บาร์เกิน (นอร์เวย์: Bergen, ออกเสียง: [ˈbærɡn̩] ( ฟังเสียง)) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของนอร์เวย์ มีประชากร 329,600 (18 เมษายน 2567)[3] เขตมหานครบาร์เกินตามนิยามโดย Statistics Norway มีประชากร 476,300 (18 เมษายน 2567)[4]

บาร์เกิน
นคร
ธงของบาร์เกิน
ธง
ตราราชการของบาร์เกิน
ตราอาร์ม
บาร์เกินตั้งอยู่ในนอร์เวย์
บาร์เกิน
บาร์เกิน
ที่ตั้งของบาร์เกินในนอร์เวย์
บาร์เกินตั้งอยู่ในเว็สต์ลัน
บาร์เกิน
บาร์เกิน
บาร์เกิน (เว็สต์ลัน)
บาร์เกินตั้งอยู่ในยุโรป
บาร์เกิน
บาร์เกิน
บาร์เกิน (ยุโรป)
พิกัด: 60°23′22″N 5°19′48″E / 60.38944°N 5.33000°E / 60.38944; 5.33000
ประเทศนอร์เวย์
ภาคตะวันตก
เทศมณฑลเว็สต์ลัน
อำเภอMidhordland
สถาปนาก่อน ค.ศ. 1070
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีTrude Drevland (H)
 • ผู้ว่าการRagnhild Stolt-Nielsen (H)
พื้นที่
 • นคร464.71 ตร.กม. (179.43 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน444.99 ตร.กม. (171.81 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ19.72 ตร.กม. (7.61 ตร.ไมล์)  4.2%
 • เขตเมือง94.03 ตร.กม. (36.31 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,755 ตร.กม. (1,064 ตร.ไมล์)
ความสูงจุดสูงสุด987 เมตร (3,238 ฟุต)
ความสูงจุดต่ำสุด0 เมตร (0 ฟุต)
ประชากร
 • นครเพิ่มขึ้น 283,929 (2019) คน
เดมะนิมBergenser/Bergensar
ชาติพันธุ์[1]
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์5003–5098
รหัสพื้นที่(+47) 5556
เว็บไซต์www.bergen.kommune.no
ประเทศนอร์เวย์
มณฑลเว็สต์ลัน
เขตMidhordland
ก่อตั้ง1 มกราคม 1838
ศูนย์กลางการบริหารบาร์เกิน
รหัส ISO 3166NO-4601
Official language formNeutral[2]

บาร์เกินตั้งอยู่ในและเป็นศูนย์การปกครองของเทศมณฑลเว็สต์ลัน บนชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของนอร์เวย์ เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของภูมิภาค โดยถือกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นเมืองหลวงของนอร์เวย์ตะวันตก และบางครั้งถูกเรียกเป็นเมืองหลวงฝั่งแอตแลนติกของนอร์เวย์ บาร์เกินเป็นหนึ่งในเก้าเมืองที่ถูกยกย่องให้เป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปในปีสหัสวรรษ[5]

ท่าเรือซึ่งกินบริเวณข้ามเทศบาลต่าง ๆ ของบาร์เกินเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์ และเป็นหนึ่งในท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[6] ธุรกิจและกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เกษตรใต้น้ำ และการเดินเรือในบาร์เกินนั้นใหญ่มาก สถาบันวิจัยสมุทรศาสตร์ Institute of Marine Research ในบาร์เกินนั้นใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป บาร์เกินเป็นฐานทัพหลักของราชนาวีนอร์เวย์ และสนามบินนานาชาติ Flesland ก็เป็นลานขึ้นลงเฮลิคอปเตอร์หลักของบริษัท North Sea oil และอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ[7]

ภาพมุมกว้างของอาคารฮันเซียติกของบริกเกิน

อ้างอิง แก้

  1. "Immigrants and Norwegian-born to immigrant parents by country of birth1,(the 20 largest groups).Selected municipalities.1 January 2011". Statistics Norway. สืบค้นเมื่อ 28 April 2011.
  2. "Forskrift om målvedtak i kommunar og fylkeskommunar" (ภาษานอร์เวย์). Lovdata.no.
  3. "Population per 1 January 2010 and population changes during 4rd quarter of 2009. Hordaland". Ssb.no. 2009-07-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15.
  4. "Bergen Region". Ssb.no.
  5. "European Capitals of Culture 2000 - 2005". European Commission. 4 พฤษภาคม 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-17. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2007.
  6. "Bergen havn holder koken" (ภาษานอร์เวย์). NA24. 2004. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2007.
  7. "Film Location:Bergen". West Norway Film Commission. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-15. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้