บันนาอี

การใช้กระเบื้องเคลือบสลับกับอิฐเพื่อสร้างลวดลายตกแต่งผนัง

ในสถาปัตยกรรมอิหร่าน บันนาอี (เปอร์เซีย: بنائی; banna'i, "เทคนิกของช่าง") เป็นศิลปะสำหรับตกแต่งที่ซึ่งมีการสลับระหว่างกระเบื้องเคลือบและอิฐเปลือยเพื่อสร้างลวดลายเรขาคณิตบนผนังหรือสร้างคำออกมาเป็นพระนามหรือข้อความศักดิ์สิทธิ์[1] เทคนิกนี้มีท่มาจากซีเรีย และ อิรัก ในศตวรรษที่แปด ก่อนจะเป็นที่นิยมมากในสมัยจักรวรรดิเซลจุก และ ตีมูริด

ผนังของที่ฝังศพซามานิด (ศตวรรษที่ 9-10) เป็นหนึ่งในตัวแทนของลวดลายแบบ ฮะซาร์บัฟ ในยุคแรก ๆ

งานออกแบบตกแต่งอิฐที่นูนขึ้นมาเรียกว่า ฮะซาร์บัฟ (เปอร์เซีย: هزارباف; hazarbaf, มาจากคำว่า hazar "พัน" และ baf "สาน" หมายถึงลวดลายที่สานกันคล้ายผ้าของอิฐ)[2]

อ้างอิง แก้

  1. Gordon Campbell (2006). "The" Grove encyclopedia of decorative arts, Volume 1. New York: Oxford University Press. p. 474. ISBN 978-0-19-518948-3.
  2. George Potter. "Square Kufic". สืบค้นเมื่อ 2012-01-05.