บ็อบบี้ ฟาร์เรล

โรเบอร์โต อัลฟองโซ ฟาร์เรล (อังกฤษ: Roberto Alfonso Farrell) หรือ​ บ็อบบี​ ฟาร์เรล​ (6 ตุลาคม ค.ศ. 1949 - 30 ธันวาคม ค.ศ. 2010) เป็นนักร้อง​และนักเต้นชาวดัตช์​ และอดีตสมาชิกของวงบอนนี เอ็ม. วงดนตรีแนวป็อป​-ดิสโก้ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุค 70[2]

บ็อบบี้ ฟาร์เรล
บ็อบบี้ ฟาร์เรล กับวง บอนนี เอ็ม. ในปี 2006
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดโรเบอร์โต​ อัลฟองโซ ฟาร์เรล[1]
เกิด6 ตุลาคม ค.ศ. 1949(1949-10-06)
ซาน​ นิโคลัส, อารูบา
เสียชีวิต30 ธันวาคม ค.ศ. 2010(2010-12-30) (61 ปี)
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, ประเทศรัสเซีย
แนวเพลงดิสโก, อาร์แอนด์บี, เร็กเก
อาชีพDancer, entertainer
ช่วงปี1975–2010
ค่ายเพลงฮันซา เรคคอร์ดส์, โซนี บีเอ็มจี

ประวัติ แก้

ฟาร์เรล เกิดที่เกาะอารูบา​ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส โดยหลังจากเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาเมื่ออายุ​ 15 ปี​ เขาได้ทำงานเป็นกะลาสีเรือ​ 2​ ปี​ ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ประเทศนอร์เวย์ หลังจากนั้นเขาย้ายที่อยู่อีกครั้งโดยครั้งนี้เขาย้ายไปยังประเทศเนเธอแลนด์ โดยได้เริ่มทำงานชั่วคราวเป็นดีเจ​ จากนั้นเขาได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศเยอรมัน เพื่อมองหาโอกาสในหน้าที่การงานที่ดีขึ้น

บอนนี เอ็ม. แก้

ที่เยอรมัน​ ฟาร์เรลได้ทำงานประจำเป็นดีเจ​ จนกระทั่งได้พบกับแฟรงค์ ฟาเรียน โปรดิวเซอร์และนักแต่งเพลง​ชาวเยอรมัน​ ที่กำลังสร้างวงบอนนี เอ็ม.​ และกำลังหาตัวสมาชิกที่เป็นผู้ชาย​ โดยแฟรงก์​ ฟาเรียน​ ได้ให้ความสนใจในตัวบ็อบบี​ ฟาร์เรล และชักชวนฟาร์เรล เข้าวง ในปี ค.ศ.1976

อย่างไรก็ตามบทบาทของบ็อบบี ฟาร์เรล​ ก็คือนักเต้นในวง ส่วนเสียงร้องที่ฟาร์เรลร้องลิปซิงค์บนเวทีนั้น​ ​ในเวลาต่อมา​ แฟรงค์ ฟาเรียน ที่ทำหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ได้เปิดเผยว่า เสียงร้องผู้ชายในเพลงของบอนนี​ เอ็ม.​ ตัวเขาที่เป็นโปรดิวเซอร์เป็นคนร้องเอง​ นอกจากนี้ลิซ มิตเชลล์​ สมาชิกหญิงของวงได้เปิดเผยว่าคนที่ทำหน้าที่ร้องเพลงและบันทึกเสียงส่วนใหญ่ในสตูดิโอ​ มีเพียงเธอและมาร์เซีย บาร์เร็ตต์​ สมาชิกอีกคนหนึ่งที่ร้องนำในเสียงผู้หญิง​ ส่วนเสียงร้องผู้ชายร้องและบันทึกเสียงโดยโปรดิวเซอร์และผู้แต่งเพลงของวงอย่างแฟรงค์​ ฟาเรียน[3]

บ็อบบี ฟาร์เรล​ ถูกแฟรงค์​ ฟาเรียน​ ไล่ออกจากวงในปี​ ค.ศ. 1981 หลังจากที่วงออกอัลบั้มชุด Boonononoos ซึ่งสตูดิโออัลบั้มลำดับที่​ 5 เนื่องจากมีปัญหาความขัดแย้งกัน โดยบ็อบบี้ต้องการมีบทบาทในวงมากกว่าที่เป็นอยู่ และตำแหน่งของเขาถูกแทนที่ด้วยเรกจี​ ซิโบ​ นักแสดงภาพยนตร์ชาวกานา​ โดยภายหลังจากที่ถูกไล่ออก เขาพยายามเป็นศิลปินเดี่ยวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ในปี1984 แฟรงค์ให้บ็อบบี้กลับมาเข้าวงอีกครั้ง เพื่อดึงความสนใจให้กลับมาสู่Boney M เช่นเดิม กับเพลง "Happy Song" ที่บ็อบบี้ได้ร้องท่อนแร็ปในช่วงแยกของเพลง และอยู่กับBoney M จนถึงปี1985 ที่เป็นปีสุดท้ายของวงกับชุด "Eye Dance"

หลังจากนั้นในปี 1991 บ็อบบี้ก็ได้ฟอร์มวง Boney M Featuring Bobby Farrell ขึ้นมา เพื่อออกทัวร์ตามคอนเสิร์ตต่างๆจนถึงปัจจุบัน โดยเขาเองยอมรับว่า ทำเพื่อหารายได้ เพราะหลังจากBoney M ยุบไป เขามีปัญหาเรื่องการเงินและความเป็นอยู่อย่างมาก โดยสาเหตุหลักมาจากการที่แฟรงค์ ฟาเรี่ยน ไม่ยอมให้ค่าRoyalty กับเขา เพราะเห็นว่าเขาไม่ได้มีส่วนร่วมในการบันทึกเสียงใดๆ (ซึ่ง เมซี่ย์ วิลเลี่ยมส์เองก็เจอปัญหานี้เช่นกัน)

ชีวิตส่วนตัวและการเสียชีวิต แก้

ในปี​ ค.ศ.​ 1981 ฟาร์เรล ได้สมรสกับแจสมิน ชาบาน​ ซึ่งเป็นหญิงชาวมาซิโดเนีย-โรมานี[4]​ โดยมีบุตรสาวคนแรกชื่อซานิลยา ฟาร์เรล​ ในปี​ ค.ศ.1983 และมีบุตรชายชื่อซานิน ฟาร์เรล​ ก่อนที่ต่อมาทั้งคู่จะหย่ากันในปี​ ค.ศ.​ 1995

บ็อบบี​ ฟาร์เรล​ เสียชีวิตในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่​ 30​ ธันวาคม​ ค.ศ.​ 2010 ที่โรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กประเทศรัสเซีย ในขณะที่มีอายุ​ 61 ปี ​สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากภาวะหัวใจวาย[5] ​โดยก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิตเขาได้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตร่วมกับวงของเขาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในวันพุธ[6][7]โดยหลังจากจบคอนเสิร์ตในช่วงค่ำเขาได้กล่าวกับเอเยนต์ส่วนตัวว่ารู้สึกไม่ค่อยสบาย​และหายใจไม่ค่อยออก​ จนกระทั่งถูกพนักงานของโรงแรมพบเป็นศพในช่วงเช้า​

หลังจากที่เขาเสียชีวิตร่างของเขาถูกฝังอยู่ในสุสาน​ Zorgvlied ในกรุงอัมสเตอร์ดัมประเทศเนเธอร์แลนด์​ โดยซานิลยา ฟาร์เรล​ บุตรสาวของเขาเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดรายการ​ Grand Prize of the Netherlands ค.ศ.​ 2011 ประเภทดนตรีฮิปฮอป

ผลงานเดี่ยวของบ็อบบี้ ฟาร์เรล แก้

ซิงเกิล

  • 1982: Polizei / A Fool In Love
  • 1985: King OF Dancing / I See You
  • 1987: Hoppa Hoppa / Hoppa Hoppa (Instrumental)
  • 1991: Tribute To Josephine Baker
  • 2004: Aruban Style (Mixes) S-Cream Featuring Bobby Farrell
  • 2006: The Bump EP
  • 2009: Bamboo Song

อัลบั้มเดี่ยว

  • 1982: "Unreleased Album" (ทำกับวง Eruption แต่ไม่ได้ถูกวางขาย เพราะซิงเกิลที่วางขายเพื่อลองตลาดคือ Polizei / A Fool In Love ไม่ประสบความสำเร็จ

Bobby Farrell's Boney M. / Boney M. Featuring Bobby Farrell / Bobby Farrell Featuring Sandy Chambers

  • 2000: The Best Of Boney M. (DVMore)
  • 2001: Boney M. - I Successi (DVMore)
  • 2001: The Best Of Boney M. (II) (compilation)
  • 2001: The Best Of Boney M. (III) (compilation)
  • 2005: Boney M. - Remix 2005 (featuring Sandy Chambers) (compilation) (Crisler)
  • 2007: Boney M. - Disco Collection (compilation)

นี่คืออัลบั้มที่บ็อบบี้ ฟาร์เรลบันทึกเพลงของBoney M ขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่อัลบั้มต้นฉบับของ Boney M.

อ้างอิง แก้

  1. Albums by Bobby Farrell - Rate Your Music
  2. Wainwright, Martin (30 December 2010). "Boney M singer Bobby Farrell dies at 61". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  3. "Whatever happened to Boney M?". BBC News. 29 January 2002. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  4. Macedonian wedding of the decade RTV Revija, August 1981, in Serbian
  5. "Farrell overleed door hartfalen". De Telegraaf. 31 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-07. สืบค้นเมื่อ 1 January 2011.
  6. "Bobby Farrell (61) overleden". NU.nl. 30 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  7. "Boney M's Bobby Farrell has died, aged 61". RTÉ. 30 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2011. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้