นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Charadriiformes
วงศ์: Sternidae
สกุล: Thalasseus
สปีชีส์: T.  bergii
ชื่อทวินาม
Thalasseus bergii
(Lichtenstein, 1823)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Sterna bergii Lichtenstein, 1823
Thalasseus bergii

นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่ (อังกฤษ: Greater crested tern; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thalasseus bergii) เป็นนกทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์นกนางนวลแกลบ (Sternidae)

จัดเป็นนกนางนวลแกลบที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัวพอ ๆ กับนกนางนวลทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียวลู่ลมตามประสานกนางนวลแกลบ แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่านกนางแกลบด้วยกันอย่างเห็นได้ชัดเจน

มีจะงอยปากแหลมสีเหลืองที่ใช้ในการหาอาหาร ปลายปีกแหลมยาว และลักษณะเด่นอันที่มาของชื่อสามัญ คือ มีขนกระจุกบริเวณท้ายทอยเหมือนหงอน ซึ่งนอกฤดูผสมพันธุ์จะมีลายดำเปรอะเป็นขีด ๆ ตั้งแต่รอบตา แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูผสมพันธุ์หงอนจะมีสีเข้ม เหมือนใส่หมวกสีดำ แลดูสะดุดตามากยิ่งขึ้น

มีถิ่นกระจายพันธุ์กว้างไกล พบได้ตั้งแต่ชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ของแอฟริกา เรื่อยมาตามริมชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนมาถึงมหาสมุทรแปซิฟิก และรอบทวีปออสเตรเลีย รวมถึงหมู่เกาะในแถบนั้น

เป็นนกที่หากินด้วยการพุ่งตัวลงไปในทะเลจับปลากินเป็นอาหาร สามารถลงไปได้ลึกถึง 1 เมตร และบินได้ห่างจากชายฝั่งไกลถึง 10 กิโลเมตร

ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ นกนางนวลแกลบหงอนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่หนาแน่ตามชายฝั่งและเกาะ โดยจะวางไข่ครั้งละ 2 ฟองบนหลุมที่ขุดขึ้นบนดิน โดยในฝูงจะมีการป้องกันตัวจากนักล่าและปกป้องซึ่งกันและกัน[2]

ในประเทศไทย พบได้ตามอ่าวตะบูนและแหลมผักเบี้ย ในจังหวัดเพชรบุรี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[3]

อ้างอิง แก้

  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. อ่าวบางตะบูน (2) จุดพักนักพุ่งหลาว, นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 8 ฉบับที่ 380 วันที่ 6-12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 หน้า 66 คอลัมน์ ฟ้าเป็นของนก โดย จะละเม็ดดำ
  3. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Thalasseus bergii ที่วิกิสปีชีส์