ที่ประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต

ที่ประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต[1] (อังกฤษ: Internet Governance Forum) หรือ ไอจีเอฟ (IGF) เป็นการประชุมที่ผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่ายเข้าร่วม (multi-stakeholder forum) เพื่อการสนทนาเรื่องนโยบายการปกครองหรือการกำกับดูแลอินเทอร์เน็ต ซึ่งเลขาธิการสหประชาชาติประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 และจัดให้มีการประชุมเป็นครั้งในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2549

ที่ประชุมว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ที่รีโอเดจาเนโร ปี 2550

ไอจีเอฟนำผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเข้าร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากรัฐบาล ภาคธุรกิจ หรือประชาสังคม รวมทั้งชุมชนเทคนิคและชุมชนวิชาการ โดยทุกฝ่ายมีฐานะเท่าเทียมกันในกระบวนการที่เปิดกว้างและไม่กีดกัน[2]

กิจกรรมในที่ประชุมไอจีเอฟ จะมีทั้งเวิร์กช็อป เวทีแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด เวทีแลกเปลี่ยนแบบเปิด และการพบปะของกลุ่ม "Dynamic Coalitions" ซึ่งทำงานร่วมกันในประเด็นเฉพาะ (เช่นเรื่องเพศสภาวะ ความปลอดภัยของเยาวชน เสรีภาพในการแสดงออก ปัญหาสแปม)

ประเด็นใหญ่หรือประเด็นแกนของเวิร์กช็อปและเวทีต่างๆ ในที่ประชุมคือ ความเปิดกว้าง (openness), ความมั่นคง (security), ความหลากหลาย (diversity), การเข้าถึง (access), และทรัพยากรจำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ต (critical Internet resources)

ตัวอย่างองค์กรที่เข้าร่วมเช่น Internet Society, ICANN, องค์กรดูแลชื่อโดเมนของประเทศต่างๆ, องค์กรผู้บริโภค, ยูนิเซฟ, ยูเนสโก, ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิฯของสหประชาชาติ, ตัวแทนจากหน่วยงานรัฐบาล, ไอทียู, องค์กรกำกับกิจการโทรคมนาคม, นักเคลื่อนไหว, บริษัทความมั่นคงด้านคอมพิวเตอร์, บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต, กลุ่มผู้สนับสนุนเสรีภาพด้านอินเทอร์เน็ต, องค์กรพัฒนาเอกชนด้านการศึกษาและไอซีที

อ้างอิง แก้

  1. "แถลงการณ์ตัวแทนภาคประชาสังคมโลกว่าด้วยธรรมาภิบาลด้านอินเทอร์เน็ต ปี 2554" (PDF). ilaw. 26 ตุลาคม 2544. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2023-07-28. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. The Internet Governance Forum (IGF)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บการประชุม แก้