บริตป็อป (อังกฤษ: Britpop) เป็นแนวเพลงย่อยของป็อปร็อกและออลเทอร์นาทิฟร็อกที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งของอังกฤษช่วงกลางยุค 1990 ในเพลงจะเน้นความเป็นอังกฤษ ท่าทางและสว่างไสวแบบเพลงป็อป ที่ต้องการแสดงปฏิกิริยาต่อเพลงแนวกรันจ์จากอเมริกาและชูเกซซิงจากอังกฤษ[1][2][3][4] วงบริตป็อปที่ประสบความสำเร็จและรู้จักกันมากที่สุดคือ โอเอซิส, เบลอ, พัลป์, และ สเวด[5] ถึงแม้ว่าบริตป็อปจะถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดมากกว่าทางวัฒนธรรมในการอ้างถึงแนวดนตรี[6] แต่มีวงบริตป็อปได้อิทธิพลจากดนตรีอื่นเช่นองค์ประกอบจากเพลงป็อปอังกฤษในยุค 1960 แกลมร็อกและพังก์ร็อกในยุค 1970 และอินดี้ป็อปในยุค 1980 แม้กระทั่งทัศนคติและเครื่องแต่งกายที่ได้อิทธิพลจากมอร์ริสซีย์นักร้องนำวงเดอะสมิธส์ที่ได้ทำให้นึกถึงบริเตน บริตป็อปมุ่งเน้นวงดนตรีจากพวกเพลงใต้ดินในช่วงต้นยุค 1990 ที่เกี่ยวข้องกับคูลบริทานเนียซึ่งต่อจากแฟชันแบบสวิงกิงซิกซ์ตีส์และความเสื่อมคลายของดนตรีแบบกีตาร์ป็อปของอังกฤษ[7][8][9]

การตื่นตัวในการบุกอังกฤษโดยวงกรันจ์จากอเมริกา วงดนตรีอังกฤษที่เกิดขึ้นมาใหม่ เช่น สเวดและเบลอ ได้เริ่มทำการเคลื่อนไหวทันที มักกล่าวถึงดนตรีแบบกีต้าร์ของอังกฤษในอดีตและการเขียนเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่สำคัญของอังกฤษ วงดนตรีอื่นซึ่งต่อมาก็ได้แก่ โอเอซิส, เดอะเวิร์ฟ, พัลป์, พลาซีโบ, ซูเปอร์กราส, แคสต์, สเปซ, สลีปเปอร์ และ อีลาสติกา

บริตป็อปนำวงออลเทอร์นาทิฟร็อกของอังกฤษเข้าสู่กระแสะหลัก ก่อให้เกิดแกนนำการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมในอังกฤษ เรียกว่า คูลบริทานเนีย (Cool Britannia)

การแข่งขันชิงความเป็นใหญ่ในทำเนียบเพลงชาร์จเพลงกับวงบริตป็อประหว่างเบลอและโอเอซิส ได้ให้ขนานนามว่า "The Battle of Britpop" ซึ่งสื่อมวลชนของอังกฤษได้ให้ความสนใจในปี 1995 อย่างไรก็ตามในปี 1997 การเคลื่อนไหวของบริตป็อปได้เริ่มโรยรา หลายวงก็เริ่มถึงจุดสะดุดและเริ่มแยกวง[10] สไปซ์เกิลส์ได้เข้าเป็นที่นิยมแทนบริตป็อป แม้ว่าบางวงได้ประสบความสำเร็จในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของบริตป็อปมาถึงจุดสิ้นสุด

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Birth
  2. "Britpop". allmusic.com.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Scott
  4. Michael Hann (24 April 2014). "Britpop: a cultural abomination that set music back". theguardian.com.
  5. Encyclopedia of Contemporary British Culture. p. 75.
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Till
  7. Miranda Sawyer (April 2014). "How Britpop Changed The Media". bbc.co.uk.
  8. Mark Simpson (5 November 1999). "The man who murdered pop". theguardian.com.
  9. Harris, pg. 385.
  10. Harris, pg. 354.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้