ปฏิบัติการคอนดอร์

ปฏิบัติการคอนดอร์ (อังกฤษ: Operation Condor; สเปน: Operación Cóndor; โปรตุเกส: Operação Condor) หรือ แผนคอนดอร์ (สเปน: Plan Cóndor) เป็นการรณรงค์ด้วยการกดขี่ทางการเมืองและการก่อการร้ายของรัฐที่สหรัฐหนุนหลัง[9] ซึ่งเกี่ยวโยงกับการดำเนินงานด้านข่าวกรองและการลอบสังหารฝ่ายตรงข้าม ได้รับการนำมาใช้อย่างเป็นทางการและอย่างสมบูรณ์แบบในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2518 โดยระบอบเผด็จการฝ่ายขวาในภูมิภาคกรวยใต้ของอเมริกาใต้[10]

ปฏิบัติการคอนดอร์
ส่วนหนึ่งของ สงครามเย็น
เขียว: สมาชิกหลักซึ่งร่วมกิจกรรมอย่างแข็งขัน (ชิลี บราซิล โบลิเวีย ปารากวัย อาร์เจนตินา และอุรุกวัย)
เขียวอ่อน: สมาชิกที่มีความเคลื่อนไหวน้อย
(โคลอมเบีย เปรู และเวเนซุเอลา)
น้ำเงิน: ผู้ให้ความร่วมมือและสนับสนุนด้านการเงิน (สหรัฐ)
ชนิดปฏิบัติการลับทางทหาร
ตำแหน่งทวีปอเมริกาใต้
โดย ชิลี
บราซิล
โบลิเวีย
ปารากวัย
เปรู (ในขอบเขตน้อยกว่า)
อาร์เจนตินา
อุรุกวัย
สนับสนุนโดย:
 สหรัฐ[1][2][3]
 ฝรั่งเศส (ถูกกล่าวหา)
ผู้บังคับบัญชาชิลี เอากุสโต ปิโนเช
บราซิล ฌูเวา ฟีเกย์เรดู
บราซิล อาร์ตูร์ ดา กอสตา อี ซิลวา
บราซิล เอมีลียู การัสตาซู แมจีซี
บราซิล เอร์แนสตู ไกเซล
โบลิเวีย อูโก บันเซร์
ปารากวัย อัลเฟรโด เอสโตรสเนร์
เปรู ฟรันซิสโก โมราเลส เบร์มูเดซ
อาร์เจนตินา ฆอร์เฆ ราฟาเอล บิเดลา
อุรุกวัย เกรโกริโอ กอนราโด อัลบาเรซ
อุรุกวัย ฆวน มาริอา บอร์ดาเบร์ริ
อุรุกวัย อาปาริซิโอ เมนเดซ
สนับสนุนโดย:
สหรัฐ เฮนรี คิสซินเจอร์[4][5][6]
เป้าหมายผู้สนับสนุนฝ่ายซ้าย (รวมผู้สนับสนุนลัทธิเปรอน, ลัทธิคอมมิวนิสต์ และสังคมนิยม) และฝ่ายตรงข้ามคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองและรัฐบาลฝ่ายขวาในอเมริกาใต้
วันที่พ.ศ. 2511–2532
ผู้ลงมือฝ่ายข่าวกรองของประเทศที่เข้าร่วม
ผลลัพธ์สิ้นสุดหลังการทลายกำแพงเบอร์ลิน
ผู้สูญเสียผู้ต้องสงสัยว่าสนับสนุนฝ่ายซ้าย 60,000–80,000 คนถูกสังหาร[7]
400–500 คนถูกสังหารในปฏิบัติการข้ามพรมแดน[7]
นักโทษการเมืองมากกว่า 400,000 คน[8]

แผนการนี้ (ซึ่งมีจุดมุ่งหมายแต่เพียงในนามเพื่อขจัดอิทธิพลและแนวคิดคอมมิวนิสต์หรือโซเวียต) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อปราบปรามขบวนการต่อต้านนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ของรัฐบาลที่เข้าร่วมแผนการซึ่งพยายามเดินสวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจของยุคก่อนหน้า[11][12]

เนื่องด้วยลักษณะซ่อนเร้นของปฏิบัติการคอนดอร์ ตัวเลขที่แน่นอนของผู้เสียชีวิตที่เป็นผลโดยตรงจากปฏิบัติการจึงเป็นที่โต้แย้งอย่างมาก แหล่งข้อมูลบางแหล่งประเมินว่าอาจมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 60,000 คนจากปฏิบัติการ ประมาณ 30,000 คนในจำนวนนั้นอยู่ในอาร์เจนตินา;[13][14] เอกสารชุดที่เรียกว่า "จดหมายเหตุแห่งความน่าสะพรึงกลัว" ระบุว่ามีผู้ถูกสังหาร 50,000 คน ผู้สูญหาย 30,000 คน และผู้ถูกจำคุก 400,000 คน;[15][16] เจ. แพทริซ มักเชร์รี นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ระบุในบทความเรื่องหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 2545 ว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 402 คนจากปฏิบัติการต่าง ๆ ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ[9] และกล่าวในบทความอีกเรื่องเมื่อ พ.ศ. 2552 ว่าผู้ที่ "ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศแล้ว" และ "ถูกลักพาตัว ทรมาน และสังหารในประเทศพันธมิตร หรือถูกส่งตัวกลับประเทศบ้านเกิดอย่างผิดกฎหมายเพื่อจะถูกประหารชีวิต ... บุคคลเหล่านั้นหลายร้อยคน หรือหลายพันคน —ตัวเลขสุดท้ายยังไม่ได้รับการสรุปแน่นอน— ถูกลักพาตัว ทรมาน และสังหารในปฏิบัติการคอนดอร์"[1] เหยื่อของปฏิบัติการรวมถึงผู้คัดค้านรัฐบาลและผู้นิยมฝ่ายซ้าย ผู้นำสหภาพและผู้นำชาวไร่ชาวนา นักบวชและแม่ชี นักศึกษาและครูอาจารย์ ปัญญาชนและผู้ต้องสงสัยว่าเป็นนักรบกองโจร[9] แม้สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) จะบรรยายปฏิบัติการนี้ว่าเป็น "ความพยายามร่วมกันระหว่างฝ่ายข่าวกรอง/ฝ่ายรักษาความมั่นคงของหลายประเทศในอเมริกาใต้เพื่อต่อสู้กับการก่อการร้ายและการบ่อนทำลาย"[17] แต่คำ นักรบกองโจร ก็ถูกใช้เป็นเพียงข้ออ้าง เนื่องจากบุคคลเหล่านั้นไม่เคยมีจำนวนมากหรือแข็งแกร่งพอที่จะควบคุมพื้นที่ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมจากมหาอำนาจต่างชาติ หรือคุกคามความมั่นคงของชาติ[18][19][20] สมาชิกสำคัญของปฏิบัติการคอนดอร์ได้แก่รัฐบาลต่าง ๆ ในชิลี, บราซิล, โบลิเวีย, ปารากวัย, อาร์เจนตินา และอุรุกวัย ส่วนเปรูและเอกวาดอร์ได้เข้าร่วมปฏิบัติการภายหลังโดยมีบทบาทไม่มากนัก[21][22]

รัฐบาลสหรัฐสมัยประธานาธิบดีจอห์นสัน, นิกสัน, ฟอร์ด, คาร์เตอร์ และเรแกน[2] คอยอำนวยความสะดวกในการวางแผน การประสานงาน การฝึกอบรมการทรมาน[23] การสนับสนุนทางเทคนิค และให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่บรรดาผู้ยึดอำนาจการปกครองของประเทศที่เข้าร่วมปฏิบัติการ ความช่วยเหลือดังกล่าวมักถูกส่งผ่านสำนักข่าวกรองกลาง

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 McSherry, J. Patrice (2009). "Chapter 5: "Industrial repression" and Operation Condor in Latin America". ใน Esparza, Marcia; Huttenbach, Henry R.; Feierstein, Daniel (บ.ก.). State Violence and Genocide in Latin America: The Cold War Years (Critical Terrorism Studies). Routledge. pp. 107, 111. ISBN 978-0415664578.
  2. 2.0 2.1 Greg Grandin (2011). The Last Colonial Massacre: Latin America in the Cold War. University of Chicago Press. p. 75. ISBN 9780226306902.
  3. Walter L. Hixson (2009). The Myth of American Diplomacy: National Identity and U.S. Foreign Policy. Yale University Press. p. 223. ISBN 0300151314.
  4. Maxwell, Kenneth (2004). "The Case of the Missing Letter in Foreign Affairs: Kissinger, Pinochet and Operation Condor" (ภาษาอังกฤษ). David Rockefeller Center for Latin American Studies (DRCLAS), Harvard University.
  5. Dalenogare Neto, Waldemar (2020-03-30). "Os Estados Unidos e a Operação Condor". {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. McSherry, J. Patrice (1999). "Operation Condor: Clandestine Inter-American System". Social Justice. 26 (4 (78)): 144–174. ISSN 1043-1578. JSTOR 29767180.
  7. 7.0 7.1 Bevins, Vincent (2020). The Jakarta Method: Washington's Anticommunist Crusade and the Mass Murder Program that Shaped Our World. PublicAffairs. pp. 266–267. ISBN 978-1541742406.
  8. "Chile". Center for Justice and Accountability. สืบค้นเมื่อ 18 February 2018.
  9. 9.0 9.1 9.2 J. Patrice McSherry (2002). "Tracking the Origins of a State Terror Network: Operation Condor". Latin American Perspectives. 29 (1): 36–60. doi:10.1177/0094582X0202900103.
  10. editor, Arturo Conde Arturo Conde is an; Coruña, a bilingual freelance journalist He writes for La Opinión A.; Fusion, has been published in; Univision; Limits, City. "New movie explores global complicity in Argentina's 'dirty war'" (ภาษาอังกฤษ). NBC News. สืบค้นเมื่อ 2021-10-06. {{cite web}}: |last1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  11. Klein, Naomi (2007). The Shock Doctrine. New York: Picador. p. 126. ISBN 978-0-312-42799-3.
  12. Blakeley, Ruth (2009). State Terrorism and Neoliberalism: The North in the South. Routledge. p. 22 & 23. ISBN 978-0415686174.
  13. Victor Flores Olea [es] (10 เมษายน 2006). "Editoriales – Operacion Condor". El Universal (ภาษาสเปน). Mexico. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2009.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Larry Rohter (January 24, 2014). Exposing the Legacy of Operation Condor. The New York Times. Retrieved August 26, 2015.
  15. 1992: Archives of Terror Discovered. National Geographic. Retrieved August 26, 2015.
  16. "Background on Chile". Center for Justice and Accountability. สืบค้นเมื่อ February 18, 2018.
  17. "A Brief Look at "Operation Condor"" (PDF). nsarchive2.gwu.edu. 1978-08-22.
  18. McSherry, J. Patrice (2012-07-10). Predatory States: Operation Condor and Covert War in Latin America (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield Publishers. pp. 1–4. ISBN 9780742568709.
  19. "El Estado de necesidad"; Documents of the Trial of the Juntas at Desaparecidos.org.
  20. "Argentina's Dirty War – Alicia Patterson Foundation". aliciapatterson.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 January 2017. สืบค้นเมื่อ 16 March 2017.
  21. Stanley, Ruth (2006). "Predatory States. Operation Condor and Covert War in Latin America/When States Kill. Latin America, the U.S., and Technologies of Terror". Journal of Third World Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-16. สืบค้นเมื่อ 24 October 2007.
  22. McSherry, J. Patrice (2011). "Chapter 5: "Industrial repression" and Operation Condor in Latin America". ใน Esparza, Marcia; Henry R. Huttenbach; Daniel Feierstein (บ.ก.). State Violence and Genocide in Latin America: The Cold War Years (Critical Terrorism Studies). Routledge. p. 108. ISBN 978-0415664578.
  23. McSherry, Patrice (2005). Predatory States: Operation Condor and Covert War in Latin America. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield Publishers. p. 78. ISBN 978-0742536876.