บูจินกัน (ญี่ปุ่น: 武神館โรมาจิBujinkan) เป็นองค์กรศิลปะการต่อสู้นานาชาติ[1] ตั้งอยู่ที่เมืองโนะดะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีมาซาอากิ ฮัตสึมิ (Masaaki Hatsumi) เป็นผู้ก่อตั้ง

โรงฝึกบูจินกันเป็นโรงฝึกศิลปะการต่อสู้โบราณของญี่ปุ่น มีวิชารวมไว้ทั้งหมด 9 วิชาเรียกชื่อรวม ๆ ว่า บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ (ญี่ปุ่น: 武神館武道体術โรมาจิBujinkan Budō Taijutsu)[2]

ชื่อของโรงฝึก แก้

มะซะอะกิ ฮะสึมิ ตั้งชื่อโรงฝึกบูจินกันเพื่อเป็นเกียรติให้แก่ โทะชิสึงุ ทะกะมะสึ (Toshitsugu Takamatsu)[3] อาจารย์ผู้สอนวิชาของท่านเอง แปลเป็นไทยว่า “โรงฝึกนักรบเทพ”[4]

วิชาของบูจินกัน แก้

บูจินกันรู้จักกันดีจากวิชานินจา หรือนินจุสึ แต่เดิมในชื่อ “Togakure Ryū Ninjutsu” (ญี่ปุ่น: 戸隠流忍術) แต่วิชาของโรงฝึกบูจินกันไม่ได้มีเพียงวิชานินจาอย่างเดียว มีวิชาของนินจุตสึ 3 วิชา และวิชาต่อสู้ของซามูไรอีก 6 วิชา[5] จึงได้เปลี่ยนชื่อมาใช้เป็น บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ และใช้มามาจนถึงปัจจุบัน[6]

บูจินกัน บูโด ไทจุสสึ ประกอบไปด้วยวิชา 9 สายวิชาที่ มะซะอะกิ ฮะสึมิ สืบทอด คือ[7]

บูจินกันในประเทศไทย แก้

เอก โอสถหงษ์ นำบูจินกันเข้ามาในประเทศไทยเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2542 ตอนนั้นใช้ชื่อกลุ่มฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand Training Group) และได้รับการรับรองจาก ดัก วิลสัน (Doug Wilson) ตำแหน่งชิโดชิ (Shidoshi) หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้ปิดตัวลงไปในปี พ.ศ. 2546 หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2548 เอก โอสถหงษ์ ได้รับตำแหน่งชิโดชิ เดินทางกลับมาจากประเทศญี่ปุ่น ได้นำการฝึกเข้ามาอีกครั้งโดยเปิดใหม่เป็นโรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย (Bujinkan Thailand Dojo)[8] และในปัจจุบันก็ได้มีผู้ที่ได้รับตำแหน่งชิโดชิทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเปิดสอนอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ในประเทศไทย

อ้างอิง แก้

  1. "Bujinkan Dojo - Soke Masaaki Hatsumi". bujinkan.com.
  2. Phelan, Stephen. Lethal weapon: Hanging with the world's last living ninja. http://travel.cnn.com. 2011-10-12
  3. ประวัติอาจารย์มาซึอะกิ ฮะซึมิ. http://bujinkan-thailand.com/intro.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. อะไรคือ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ. http://www.bujinkan-thailand.com/intro.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Hatsumi, Masaaki. Unarmed Fighting Techniques of the Samurai. Kodansha USA. 2013. ISBN 978-1568365329
  6. อะไรคือ บูจินกัน บูโด ไทจุสสุ. http://bujinkan-thailand.com/chidlom/bujinkan/[ลิงก์เสีย]
  7. Hatsumi, Masaaki. Ninjutsu: History and Tradition. Unique Publications. 1981. ISBN 978-0865680272
  8. ประวัติโรงฝึกบูจินกัน ประเทศไทย. http://www.bujinkan-thailand.com/thailand.htm

แหล่งข้อมูลอื่น แก้