นานูเมอา (อังกฤษ: Nanumea) เป็นอะทอลล์ตั้งอยู่สุดทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศตูวาลู ซึ่งเป็นประเทศเกาะในภูมิภาคพอลินีเซีย อะทอลล์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของอะทอลล์และเกาะจำนวน 9 แห่ง ที่กระจายตัวเป็นระยะทาง 400 ไมล์ (640 กิโลเมตร) ทางตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตรและตะวันตกของเส้นแบ่งเขตวันสากลในมหาสมุทรแปซิฟิก นานูเมอามีพื้นที่ 4 km2 (1.5 sq mi) และมีประชากรจำนวน 512 คน (สำมะโน ค.ศ. 2017)[1]

นานูเมอา
อะทอลล์นานูเมอา
อะทอลล์นานูเมอา
นานูเมอาตั้งอยู่ในTuvalu
นานูเมอา
นานูเมอา
ที่ตั้งในประเทศตูวาลู
พิกัด: 05°39′55″S 176°06′45″E / 5.66528°S 176.11250°E / -5.66528; 176.11250
ประเทศ ตูวาลู
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.9 ตร.กม. (1.5 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2017)
 • ทั้งหมด512 คน
 • ความหนาแน่น130 คน/ตร.กม. (340 คน/ตร.ไมล์)
รหัส ISO 3166TV-NMA

ภูมิศาสตร์ แก้

นานูเมอาตั้งอยู่ขอบของสามเหลี่ยมพอลินีเซีย โดยอยู่ทางใต้ของหมู่เกาะกิลเบิร์ต ซึ่งมีลักษณะทางภาษาและวัฒนธรรมแบบไมโครนีเซีย มีสภาพพื้นที่เป็นอะทอลล์ ประกอบด้วยเกาะพื้นที่ต่ำบนไหล่ของพืดหินปะการังล้อมรอบลากูน ขนาดของอะทอลล์ยาวประมาณ 12 กิโลเมตรและกว้างประมาณ 2.5 กิโลเมตรและมีพื้นที่แห้งประมาณ 3.9 ตารางกิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อนุรักษ์นานูเมอา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ลากูนกลางและพื้นที่ปะการังร้อยละ 10 ของอะทอลล์ รวมถึงเกาะเล็ก 2 เกาะด้วย[2][3]

หมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดคือเฮามาเอฟา มีประชากร 187 คน (ค.ศ. 2012) และโลลูอา มีประชากร 187 คน (ค.ศ. 2012)[1] โดยมีโรงเรียนประถมศึกษาประจำอะทอลล์คือโรงเรียนเกาไมเล ครัวเรือนในนานูเมอาตั้งอยู่อย่างกระจัดกระจายจากลากูนด้านหนึ่งสู่อีกด้านหนึ่ง เกาะเล็กขนาดใหญ่ 2 เกาะ ได้แก่ นานูเมอาและลาเกนาครอบคลุมพื้นที่แห้งร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็กขนาดเล็กอีก 3 เกาะ ได้แก่ เตโมตูโฟลีกี ลาโฟงากีและเตอาตัวอาตาเอโปอา

หลุมปลูกปูลากา (กลีชนิดหนึ่ง) ตั้งอยู่ที่ลาเกนา เนื่องจากชาวนานูเมอาต้องการให้พื้นที่นานูเมอาปราศจากยุง การปลูกปูลากาจะทำในหลุมขนาดใหญ่ที่มีดินปุ๋ยหมัก โดยให้พื้นที่หลุมอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำ[4]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 นานูเมอาได้รับผลกระทบจากไซโคลนปาม ทำให้บ้านเรือน พืชการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหาย[5][6]

ภาษาและวัฒนธรรม แก้

ชาวนานูเมอาเป็นส่วนหนึ่งของชาวพอลินีเซีย ภาษาย่อยนานูเมอาซึ่งเป็นภาษาย่อยของภาษาตูวาลูมีความใกล้ชิดกับกลุ่มภาษาพอลินีเซียตะวันตกอื่น ๆ ซึ่งรวมถึง ภาษาตองงา ภาษาโทเคอเลา ภาษาซามัวและภาษาในบริเวณพอลินีเซียเอาท์ไลเออร์ แม้ว่าชุมชนทั้งแปดของตูวาลูจะมีสำเนียงและคำศัพท์เฉพาะ ทว่าภาษาย่อยต่าง ๆ ของตูวาลูนั้นสามารถพูดแล้วเข้าใจร่วมกันได้ ยกเว้นภาษาของชาวนูอี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มที่พูดภาษากิลเบิร์ต

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Population of communities in Tuvalu". Thomas Brinkhoff. 11 April 2012. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  2. Sandrine Job, Dr. Daniela Ceccarelli (December 2012). "Tuvalu Marine Life Scientific Report" (PDF). an Alofa Tuvalu project with the Tuvalu Fisheries Department. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
  3. Sandrine Job, Dr. Daniela Ceccarelli (December 2011). "Tuvalu Marine Life Synthesis Report" (PDF). an Alofa Tuvalu project with the Tuvalu Fisheries Department. สืบค้นเมื่อ 3 December 2013.
  4. Taulu Isako (1983). "Chapter 7 – Nanumea". ใน Laracy, Hugh (บ.ก.). Tuvalu: A History. Institute of Pacific Studies, University of the South Pacific and Government of Tuvalu. pp. 55–56.
  5. "Tuvalu: Tropical Cyclone Pam Situation Report No. 2 (as of 30 March 2015)". Relief Web. 30 March 2015. สืบค้นเมื่อ 30 March 2015.
  6. "Tuvalu situation update: Securing health from disastrous impacts of cyclone Pam in Tuvalu". Relief Web/World health Organisation – Western Pacific Region. 3 April 2015. สืบค้นเมื่อ 8 June 2015.