ทุนเล่าเรียนหลวง

ทุนเล่าเรียนหลวง (อังกฤษ: King's Scholarship) เป็นทุนการศึกษาแบบให้เปล่าซึ่งได้รับความนับถือสำหรับการศึกษาปริญญาตรีต่อต่างประเทศ ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย การสอบคุณสมบัติจัดขึ้นโดยสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และมีการแข่งขันสูงมาก แต่ละปีมีทุนการศึกษาจำนวนเก้าทุน ทุนการศึกษานี้ได้รับพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็นความสำเร็จทางวิชาการอันยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับนักเรียนไทย

ไม่เหมือนกับทุนการศึกษาของรัฐบาลไทยอื่น ๆ ทุนเล่าเรียนหลวงไม่มีข้อกำหนดผูกพันว่าผู้รับจะต้องทำงานให้กับรัฐบาลไทย มีเพียงข้อกำหนดให้ผู้รับเดินทางกลับมาทำงานในประเทศเป็นเวลาเท่ากับระยะเวลาที่ไปศึกษา ทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานโดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แม้จนถึงปัจจุบัน จะมิได้พระราชทานเป็นการส่วนพระองค์ ในปีหลัง ๆ ทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แทนพระมหากษัตริย์

ทุนเล่าเรียนหลวงพระราชทานครั้งแรกโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และก่อนถูกยกเลิกไปใน พ.ศ. 2476 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มอบให้แก่นักเรียนสองคนทุกปี ทุนในรูปปัจจุบันทรงริเริ่มขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการรื้อฟื้นโครงการ ใน พ.ศ. 2508

อ้างอิง แก้

  • Visoot Prasitsiriwongse (2005-09-26). "วิวัฒนาการของทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล". สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนในสหรัฐอเมริกา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (HTML)เมื่อ 2008-11-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-26.