ธงราชนาวีไทย คือธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติไทย แต่ตรงกลางของผืนธง มีดวงกลมสีแดง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 4 ใน 6 ส่วนของความกว้างของผืนธง โดยให้ขอบของดวงกลมจดขอบแถบสีแดงของผืนธง ภายในดวงกลมมี รูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าหาเสาธงหรือคันธง[1]


ธงราชนาวี
ชื่ออื่น ธงราชนาวี
การใช้ ธงนาวี Small vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flagSmall vexillological symbol or pictogram in black and white showing the different uses of the flag
สัดส่วนธง 2:3
ประกาศใช้ 28 กันยายน พ.ศ. 2460 (106 ปี) (มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 30 วัน หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา), กำหนดมาตรฐานเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ลักษณะ ธงชาติ กลางเป็นวงกลมสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าเสา

ประวัติ แก้

ประเทศไทยมีธงราชนาวีมาตั้งแต่โบราณกาล ธงราชนาวีธงแรกที่มีขึ้นในประเทศไทยนั้น คือ ธงสีแดง และใช้เป็นเครื่องหมายของธงราชนาวีตลอดมา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 มีพระราชดำริว่า บรรดาเรือหลวงกับเรือราษฎร์ ควรมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นแตกต่างกัน เพื่อจะได้สังเกตว่าลำไหนเป็นเรือหลวง ลำไหนเป็นเรือราษฎร์ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สั่งให้เรือหลวงทั้งปวง ทำรูปจักรสีขาวไว้ตรงกลางพื้นสีแดงเป็นธงราชนาวี ซึ่งใช้เป็นธงประจำเรือหลวง ส่วนเรือราษฎร์นั้นยังคงใช้ธงพื้นสีแดง พ.ศ. 2360 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงได้ช้างเผือกมาสู่พระราชอาณาจักรถึง 3 ช้าง นับว่าเป็นพระเกียรติยศอย่างยิ่งของพระมหากษัตริย์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปช้างสีขาว (ไม่ทรงเครื่อง) อยู่ในวงจักรสีขาวติดไว้ที่กลางธงแดง หมายความว่า พระเจ้าแผ่นดินอันมีช้างเผือกเป็นธงราชนาวี ใช้เฉพาะเรือหลวงเท่านั้น พ.ศ. 2398 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้เรือค้าขายของเอกชน ใช้ธงเหมือนอย่างเรือหลวง เนื่องจากไปซ้ำกับธงเรือของประเทศอื่น แต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เอารูปจักรออก (เพราะจักรเป็นของสูง เป็นเครื่องหมายสำหรับพระเจ้าแผ่นดิน) คงเหลือแต่รูปช้างสีขาวอยู่บนพื้นธงสีแดง ให้ใช้ได้ทั่วไปทั้งเรือหลวงและเรือราษฎร์ พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วย แบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) ขึ้นเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรก (ได้ทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไข รายละเอียดเกี่ยวกับลักษณะธงจากเดิมไปบ้าง) ได้เรียกชื่อธงราชนาวีใหม่ว่า“ธงช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่น” ลักษณะของธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดงตรงกลางธง มีรูปช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าหาเสาและตรงมุมธงเบื้องบน ด้านซ้าย มีจักรสีขาว 1 จักร ธงนี้สำหรับใช้ชักที่ท้ายเรือพระที่นั่งและเรือรบหลวง พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชดำรัสให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขพระราชบัญญัติธงฉบับแรกใหม่ และเรียกพระราชบัญญัติธงฉบับนี้ว่า “พระราชบัญญัติธงรัตนโกสินทร์ ศก 116” และเปลี่ยนชื่อธงจากชื่อ ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น เป็น ธงเรือหลวง ลักษณะของธงยังเหมือนเดิม แต่ไม่มีจักรสีขาวที่มุมธงธงราชนาวี พ.ศ. 2453 ได้เปลี่ยนแปลง ธงราชนาวี ไปจากเดิม คือ เปลี่ยนชื่อจาก ธงเรือหลวง เป็น ธงทหารเรือ และเปลี่ยนลักษณะ รูปร่างจากพื้นแดงตรงกลางมีรูปช้างเผือก ทรงเครื่องยืนแท่นเพิ่มเครื่องหมาย สมอไขว้ กับจักรภายใต้มหาพิชัยมงกุฎสีเหลือง ที่มุมธงข้างหน้าช้างสำหรับใช้ชักที่ท้ายเรือ และสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าเรือและสถานที่นั้นๆ ขึ้นอยู่กับ กระทรวงทหารเรือ พ.ศ. 2460 ได้มีการเปลี่ยนแปลงธงราชนาวีใหม่คือ เปลี่ยนจาก "ธงทหารเรือ" เป็น "ธงราชนาวี" มีลักษณะเหมือนธงไตรรงค์ แต่ตรงกลาง มีวงกลมสีแดง ภายในวงกลม มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น หันหน้าเข้าหาเสา นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติธงอีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ธงราชนาวี ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลง ยังคงใช้อย่างเดิมนั่นเอง

วิวัฒนาการ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2522 มาตรา 5 วงเล็บ 2

แหล่งข้อมูลอื่น แก้