บั๊ญแส่ว (เวียดนาม: bánh xèo) หรือที่เรียกกันในประเทศไทยว่า ขนมเบื้องญวน เป็นอาหารเวียดนามลักษณะคล้ายแพนเค้กที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำ และผงขมิ้นหรือกะทิ (ในพื้นที่ภาคใต้) ยัดไส้ด้วยมันหมู กุ้ง และถั่วงอกแล้วนำมาทอดในกระทะ ตามธรรมเนียม บั๊ญแส่วจะห่อด้วยใบมัสตาร์ด ใบผักกาด หอม และยัดด้วยใบสะระแหน่ ใบโหระพา หรือสมุนไพรอื่น ๆ แล้วจิ้มด้วยเนื้อกเจิ๊ม (น้ำปลาของเวียดนามที่มีส่วนผสมของน้ำและมะนาว) ในภาคกลางจะรับประทานบั๊ญแส่วกับซอสเตือง (tương) ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม

บั๊ญแส่ว
บั๊ญแส่วหรือขนมเบื้องญวน
ชื่ออื่นขนมเบื้องญวน (ไทย) บัญจาว (กัมพูชา)
แหล่งกำเนิดเวียดนาม
ภูมิภาคเวียดนาม กัมพูชา ไทย
ผู้สร้างสรรค์อาหารเวียดนาม
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งผสมขมิ้น กรอกในกระทะเป็นแผ่นบาง ใส่ไส้
รูปแบบอื่นไส้และน้ำจิ้มจะต่างไปในแต่ละท้องถิ่น
ไส้ขนมเบื้องญวน

บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ในภาคกลาง บั๊ญแส่วในภาคใต้จะมีชื่อเรียก ว่า "บั๊ญคว้าย" (bánh khoái) หรือไข่เจียวยัดไส้ ซึ่งทุกวันนี้ได้เป็นหนึ่งในอาหารที่คนรู้จักกันดีจากภาคกลาง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าและเพิ่มรสชาติด้วยกับผงขมิ้นแล้วนำไปทอดในกระทะจนกรอบ บั๊ญคว้ายจะยัดไส้ด้วยหมูสับ ไข่ กุ้ง ถั่วงอก ถั่วเขียวบดแล้วก็พับ เวลาจะรับประทานให้ใช้ตะเกียบแยกเป็นชิ้น ๆ และนำมาห่อด้วยผักสมุนไพรสดแล้วจุ่มลงในซอสเตือง ซึ่งประกอบด้วยตับ ซอสฮอยซิน และกระเทียม ส่วนผักสมุนไพรสดต่าง ๆ จะช่วยลดความมันในอาหารทอด ในอาหารกัมพูชาจะมีจานที่คล้ายบั๊ญแส่ว เรียกว่า "บาญแชว" (បាញ់​ឆែវ banh chhaew) ส่วนชาวเขมรใต้ที่อยู่เวียดนามภาคใต้ เรียกว่า "นมจากอำแบง" (នំ​ចាក់​អំបែង หรือ នំ​ចាក់​អម្បែង ขนมเทเศษภาชนะแตก)