น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้

น้ำจืดในลำธาร

น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภัย [1]

นิยามทางตัวเลข แก้

มีการนิยามว่าน้ำจืดคือน้ำที่มีเกลือละลายอยู่น้อยกว่า 0.5 ส่วนในพันส่วน (ppt) [2] น้ำจืดพบได้ทั้งแหล่งน้ำบนดินเช่น แม่น้ำลำธาร คลอง ทะเลสาบ ฯลฯ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง และรวมไปถึงแหล่งน้ำใต้ดิน ต้นกำเนิดวัฏจักรน้ำคือหยาดน้ำฟ้าที่อยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ในรูปของฝนและหิมะ

น้ำแบ่งตามระดับความเค็ม วัดจากความเข้มข้นของเกลือ
น้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเกลือ/น้ำเค็ม น้ำเกลือเข้มข้น
< 0.05 % 0.05 – 3 % 3 – 5 % > 5 %
< 0.5 ppt 0.5 – 30 ppt 30 – 50 ppt > 50 ppt

การกระจายตัวบนโลก แก้

น้ำจืดในธรรมชาติมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้นจากปริมาณน้ำทั้งหมดในโลก ซึ่งสองในสามจากจำนวนนี้เป็นน้ำแข็งตามยอดเขาหรือขั้วโลก ร้อยละ 0.3 เท่านั้นที่เป็นน้ำบนดิน ที่เหลือเป็นน้ำใต้ดิน ทะเลสาบน้ำจืดอย่างทะเลสาบไบคาลในรัสเซียและทะเลสาบทั้งห้าในอเมริกาเหนือ มีปริมาณน้ำจืดบนผิวดินถึงเจ็ดในแปดส่วน หนองน้ำอย่างแม่น้ำแอมะซอนแม้จะกินพื้นที่กว้างขวาง แต่ปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อพื้นที่ก็มีปริมาณน้อยมาก และในชั้นบรรยากาศก็มีน้ำอยู่ร้อยละ 0.04[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.un.org/News/Press/docs/2006/sgsm10378.doc.htm
  2. "Groundwater Glossary". 2006-03-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-28. สืบค้นเมื่อ 2006-05-14.
  3. Gleick, Peter; และคณะ (1996). Stephen H. Schneider (บ.ก.). Encyclopedia of Climate and Weather. Oxford University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้