นกแก้วคาคาโป

สปีชีส์ของนก
นกแก้วคาคาโป
นกเพศผู้ชื่อ ซิรอกโก (Sirocco) จากเกาะม็อด (Maud Island)
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Psittaciformes
วงศ์ใหญ่: Strigopoidea
วงศ์: Strigopidae
เผ่า: Strigopini
สกุล: Strigops
G.R. Gray, 1845
สปีชีส์: S.  habroptila
ชื่อทวินาม
Strigops habroptila
G.R. Gray, 1845
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

นกแก้วคาคาโป (เมารี: kākāpō) เป็นภาษามาวรี มีความหมายว่า "นกแก้วกลางคืน" เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Strigopidae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Strigops habroptilus

นกแก้วคาคาโป บ้างก็เรียกว่า "นกแก้วฮูก" ซึ่งเป็นนกแก้วที่บินไม่ได้ที่พบในนิวซีแลนด์เท่านั้น ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของวิวัฒนาการบนเกาะโดดเดี่ยว ทำให้มีรูปลักษณ์พิเศษ โดยบรรพบุรุษร่วมของนกแก้วคาคาโปและนกในสกุล Nestor ในวงศ์ใหญ่ Strigopoidea เดียวกัน ซึ่งได้แยกไปอยู่ต่างหากจากนกแก้วชนิดอื่น ๆ หลังจากนิวซีแลนด์แยกตัวออกจากทวีปกอนด์วานา เมื่อประมาณ 82 ล้านปีก่อน จากนั้นอีก 12 ล้านปีต่อมาหรือประมาณ 70 ล้านปีก่อน นกแก้วคาคาโปจึงแยกออกจากนกสกุล Nestor ชัดเจน

จากสภาพแวดล้อมที่ไม่มีสัตว์นักล่าบนเกาะนิวซีแลนด์ ทำให้นกแก้วคาคาโปมีวิวัฒนาการเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่บินไม่ได้ และยังครองสถิติอีกหลายอย่าง คือเป็นนกแก้วที่มีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีขนาดตัวระหว่าง 59-64 เซนติเมตร และหนักถึง 4 กิโลกรัม นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่ามันเป็นนกแก้วที่มีอายุยืนที่สุดด้วย โดยมีสถิติพบอายุยืนที่สุดถึง 100 ปี อีกทั้งเป็นนกแก้วชนิดเดียวในโลกที่หากินตอนกลางคืน และมีระบบการผสมพันธุ์ที่ตัวผู้จะอยู่ในอาณาเขตหรือรังของตัวเองและส่งเสียงเรียกตัวเมีย ซึ่งมีเสียงร้องคล้ายเสียงกบและจะร้องติดต่อกันนานถึง 3 เดือน วันละ 8 ชั่วโมง และเสียงร้องจะได้ยินไปไกลถึง 5 กิโลเมตร[3]

ลักษณะ แก้

นกแก้วคาคาโปตัวเต็มวัยมีลำตัวเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลและเหลือง ช่วยให้สามารถพรางตัวได้ดีบนผืนป่า แต่ในวัยอ่อนสีสันจะไม่สดใส และหน้าตาละม้ายคล้ายคลึงกับนกฮูก มีสีออกน้ำตาล นกแก้วคาคาโปปีนต้นไม้ได้เก่ง และทำโพรงอยู่ใต้ดินเหมือนกระต่าย

เดิมนกแก้วคาคาโปเคยอยู่กระจายทั่วไปภายในเกาะเหนือ เกาะใต้ และเกาะสจวร์ต เกาะเล็ก ๆ ทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ได้ในป่าทุกรูปแบบ แต่พบการล่าจากชาวพื้นเมืองมาวรี และการอพยพมาของชาวยุโรปที่มาตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งได้นำมาซิ่งชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น สุนัข และตัวพอสซั่ม ซึ่งเป็นสัตว์นักล่า ซึ่งเกือบทำให้นกแก้วคาคาโปต้องสูญพันธุ์

ในช่วงปี ค.ศ. 1980-ค.ศ. 1997 สำนักงานอนุรักษ์ของนิวซีแลนด์ได้นำนกแก้วคาคาโปที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งหมดบนเกาะสจวร์ตไปอยู่ยังที่อยู่ใหม่ เป็นหมู่เกาะที่ปลอดภัยจากสัตว์นักล่าทั้งหลายมารบกวน เพื่อสงวนนกแก้วคาคาโปไม่ให้สูญพันธุ์ ปัจจุบันจึงเหลือนกชนิดนี้อยู่บนเกาะคอดฟิชและเกาะชอล์กกีที่ถูกใช้เป็นแหล่งอนุรักษ์นก ทำให้ปริมาณนกแก้วคาคาโปเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1995 จาก 55 ตัว เป็น 111 ตัวในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2009

 
ขนาดเมื่อเทียบกับมนุษย์

อนุกรมวิธาน แก้

นกแก้วคาคาโปได้รับการจำแนกโดยนักปักษีวิทยาชาวอังกฤษ จอร์จ โรเบิร์ต เกรย์ ใน ค.ศ. 1845 ชื่อสกุลมาจากภาษากรีกโบราณ strigos จาก strix ที่แปลว่า "นกฮูก" และ ops ที่แปลว่า "หน้า" ขณะที่ชื่อลักษณะมาจาก habros ที่แปลว่า "นุ่ม" และ ptilon ที่แปลว่า "ขนนก"[4] ด้วยการที่มันมีลักษณะที่โดดเด่นต่างนกแก้วอื่น และเคยถูกจำแนกไว้ในเผ่า Strigopini ของมันเองในการจำแนกเบื้องต้น

จากการศึกษาสายวิวัฒนาการล่าสุดยืนยันว่านกแก้วคาคาโป (สกุล strigops) มีความสัมพันธ์กับนกแก้วคาคาและนกแก้วคีอา (นกแก้ว 4 ชนิดในสกุล Nestor)[5][6][7] ทั้งหมดได้รับการพิจารณาแบ่งแยกออกมาเป็นวงศ์ใหญ่นกแก้วนิวซีแลนด์ (Strigopidae)[8] จากเดิมอยู่ในวงศ์ Nestoridae

ก่อนหน้านี้นักปักษีวิทยาคิดว่านกแก้วคาคาโปอาจเป็นญาติใกล้ชิดกับนกแก้วนกแก้วกลางคืนและนกแก้วดินของประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากสีสันคล้ายคลึงกัน แต่ความคิดนี้ขัดแย้งกับการศึกษาล่าสุด[9][10] สีพรางตัวน่าจะเกิดจากการปรับตัวในการหากินบนพื้นดินซึ่งเป็นการวิวัฒนาการแบบวิวัฒนาการเบนเข้า

ศัพทมูลวิทยา แก้

ชื่อ "Kakapo (คาคาโป)" เป็นการเลียนเสียงเป็นภาษาอังกฤษของคำว่า "kākāpō" ในภาษามาวรี คำว่า kākā ("นกแก้ว") + ("กลางคืน")

คำในภาษาโพลีนีเซีย kākā และการผันแปร ʻāʻā เป็นคำที่ใช้เรียกนกแก้ววงศ์ Psittacidae ที่อาศัยทั่วไปในแปซิฟิกใต้ เช่น ชื่อพื้นเมืองของนกแก้วเล็กแบล็คฟรอนต์ (Cyanoramphus zealandicus) ที่สูญพันธุ์ไปแล้วของตาฮีตี และนกแก้วนิวซีแลนด์สกุล Cyanoramphus มีชื่อพื้นเมือง "คาคา" ลักษณะเดียวกัน

สื่อ แก้

อ้างอิง แก้

  1. BirdLife International (2013). "Strigops habroptila". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2013.2. สืบค้นเมื่อ 26 November 2013.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ CITES
  3. [ลิงก์เสีย] รายการแดนสนธยา : ดินแดนสวรรค์แปซิฟิกตอนใต้ ตอน 14 ออกอากาศทางช่อง 4 : 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
  4. Liddell, Henry George and Robert Scott (1980). A Greek-English Lexicon (Abridged Edition). United Kingdom: Oxford University Press. ISBN 0-19-910207-4.
  5. Wright, T. F.; Schirtzinger, E. E.; Matsumoto, T.; Eberhard, J. R.; Graves, G. R.; Sanchez, J. J.; Capelli, S.; Muller, H.; Scharpegge, J.; Chambers, G. K.; Fleischer, R. C. (2008). "A Multilocus Molecular Phylogeny of the Parrots (Psittaciformes): Support for a Gondwanan Origin during the Cretaceous". Mol Biol Evol. 25 (10): 2141–2156. doi:10.1093/molbev/msn160. PMC 2727385. PMID 18653733.
  6. Grant-Mackie, E. J.; Grant-Mackie, J. A.; Boon, W. M.; Chambers, G. K. (2003). "Evolution of New Zealand Parrots". NZ Science Teacher. 103.
  7. de Kloet, R. S.; de Kloet, S. R. (2005). "The evolution of the spindlin gene in birds: Sequence analysis of an intron of the spindlin W and Z gene reveals four major divisions of the Psittaciformes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 36 (3): 706–721. doi:10.1016/j.ympev.2005.03.013. PMID 16099384.
  8. Christidis L, Boles WE (2008). Systematics and Taxonomy of Australian Birds. Canberra: CSIRO Publishing. p. 200. ISBN 978-0-643-06511-6.
  9. Schodde, R. & Mason, I.J. (1981). Nocturnal Birds of Australia. Illustrated by Jeremy Boot. Melbourne: Lansdowne Edns 136 pp. 22 pls [35-36]
  10. Leeton, P.R.J., Christidis, L., Westerman, M. & Boles, W.E. (1994). Molecular phylogenetic relationships of the Night Parrot (Geopsittacus occidentalis) and the Ground Parrot (Pezoporus wallicus). Auk 111: 833-843

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Strigops habroptila ที่วิกิสปีชีส์