นักบุญเซซีลีอา[2] (ละติน: Sancta Caecilia) เป็นนักบุญและเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ เกิดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี และเสียชีวิตราว ค.ศ. 230ในซิซิลี นักบุญเซซีลีอาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์นักดนตรี[3] และดนตรีศาสนาเพราะเชื่อกันว่าทรงขับเพลงสรรเสริญพระเจ้าขณะที่เสียชีวิต[4] เซซีลีอาเป็นหนึ่งในเจ็ดนักบุญซึ่งไม่รวมพระแม่มารีย์ที่ได้รับการกล่าวนามใน “สารบบพิธีมิสซา

นักบุญเซซิเลีย
“การขออนุญาตทำงานของคนต่างด้าว”
โดยกวีโด เรนี (Guido Reni) ค.ศ. 1616[1]
พรหมจาร๊และมรณสักขี
เกิดคริสต์ศตวรรษที่ 2
ในกรุงโรม ในประเทศอิตาลี
เสียชีวิตราว ค.ศ. 230
ที่ซิซิลี
นิกายโรมันคาทอลิก
ออร์ทอดอกซ์
วันฉลอง22 พฤศจิกายน
สัญลักษณ์ขลุ่ย ออร์แกน ดอกกุหลาบ ไวโอลิน พิณ ฮาร์พซิคอร์ด การร้องเพลง
องค์อุปถัมภ์ดนตรีศาสนา นักดนตรี กวี

เซซีลีอาเป็นลูกคนเดียวและเป็นสตรีที่มาจากสกุลดีของกรุงโรม เซซีลีอา วาเลเรียนัสสามี และไทเบอร์เทียสพี่ชายพลีชีพเพื่อศาสนาราวปี ค.ศ. 230 ในสมัยจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ เซเวรัส (Alexander Severus)

แต่การค้นคว้าของโจวันนี บัตติสตา เด รอสซี นักโบราณคดีชาวอิตาลี[5] ดูเหมือนจะยืนยันคำกล่าวของเวนันติอุส ฟอร์ตูนาตัส (Venantius Fortunatus) บิชอปแห่งปัวตีเยในคริสต์ศตวรรที่ 6 ที่กล่าวว่าเซซีลีอาเสียชีวิตในซิซิลีในสมัยจักรพรรดิมาร์กุส เอาเรลิอุส (Marcus Aurelius) ระหว่างปี ค.ศ. 176 ถึงปี ค.ศ. 180 ในกรุงโรมมีมหาวิหารซันตาเชชีเลียอินตรัสเตเวเร (Santa Cecilia in Trastevere) ที่สร้างเป็นอนุสรณ์แก่นักบุญเซซีลีอาในราวคริสต์ศตวรรษที่ 5 และได้รับการสร้างใหม่อย่างใหญ่โตโดยสมเด็จพระสันตะปาปาปัสกัลที่ 1 ราวปี ค.ศ. 820 และอีกครั้งหนึ่งโดยพระคาร์ดินัลเปาโล เอมีลีโอ สฟอนดราตี (Paolo Emilio Sfondrati) ในปี ค.ศ. 1599

การพลีชีพของนักบุญเซซีลีอาเชื่อกันว่าเกิดขึ้นหลังจากการพลีชีพของสามีและพี่ชายโดยนายพลโรมันเทอซิอัส อัลมาชิอัส[6] ก่อนที่จะถูกจับเซซีลีอาก็เตรียมบ้านช่องให้เป็นคริสต์ศาสนสถาน เมื่อจับได้แล้วทหารก็พยายามฆ่านักบุญเซซีลีอาโดยการต้มทั้งเป็นแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นก็พยายามตัดหัวแต่เมื่อพยายามสามครั้งก็ยังไม่สำเร็จ หลังจากครั้งที่สามเซซิเลียก็อยู่ต่อมาอีกสามวันจึงเสียชีวิต ในสามวันก่อนที่จะเสียชีวิตเซซีลีอาก็ลืมตาขึ้นมาดูญาติพี่น้องและเพื่อนที่มาชุมนุมกันรอบ ๆ แล้วก็ปิดตาแล้วหลังจากนั้นก็ไม่ได้เปิดอีกจนเสียชีวิต[7] ศีรษะของนักบุญเซซีลีอาได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นเรลิกที่มหาวิหารตอร์เชลโล


อ้างอิง แก้

  1. St Cecilia by RENI, Guido
  2. "ประวัตินักบุญตลอดปี: นักบุญเซซีลีอา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-21.
  3. "St. Cecilia". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company. 1913. [1]
  4. "St. Cecilia". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company. 1913. [2]
  5. Rom. sott. ii. 147.
  6. The Life of Saint Cecilia เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Golden Legend article
  7. "St. Cecilia". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company. 1913. [3]

ดูเพิ่ม แก้