ท่าอากาศยานนครพนม

ท่าอากาศยานนครพนม หรือ สนามบินนครพนม[1] (อังกฤษ: Nakhon Phanom Airport) สนามบินตั้งอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] ได้รับอนุญาตเป็นสนามบินอนุญาตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506

ท่าอากาศยานนครพนม
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมการท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดนครพนม, จังหวัดมุกดาหาร
สถานที่ตั้งนครพนม
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล179 เมตร / 587 ฟุต
พิกัด17°23′02″N 104°38′35″E / 17.38389°N 104.64306°E / 17.38389; 104.64306
แผนที่
KOPตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม
KOP
KOP
ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
KOPตั้งอยู่ในประเทศไทย
KOP
KOP
KOP (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
15/33 2,500 8,203 ยางมะตอย
สถิติ (2555)
ผู้โดยสาร143,775
เที่ยวบิน3,260
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ประวัติ แก้

สนามบินนครพนม (เก่า) แก้

สนามบินนครพนม เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นที่ตั้งกองกำลังทหารสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามอินโดจีน หลังจากกองกำลังทหารสหรัฐฯ ถอนกำลังออกไปใน พ.ศ. 2518 ท่าอากาศยานนครพนมจึงอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศ ฝูงบิน 238 และได้มีการสนับสนุนให้ใช้ในเชิงพาณิชย์โดยดัดแปลงโรงเก็บเครื่องบินของกองทัพอากาศเป็นอาคารที่พักผู้โดยสาร

สนามบิน ณ ตำบลนาทราย แก้

ต่อมาสภาพที่ตั้งของสนามบินตั้งอยู่ใกล้บริเวณตัวเมืองไม่เหมาะสมและปลอดภัยต่ออากาศยาน จึงย้ายไปอยู่ที่ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครพนม[3] ในปี พ.ศ. 2506

พ.ศ. 2521 บริษัท เดินอากาศไทย จำกัดได้ทำการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครพนม และบินเชื่อมระหว่างจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือนครพนม อุบลราชธานี อุดรธานี และขอนแก่น โดยใช้เครื่องบินดักลาส DC-3 หรือดาโกต้า และแอฟโร่ Bae HS748 ให้บริการสัปดาห์ละ 3-4 เที่ยวบิน

ต่อมาใน พ.ศ. 2537 บริษัท การบินไทย จำกัดได้เปิดทำการบินอีกครั้ง ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ตามเส้นทางกรุงเทพฯ-สกลนคร-นครพนม-กรุงเทพฯ ด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B737 เมื่อมีผู้โดยสารมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น จึงพัฒนาขีดความสามารถของท่าอากาศยานนครพนมตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2543โดยก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่และเปิดใช้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2543

และได้รับการกำหนดให้เป็นสนามบินศุลกากร เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 และมีสายการบินพาณิชย์ที่ให้บริการในปัจจุบัน ได้แก่ สายการบินนกแอร์ และ สายการบินไทยแอร์เอเชีย โดยท่าอากาศยานนครพนมมีศักยภาพสามารถรองรับอากาศยานขนาดสูงสุดได้ถึงโบอิ้ง B737 หรือแอร์บัส A320

ข้อมูลท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานนครพนม มีอาคารผู้โดยสาร ขนาดพื้นที่รวม 4,800 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้จำนวน 300 คนต่อชั่วโมง หรือ 2,400 คนต่อวัน มีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 140 คัน

ท่าอากาศยานนครพนม มีทางวิ่งขนาด 45 เมตร ยาว 2,500 เมตร ลานจอดอากาศยานขนาด 117.2 เมตร ยาว 303 เมตร รองรับจำนวนเครื่องบินได้ 24 เที่ยวบินต่อวัน[4]

รายชื่อสายการบิน แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[5] หมายเหตุ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดชั้นของสนามบินอนุญาต
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  3. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ยกเลิกสนามบินอนุญาต
  4. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  5. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.