บางลำพู (มักสะกดผิดเป็น บางลำภู[1]) เป็นย่านหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ซอยชนะสงคราม แหล่งที่พักนักท่องเที่ยวอีกแห่งในย่านบางลำพู
ต้นลำพู ต้นสุดท้ายของกรุงเทพมหานครในสวนสันติชัยปราการ อันเป็นที่มาของชื่อบางลำพู

บางลำพู ได้ชื่อมาจากในอดีตมีต้นลำพูอยู่เป็นจำนวนมาก ริมคลอง[1] เดิมเป็นชุมนุมและตลาดเล็ก ๆ ริมน้ำก่อนการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดเก่าแก่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ ได้แก่ วัดสังเวชวิศยาราม (วัดบางลำพู, วัดกลางนา) และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ก่อนจะพัฒนาเป็นแหล่งพำนักของบรรดาเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร และประชาชนพลเมืองหลายหลากชาติพันธุ์ ทั้งไทย, จีน, มอญ และมุสลิม ที่มาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยคละเคล้ากัน จนทำให้เป็นแหล่งเกิดอาชีพที่หลากหลาย ต่อมาเมื่อมีการตัดคลองรอบกรุง ทำให้ย่านบางลำพูกลายเป็นท่าน้ำใช้สำหรับขนถ่ายและแลกเปลี่ยนสินค้า เช่น พืชผักผลไม้จากฝั่งธนบุรี ก่อนจะพัฒนากลายเป็นตลาดบกที่สำคัญในเวลาต่อมา ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการสร้างพระราชวังดุสิตขึ้น ได้มีการตัดถนนหลายสายขึ้นมาจากถนนสามเสน เช่น ถนนจักรพงษ์, ถนนพระอาทิตย์, ถนนพระสุเมรุ, ถนนข้าวสาร, ถนนรามบุตรี, ถนนตะนาว และถนนสิบสามห้าง จึงให้บางลำพูมีความคึกคักมากขึ้นด้วย[2]

ปัจจุบัน บางลำพูเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นแหล่งของการค้าขายเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชุดนักเรียน[2] มีห้างร้านสำหรับจัดจำหน่ายโดยเฉพาะ[3]เคยเป็นที่ตั้งของห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง[4] และยังเป็นแหล่งที่พักชั่วคราวสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันตก และได้มีร้านอาหาร, ร้านกาแฟ ตลอดจนร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไว้ให้บริการด้วย โดยเฉพาะที่ถนนข้าวสาร หรือถนนรามบุตรี นอกจากนี้ย่านบางลำพูยังเคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมความเป็นที่ตั้งของบ้านดนตรีไทยหลายท่านซึ่งในขณะนี้มีเพียงบ้านดนตรีไทยของตระกูลดุริยประณีตและเครือญาติเท่านั้นที่ยังทำอยู่จนถึงทุกวันนี้ซึ่งนำโดยสุดจิตต์ ดุริยประณีตซึ่งเคยเป็นผู้ควบคุมวงดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ในอดีตและต่อมาก็ได้รับการยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติสาขาด้านดนตรีไทยเมื่อปี2536เป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าวอยู่ฝังตรงข้ามวัดสังเวชวิศยารามซอยสามเสน1ถ.สามเสนนอกจากนั้นยังเป็นที่ตั้งของมูลนิธิดุริยประณีตอีกด้วยนอกนั้นบ้านดนตรีไทยที่มีอยู่ในย่านดังกล่าวได้เลิกทำหรือย้ายไปอยู่ที่อื่นหมดสิ้นแล้วคงเหลือเพียงบ้านดนตรีไทยของครูสุดจิตต์เท่านั้นที่ยังคงอยู่ในย่านนี้มาจนถึงปัจจุบันนี้[5]

สถานที่สำคัญในย่านบางลำพู แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "บางลำพู...ในวันที่ไม่มีต้นลำพู". ผู้จัดการออนไลน์. 2012-07-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-28. สืบค้นเมื่อ 2018-02-23.
  2. 2.0 2.1 ไทยสรวง, ปิลันธน์ (2016-04-26). ""บางลำพูในความทรงจำ" จากย่านตลาดเก่าสู่สวรรค์ราคาถูกของนักท่องเที่ยว". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-13. สืบค้นเมื่อ 2018-02-23.
  3. "บรรยากาศขายชุดนักเรียนย่านบางลำพูคึกคัก". เนชั่นทีวี. 2016-05-06.
  4. "'นิวเวิลด์'จากโศกนาฏกรรม สู่ตำนานวังมัจฉา". ไทยรัฐ. 2015-01-16.
  5. วีรวภูษิต, ภาณุพันธ์ (2016-04-27). "เลี้ยวเข้าซอยรามบุตรีสุดคึกคัก แล้วใจเต้นตึกตักกับ 5 สถานที่สุดเก๋า". อะเดย์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-29. สืบค้นเมื่อ 2018-02-23.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

13°45′09″N 100°30′04″E / 13.752482°N 100.501140°E / 13.752482; 100.501140