บาซิเลวส์ (กรีก: βασιλεύς)[n 1] เป็นคำกรีกที่ใช้เรียกตำแหน่งเจ้าแผ่นดินในสมัยกรีกโบราณ ในช่วงการปกครองของอาณาจักรโรมันตะวันออก คำว่า บาซิเลวส์ เป็นชื่อเรียกตำแหน่งจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์

เงินเหรียญของ แอติโอคุสที่ 1 กษัตริย์ชาวเซเลวซิส ด้านกลับกันแสดงรูปเทพอพอลโลประทับบนออมฟาลอส มีคำกรีกจารึกอ่านว่า ΒΑΣΙΛΕΩΣ ΑΝΤΙΟΧΟΥ (ของพระราชาอันติโอคุส)

กรีกโบราณ แก้

คำนี้ปรากฎขึ้นครั้งแรกในแผ่นจารึกดินเหนียวที่เจอในซากพระราชวังเก่าสมัยไมซีเนียน (Mycenaen) มีอายุนับย้อนกลับไปถึงศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช ซึงบันทึกไว้ในรูปของคำว่า qa-si-re-u ความหมายดั้งเดิมของคำนี้คือ "หัวหน้าเผ่า"

ในมหากาพย์อีเลียด เจ้านครกรีกส่วนใหญ่ถูกเรียกว่า บาซิเลวส์ (basileís) ซึ่งมักถูกแปลว่ากษัตริย์ แต่แท้จริงความหมายที่ใกล้เคียงกว่าคือ "ท้าวพระยา" ซึ่งในยุคสมัยของมหากาพย์ที่รจนาโดยโฮเมอร์ ท้าวพระยาถือว่ามีศักดิ์ต่ำกว่า อะนักซ์ (ánax) ที่หมายถึงกษัตริย์ซึ่งมีเพียงไม่กี่คน ดังเห็นได้จากการที่อะกาเมมนอน ผู้มีฉายาว่าอะนักซันดรอน (กษัตริย์เหนือหัว) ใช้ศักดิ์ของตนออกคำสั่งต่ออคิลลีส หรือสั่งให้ท้าวพระยาคนอื่นเป็นสารถีขับรถม้าให้ตน

ในมหากาพย์ของโฮเมอร์ กษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจเหนือบรรดาท้าวพระยาโดยอัตโนมัติ แต่เป็นอำนาจที่ถูกมอบให้โดยความยินยอมเอกฉันท์จากบรรดาท้าวพระยา

การใช้คำว่า บาซิเลวส์ ในกรีซสมัยคลาสสิค แก้

ในกรีซสมัยคลาสสิค นครรัฐกรีกส่วนใหญ่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าแผ่นดินสืบตระกูลเกือบทั้งหมด และหันไปนิยมการปกครองแบบประชาธิปไตยหรือคณาธิปไตย แต่ก็มีข้อยกเว้นบ้าง เช่นตำแหน่งกษัตริย์สององค์ของสปาร์ตา ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดร่วมกันของกองทัพ ซึ่งเรียกว่า อาร์คอะเกไต (arkhagetai), กษัตริย์ของซิเรเน่, กษัตริย์ของซีรากูซา (Syracuse) และ กษัตริย์ของมาเกโดนีอา เป็นต้น ฯ

ในเอเธนส์ มีตำแหน่งเรียกว่า อาร์คอนบาซิเลวส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเก้าอาร์คอนที่เลือกมารับหน้าที่โดยการจับสลาก โดยทำหน้าที่คู่กับ อาร์คอนเอพินีมอส ในฐานะตุลาการที่แชร์อำนาจและหน้าที่ อันกษัตริย์ของเอเธนส์เคยมีอยู่แต่โบราณ

บันทึกย่อ แก้

อ้างอิง แก้