นอราห์ โจนส์ (เบงกอล: গীতালি নোরা জোনস শঙ্কর, Geethali Norah Jones Shankar) เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2522 ในนครนิวยอร์ก เป็นนักร้อง นักประพันธ์เพลงแจ๊ซ และนักเปียโนชาวอเมริกัน โจนส์ได้รับรางวัลแกรมมี่ 9 รางวัล และมียอดขายมากกว่า 50 ล้านชุดทั่วโลก[1]

นอราห์ โจนส์
นอราห์ โจนส์ในปี ค.ศ. 2010
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดGeethali Norah Jones Shankar
เกิด (1979-03-30) มีนาคม 30, 1979 (44 ปี)
ที่เกิดนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงแจ๊ซ, โฟล์ค, คันทรี, โซล, ป็อป
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, นักดนตรี
เครื่องดนตรีเปียโน, คีย์บอร์ด, กีตาร์
ช่วงปีค.ศ. 2001 – ปัจจุบัน
ค่ายเพลงBlue Note
เว็บไซต์norahjones.com

ประวัติ แก้

นอราห์ โจนส์ เกิดในเขตแมนแฮตตัน นิวยอร์ก เป็นทายาทของ รวี ศังกร นักเล่นซีตาร์ชาวอินเดีย และ ซู โจนส์ คอนเสิร์ตโปรดิวเซอร์ โจนส์โตมาในรัฐเท็กซัสกับแม่เพียงลำพัง ไร้เงาของศิลปินอย่างรวี ศังกร ผู้เป็นพ่อ

เมื่อโจนส์อายุ 15 ปี คุณแม่ก็พาเธอย้ายไปอยู่ใจกลางเมืองดัลลัส ที่นั่นเธอได้เข้าเรียนชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนไฮสกูลบุคเคอร์ ที. วอชิงตัน เพื่อการแสดงและทัศนศิลป์ ระหว่างที่เรียน เธอได้รับรางวัล Down Beat Student Music Award ในสาขานักร้องเพลงแจ๊สยอดเยี่ยม 2 สมัยในปี ค.ศ. 1996 และ 1997 และในสาขางานเพลงต้นฉบับยอดเยี่ยมในปี ค.ศ. 1996 จากนั้นโจนส์ก็เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยนอร์ธ เท็กซัสซึ่งขึ้นชื่อเรื่องวิชาการดนตรี[ต้องการอ้างอิง] ที่ซึ่งเธอเลือกเรียนแจ๊ซ เปียโนเป็นวิชาเอก ตอนนั้นเธอตั้งวง Laszlo ร่วมกับเพื่อน ๆ แล้วด้วย เป็นวงที่เล่นเพลงแบบร็อกผสมแจ๊ซ

ช่วงต้นปี 2000 แมวมองจากสังกัด EMI มาชมการแสดงของ นอราห์ รู้สึกติดใจ เลยแนะนำเธอให้กับเพื่อนที่ทำงานอยู่กับบลู โน้ตสังกัดเพลงแจ๊ซชื่อดัง เดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้น นอราห์ กับวงของเธอส่งเดโม 3 เพลงไปยังสังกัดบลู โน้ต บรู๊ซ ลันด์วาลล์ ประธานของ บลู โน้ตเซ็นสัญญารับเธอเข้าสังกัดทันที ในเดือนมกราคม 2001 หลังจากได้ฟังเดโมของเธอ

จากนั้น นอราห์ ก็ได้ไปเป็นนักร้องรับเชิญให้อัลบั้ม Songs From The Analog Playground ของ ชาร์ลี ฮันเตอร์ มือกีตาร์ในสังกัดบลู โน้ต เพลงที่เธอร้องในชุดนี้มี "More Than This" เพลงเก่าของ Roxy Music กับ "Day Is Done" ของ นิค เดรค และยังได้ออกทัวร์กับวงของ ชาร์ลี ด้วย

นอราห์ เริ่มบันทึกเสียงอัลบั้มแรกของเธอในเดือนพฤษภาคม 2001 ครั้งแรกเธอได้ร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ เครก สตรีท ที่แบร์สวิลล์ สตูดิโอที่วู้ดสต็อคในนิวยอร์ก เครก เคยโปรดิวซ์งานให้ศิลปินแจ๊ซร่วมสมัยอย่าง คาซานดรา วิลสัน , Manhattan Transfer, เค.ดี. แลง , Dirty Dozen Brass ฯลฯ ผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ เพราะเครื่องดนตรีรกไปกลบเสียงของ นอราห์ สิงหาคม 2001 บรู๊ซ ลันด์วาลล์ แนะให้เธอเปลี่ยนมาร่วมงานกับโปรดิวเซอร์ดัง อะริฟ มาร์ดิน

ทั้งหมดย้ายไปทำงานที่ซอร์เซอเรอร์ ซาวด์ในแมนฮัตตัน การบันทึกเสียงคราวนี้ อะริฟ เน้นเสียงมีเสน่ห์ของ นอราห์ เป็นหลัก หลายเพลงบันทึกกันแบบสด ๆ หลังจากทำงานเสร็จ ก็ได้นำเสนอความเป็นเธอในเวลานั้นได้เป็นอย่างดี จึงพร้อมที่จะวางแผงงานชุดแรกกันในเดือนกุมภาพันธ์ 2002

จากนั้น นอราห์ ก็เริ่มออกแสดงคอนเสิร์ต ได้ขึ้นเวทีในคอนเสิร์ตที่เป็นทริบิวต์ให้ วิลลี่ เนลสัน จากนั้นก็ออกทัวร์เป็นวงเปิดให้ศิลปินหนุ่ม จอห์น เมเยอร์ คู่กับ ชาร์ลี ฮันเตอร์ ในอเมริกา ก่อนจะออกมาทัวร์เป็นเฮดไลน์เองในเวลาต่อมา

 
อัลบั้ม Not Too Late

อัลบั้ม Come Away With Me ชุดนี้ผสมผสานสไตล์ดนตรีทั้งแจ๊ซ โซล คันทรี และ โฟล์ค ป็อป เธอยังโชว์ฝีมือการแต่งเพลงเองด้วยคือ "Come Away With Me" กับ "Nightingale" และร่วมแต่งเพลง "The Long Day Is Over" แถมยังมีเพลงเก่าคลาสสิกของ แฮงค์ วิลเลียมส์ "Cold, Cold Heart" เพลง "The Nearness Of You" ของ โฮกกี คาร์ไมเคิล กับเพลง "Turn Me On" เพลงบลูส์ของ จอห์น ดี. ลูเดอร์มิลค์ ที่ นิน่า ซิโมน เคยเอามาคัฟเวอร์ และถึงจะได้ อะริฟ มาร์ดิน มาโปรดิวซ์ให้แต่ แต่ยังคงหลงเหลืองานโปรดิวซ์ของ เครก สตรีท ให้เห็นอยู่ 3 เพลงใน "Seven Years", "Feelin' The Same Way" และ "The Long Day Is Over"

ชุด Come Away With Me ได้รับรางวัลแพลตตินัมจากการขายแผ่นได้สูงถึง 18 ล้านชุด ขึ้นอันดับ 1 ในอเมริกานาน 4 สัปดาห์ ทำให้เธอได้รับรางวัลแกรมมีถึง 8 สาขา

อัลบั้มที่ 2 Feels like Home ออกวางขายในปี 2004 โดยที่เธอคงสไตล์ดนตรีที่คล้ายคลึงกับชุดก่อน ด้วยการผสมผสานดนตรีบลูส์กับคันทรีจากยุค 70 เข้ากับเสียงเปียโนแจซซ์ของเธอ จาก 2 อัลบั้มที่ผ่านมา และรางวัลแกรมมี่ อวอร์ด บวกกับ 2 รางวัลเวิลด์ มิวสิก อวอร์ด ล่าสุดประจำปี 47 คือ ศิลปินหญิงยอดเยี่ยมกับศิลปินหญิงยอดเยี่ยมสาขาเพลงป็อป

อัลบั้มที่ 3 Not Too Late ยังประสบความสำเร็จอย่างมากมายท่วมท้น ติดอันดับ 1 อัลบั้มขายดีในกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เปิดตัวด้วยเพลง "Thinking About You"

ผลงานอัลบั้ม แก้

  • Come Away with Me (2002)
  • Feels Like Home (2004)
  • Not Too Late (2007)
  • The Fall (2009)
  • Little Broken Hearts (2012)
  • Day Breaks (2016)
  • Pick Me Up Off the Floor (2020)

ผลงานการแสดง แก้

  • Two Weeks Notice (2002)
  • Dolly Parton: Platinum Blonde (2003)
  • 100% NYC: Tribeca Film Festival (2003)
  • My Blueberry Nights (2007)
  • Elvis: Viva Las Vegas (2007)
  • Life. Support. Music. (2008)
  • Wah Do Dem (2009)
  • 30 Rock (2009)
  • Tony Bennett: Duets II (2009)
  • Ted (2012)
  • VH1 Storytellers (2012)
  • They Came Together (2014)
  • Echo in the Canyon (2018)

รางวัล แก้

รางวัลแกรมมี แก้

  • 2003
  1. อัลบั้มเพลงป็อปยอดเยี่ยม — Come Away with Me
  2. อัลบั้มแห่งปี — Come Away with Me
  3. บันทึกเสียงแห่งปี — "Don't Know Why"
  4. ศิลปินเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม — "Don't Know Why"
  5. ศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม
  6. เพลงแห่งปี — "Don't Know Why" รางวัลสาขานี้มอบไห้กับผู้แต่งเพลง ผู้แต่งเพลงนี้คือ เจซซี แฮร์ริส
  • 2005
  1. ศิลปินเพลงป็อปรวมกันเฉพาะกิจยอดเยี่ยม — "Here We Go Again" (ร่วมกับ เรย์ ชาร์ลส)
  2. ศิลปินเพลงป็อปหญิงยอดเยี่ยม — "Sunrise"
  3. บันทึกเสียงแห่งปี — "Here We Go Again" (ร่วมกับ เรย์ ชาร์ลส)

การร่วมงาน แก้

  • The Little Willies - เป็นอีกวงที่ฟอร์มในปี 2003 เธอทำหน้าที่ร้องและเล่นเปียโน
  • Ryan Adams & the Cardinals - ร่วมร้องกับ Ryan Adams ในเพลง "Dear John" ซึ่งอยู่ในอัลบั้ม "Jacksonville City Nights" โดย Ryan Adams & the Cardinals, ออกวางขายปี 2005
  • Peeping Tom - เป็นอัลบั้ม collaboration โดย Mike Patton ออกวางขายปี 2006 นอร่าห์ได้ร่วมในเพลง "Sucker"
  • El Madmo
  • Foo Fighters - นอร่าห์ได้ร่วมทำเพลงให้ Foo Fighters ในอัลบั้ม In Your Honor (2005) ได้ร่วมร้องและเล่นเปียโนกับ Dave Grohl ในเพลง Virginia Moon
  • Outkast - นอร่าห์ได้เล่นเปียโนในเพลง "Take Off your Cool" จากอัลบั้ม Speakerboxxx/The Love Below

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. "Grammy Stars Make Beeline for Korea". The Chosun Ilbo. October 12, 2012.