บาตรเป็นหนึ่งในอัฐบริขาร เป็นของที่พระภิกษุและสามเณรใช้ในการบิณฑบาต

บาตรพระ

ลักษณะของบาตรในพระธรรมวินัย แก้

พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ว่าบาตรมี 2 ชนิดเท่านั้นคือบาตรดินเผาและบาตรเหล็กรมดำ โดยมีขนาดตั้งแต่ 7-11 นิ้ว และพระพุทธองค์ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุใช้บาตรที่ทำจากวัสดุที่มีค่าเช่น เงิน ทอง ทองเหลือง ทองแดง

ในปัจจุบัน วัดส่วนใหญ่อนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่องจากทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแล ส่วนฝาบาตรในสมัยก่อนนั้นทำจากไม้หรือไม้ไผ่ ก็เปลี่ยนมาใช้เป็นฝาสแตนเลสแทน แต่ในบางที่ในภาคอีสานยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่

บาตรนั้นมีไว้เพื่อให้รู้จัก ทาน การ ขอ เพื่อลดอัตตา แต่มิใช่ขอเพื่อสนองความต้องการที่ไม่รู้จักพอของตน หรือเกียจค้าน และ ให้ หรือบริจาคเพื่อให้รู้จักเสียสละและแบ่งปัน การให้นั้นคือให้ด้วยใจ มีเจตตนาดี มีใจสงสารเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และเป็นการขัดเกลาจิตใจให้รู้จักความพอดี หวังให้เขาได้อิ่มท้อง นึกถึงใจเขาใจเรา นั้นคือการขอทานและการให้ทาน และเป็นการฝึกให้มี สติ ทุกย่างก้าวทุกขณะเพื่อมิให้เกิดความไม่ประมาท และสมาธิตั้งมั่น