น้ำทะเล เป็นของเหลวที่ได้จากทะเลหรือมหาสมุทร โดยทั่วไปมหาสมุทรทั่วโลกมีความเค็ม (salinity) ประมาณ 3.5% หรือ 35 ส่วนต่อพันส่วน นั่นหมายความว่าในน้ำทะเลทุกๆ 1 กิโลกรัม จะพบเกลืออยู่ 35 กรัม (ส่วนมากจะพบในรูปของไอออนโซเดียมคลอไรด์ (Na+, Cl) ความหนาแน่นเฉลี่ยที่ผิวน้ำของมหาสมุทรอยู่ที่ 1.025 กรัมต่อมิลลิลิตร น้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำจืด (น้ำจืดมีความหนาแน่นสูงสุดที่ 1.000 กรัมต่อมิลลิลิตร ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส) เพราะน้ำทะเลมีความหนักของเกลือและ Electrostriction (ไฟฟ้าที่ไม่นำกระแส แต่อยู่ในเรื่องของสนามไฟฟ้า) จุดเยือกแข็งของน้ำทะเลอยู่ที่อุณหภูมิ −2 องศาเซลเซียสหรือ 28.4 องศาฟาเรนไฮต์ นับว่ามากกว่าน้ำจืด [1] ในน้ำทะเลที่มีความเข้มข้น 35 ส่วนต่อพันส่วน (35 ppt)

ข้อมูลจากแผนที่มหาสมุทรโลก แสดงค่าความเค็มในแต่ละพื้นที่

ความเค็ม แก้

ธาตุ ร้อยละ ธาตุ พันละ
ออกซิเจน 85.84 กำมะถัน 0.091
ไฮโดรเจน 10.82 ออกซิเจน 0.04
คลอรีน 1.94 โพแทสเซียม 0.04
โซเดียม 1.08 โบรมีน 0.0067
แมกนีเซียม 0.1292 คาร์บอน 0.0028

ถึงแม้ว่าน้ำทะเลส่วนใหญ่จะมีปริมาณเกลืออยู่ที่ระหว่างร้อยละ 3.1–3.8 แต่น้ำทะเลทั่วโลกก็ไม่ได้เหมือนกัน อาจมีการผสมกับน้ำจืดจากการไหลของแม่น้ำหรือแหล่งน้ำออกสู่ทะเล หรือจากการละลายของธารน้ำแข็ง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ความเค็มของน้ำทะเลในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ทะเลเปิดที่มีความเค็มมากที่สุดคือ ทะเลแดง

อ้างอิง แก้

  1. หน้า 66–89, ความงามใต้โลกน้ำแข็ง โดย โลรอง บาเลสตา. นิตยสาร National Geographic ฉบับภาษาไทย: ฉบับที่ 192 กรกฎาคม 2560