ท่าอากาศยานพิษณุโลก

ท่าอากาศยานพิษณุโลก (IATA: PHSICAO: VTPP) ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[1] และได้ประกาศเป็นท่าอากาศยานศุลกากรเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534[2] เดิมเป็นสนามบินของกองบินที่ 46 กองทัพอากาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 เป็นสนามบินขับไล่และทิ้งระเบิด

ท่าอากาศยานพิษณุโลก
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ (ศุลกากร)
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดอุตรดิตถ์
สถานที่ตั้งอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล47 เมตร / 154 ฟุต
พิกัด16°46′23″N 100°16′56″E / 16.77306°N 100.28222°E / 16.77306; 100.28222พิกัดภูมิศาสตร์: 16°46′23″N 100°16′56″E / 16.77306°N 100.28222°E / 16.77306; 100.28222
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/phitsanulok
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
PHS
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
PHS
PHS (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
14/32 3,000 9,843 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร372,036
เที่ยวบิน3,634
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ แก้

ท่าอากาศยานพิษณุโลก เดิมเป็นสนามบินของกองบินที่ 46 กองทัพอากาศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2484 เป็นสนามบินขับไล่และทิ้งระเบิด ในสงครามมหาเอเชียบูรพา หลังจากนั้นได้ใช้ในการสำหรับซ้อมการบิน และกิจการอื่นๆ ของกองทัพอากาศ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2496 สำนักงานกองบินพลเรือน กรมการขนส่ง กระทรวงคมนาคม ได้รับอนุญาตจากกองทัพอากาศให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นสนามบินในเชิงพาณิชย์ เพื่อเปิดบริการให้แก่เครื่องบินพาณิชย์ จึงขอพื้นที่จากกองทัพอากาศ เพื่อก่อสร้างเป็นอาคารที่พักผู้โดยสาร หอบังคับการบิน และใช้พื้นที่ทำประโยชน์อื่น จำนวน 70 ไร่ พร้อมกับดำเนินการบริหารกิจการด้านการบินพาณิชย์ ในระยะแรกของการก่อตั้งบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบิน ดักลาส ดีซี-3 ทำการขนส่งผู้โดยสาร เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2497 ถูกกำหนดให้เป็นสนามบินอนุญาต[3] และเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2534 ได้ถูกประกาศเป็น ท่าอากาศยานศุลกากร

อาคารสถานที่ แก้

 
พื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร

อาคารผู้โดยสาร แก้

อาคารผู้โดยสาร ความจุผู้โดยสารสูงสุด ขาเข้า 500 คน / ขาออก 500 คน มีทั้งหมด 2 ชั้น โดย

  • ชั้น 1 มีพื้นที่ตรวจบัตรโดยสาร ร้านขายของฝาก ร้านกาแฟ ร้านมินิมาร์ท พื้นที่รับกระเป๋าและผู้โดยสารขาเข้า และบริการรถเช่า
  • ชั้น 2 มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารขาออก สำนักงานท่าอากาศยาน และสำนักงานสายการบิน

ลานจอดอากาศยานมีขนาดกว้าง 137 เมตร และยาว 300 เมตร (ใช้ได้จริงประมาณ 240 เมตร) สามารถรองรับเครื่องบินขนาดแอร์บัส เอ320 จำนวน 4 ลำ

ทางวิ่ง (รันเวย์) แก้

ท่าอากาศยานพิษณุโลกมีทางวิ่ง 1 เส้น ความกว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และความยาว 3,000 เมตร พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 และ 90 เมตร และความยาวข้างละ 60 เมตร พร้อมระบบช่วยเดินอากาศชนิด ILS DME VOR และ NDB

รายชื่อสายการบิน แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยไลอ้อนแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

สายการบินที่เคยทำการบิน แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
การบินไทย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, น่าน[4], ตาก[4], เลย[4], กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ[5] ภายในประเทศ

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[6]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 273,311 4,455 512.26
2545 215,098   21.30% 2,840 305.73
2546 208,617   3.01% 2,247 251.60
2547 229,571   10.04% 2,116 393.70
2548 198,429   13.57% 1,911 399.43
2549 176,738   10.93% 1,795 421.85
2550 155,413   12.07% 1,543 417.36
2551 143,089   7.93% 1,475 360.06
2552 142,591   0.35% 1,530 398.21
2553 148,227   3.95% 1,631 203.44
2554 205,056   38.34% 2,142 179.26
2555 214,698   4.70% 3,224 188.90
2556 242,293   12.85% 6,070 251.91
2557 456,535   88.42% 3,888 254.70
2558 549,951   20.46% 5,076 944.01
2559 492,117   10.52% 4,079 1,096.35
2560 600,093   21.94% 5,398 457.23
2561 672,084   12.00% 5,314 143.58
2562 689,392   2.58% 5,661 150.98
2563 372,036   46.03% 3,634 109.46

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานพิษณุโลกตั้งอยู่ห่างจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1064 (พิษณุโลก - บึงพระ) ประมาณ 2 กิโลเมตร

บริการรถสาธารณะและรถเช่า แก้

  • ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถแท็กซี่ที่จุดบริการแท็กซี่ บริเวณลานจอดรถหน้าอาคารที่พักผู้โดยสารซึ่งสามารถติดต่อใช้บริการได้ ณ จุดบริการ
  • ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถเช่าของบริษัทรถเช่าต่างๆภายในอาคารผู้โดยสาร ซึ่งสามารถติดต่อด้วยตนเองได้ที่เคาเตอร์ของบริษัทรถเช่า[7]

อ้างอิง แก้

  1. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานศุลกากร". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงคมนาคม ที่ ๒/๒๔๙๗ เรื่อง กำหนดสนามบินอนุญาตเล่ม 71 ตอนที่ 83 ง หน้า 8 วันที่ 13 ธันวาคม 2497
  4. 4.0 4.1 4.2 กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 123. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. กาญจนา อาสนะคงอยู่; เอกชัย โกมล (2553). การพัฒนายุทธศาสตร์เชิงวัฒนธรรมในเขตเมือง กรณีศึกษา จังหวัดพิษณุโลก (PDF) (Report). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. p. 194. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2560. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". กรมท่าอากาศยาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "บริการรถสาธารณะและบริษัทรถเช่า ณ ท่าอากาศยานพิณุโลก". กรมท่าอากาศยาน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)