาก่อนที่จะทำการปะทะ อย่างไรก็ตามไม่มีการยอมจำนนหรือปล่อยประชาชนผู้บริสุทธิ์ออกมาจากวิหารจนกระทั่งวันที่ 5 มิถุนายน เวลา 1 ทุ่มตรง[15] การต่อสู้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน โดยมีการต่อสู้กันประปราย (skirmishes) และดำเนินไปเป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดลงในวันที่ 8 มิถุนายน ตามด้วยปฏิบัติการกวาดล้างที่ตามมาทั่วทั้งปัญจาบภายใต้ชื่อปฏิบัติการวู้ดโรส[4]

กองทัพอินเดียประมาณการกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองกำลังขาลิสถานต่ำเกินไป การยิงต่อสู้เกิดขึ้นอย่างหนักที่อกาลตัขตะ หนึ่งในหมู่อาคารของวิหารทอง อาคารนี้ใช้เป็นที่มั่นของกองกำลังขาลิสถาน การยิงต่อสู้เกิดขึ้นยาวนาน 24 ชั่วโมง กองทัพอินเดียจึงสามารถเข้ายึดอาคารอกาลตัขต์ และหมู่อาคารของวิหารทองทั้งหมดได้ เป็นผลให้มีกองทัพอินเดียเสียชีวิต 83 ราย และบาดเจ็บ 249 ราย[16] ตามการประมาณการของทางการ ระบุว่ากองกำลังขาลิสถานถูกจับกุมทั้งหมด 1,592 ราย และมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งกองกำลังขาลิสถานและศาสนิกชนผู้บริสุทธิ์ที่มาแสวงบุญรวม 493 ราย[7] ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ที่เป็นศาสนิกชนผู้บริสุทธิ์นั้นเกิดจากที่กองกำลังขาลิสถานใช้ผู้แสวงบุญที่ถูกกักไว้ภายในวิหารเป็นโล่มนุษย์[17]

การลงมือของกองทัพอินเดียในศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวซิกข์นี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยศาสนิกชนซิกข์ทั่วโลก ผู้ตีความการกระทำนี้ว่าเป็นการโจมตีศาสนาซิกข์ (an assault on the Sikh religion)[18] เจ้าหน้าที่ทหารชาวซิกข์หลายคนในกองทัพลาออกจากหน่วย[19] ชาวซิกข์หลายคนลาออกจากราชการ บางส่วนคืนรางวัลที่ได้รับจากรัฐบาลอินเดีย เหตุการณ์นี้เป็นชนวนให้เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 1984 (5 เดือนนับจากเหตุการณ์) อินทิรา คานธี ถูกลอบสังหารโดยองครักษ์ชาวซิกข์ประจำตัวเธอทั้งสองคน สัตวันต์ สิงห์ และ เพอันต์ สิงห์ เพื่อเป็นการแก้แค้นต่อเหตุการณ์นี้[12] การเสียชีวิตของอินทิรา คานธี นำไปสู่การประท้วงสาธารณะ ซึ่งส่งผลให้เกิดการฆาตกรรมศาสนิกชนซิกข์ทั่วประเทศรวมมากกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ ตามมาจากจลาจลต่อต้านชาวซิกข์ 1984[20]

อ้างอิง แก้

  1. Brar, K.S. (July 1993). Operation Blue Star: the true story. UBS Publishers' Distributors. pp. 56–57. ISBN 978-81-85944-29-6.
  2. Dogra, Cander Suta. "Operation Blue Star – the Untold Story". The Hindu, 10 June 2013. Web.
  3. Cynthia Keppley Mahmood (2011). Fighting for Faith and Nation: Dialogues with Sikh Defenders. University of Pennsylvania Press. pp. Title, 91, 21, 200, 77, 19. ISBN 978-0-8122-0017-1. Retrieved 9 August 2013
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kiessling
  5. Martin 2013, p. 190.
  6. "Temple Raid: Army's Order was Restraint". The New York Times. 15 มิถุนายน 1984. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2012. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2012.
  7. 7.0 7.1 7.2 White Paper on the Punjab Agitation. Shiromani Akali Dal and Government of India. 1984. p. 169.
  8. "The Official Home Page of the Indian Army". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2017.
  9. "What happened during 1984 Operation Blue Star?". India Today. สืบค้นเมื่อ 12 September 2019. Official reports put the number of deaths among the Indian army at 83 and the number of civilian deaths at 492, though independent estimates ran much higher.
  10. Swami, Praveen (16 January 2014). "RAW chief consulted MI6 in build-up to Operation Bluestar". The Hindu. Chennai, India. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 January 2014. สืบค้นเมื่อ 31 January 2014.
  11. Khushwant Singh, A History of the Sikhs, Volume II: 1839–2004, New Delhi, Oxford University Press, 2004, p. 332.
  12. 12.0 12.1 "Operation Blue Star: India's first tryst with militant extremism – Latest News & Updates at Daily News & Analysis". Dnaindia.com. 5 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2017. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  13. "Sikh Leader in Punjab Accord Assassinated". LA Times. Times Wire Services. 21 August 1985. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2016. สืบค้นเมื่อ 14 June 2018.
  14. Wolpert, Stanley A., บ.ก. (2009). "India". Encyclopædia Britannica.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rediff_interview_limit
  16. "Army reveals startling facts on Bluestar". Tribune India. 30 May 1984. สืบค้นเมื่อ 9 August 2009.
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Kiss_Khalistan
  18. Westerlund, David (1996). Questioning The Secular State: The Worldwide Resurgence of Religion in Politics. C. Hurst & Co. p. 1276. ISBN 978-1-85065-241-0.
  19. Sandhu, Kanwar (15 May 1990). "Sikh Army deserters are paying the price for their action". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 June 2018. สืบค้นเมื่อ 19 June 2018.
  20. Singh, Pritam (2008). Federalism, Nationalism and Development: India and the Punjab Economy. Routledge. p. 45. ISBN 978-0-415-45666-1.