ทินกร พันธุ์กระวี

นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และเป็นประธานกรรมการและผู้ก่อตั้ง บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด[1] อดีตนายกสมาคมอัสสัมชัญ[2]

นาวาอากาศโท
ทินกร พันธุ์กระวี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ
ถัดไปดำรง ลัทธพิพัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มีนาคม พ.ศ. 2461
เสียชีวิต20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (94 ปี)
พรรคการเมืองชาติไทย

ประวัติ แก้

ทินกร พันธุ์กระวี เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2461 เป็นบุตรของนายเจริญ กับนางแช่ม พันธุ์กระวี และเป็นน้องชายร่วมสายโลหิตของท่านผู้หญิง ละเอียด พิบูลสงคราม สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โดยสมัยเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญเขาได้รับทุนการศึกษาตลอดจนจบ ด้วยเหตุที่เขาได้เลขประจำตัว อสช ที่ 10000[3] พอดี จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี ทางวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2486 ด้านครอบครัว สมรสกับคุณหญิงวิบูลวรรณ พันธุ์กระวี มีบุตรด้วยกัน 4 คน

การทำงาน แก้

นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เข้ารับราชการในกองทัพอากาศ และเคยได้รับตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารอากาศ ประจำประเทศอังกฤษ และเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก 6 สมัย ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500[4] สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และในการเลือกตั้งเดือนธันวาคม พ.ศ. 2500[5] หลังจากนั้นจึงเว้นว่างทางการเมืองไปจนกระทั่งกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคชาติไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2526 รวมทั้งสิ้น 6 สมัย

ทินกร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (ครม.36)[6] ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (ครม.37[7], ครม.38)[8] แต่คณะรัฐมนตรีคณะนี้สิ้นสุดลง เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน อันมี พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจ การปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519[9] จึงเป็นคณะรัฐมนตรีที่มีอายุสั้นที่สุดด้วยคือ 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทำให้ได้รับฉายาว่า "รัฐบาลวันเดียว"

และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[10] ในปี พ.ศ. 2523 และถูกปรับมารับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (ครม.42) ในปี พ.ศ. 2524[11][12]

ผลงานสำคัญ แก้

นาวาอากาศโท ทินกร เป็นผู้ริเริ่มงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย อาทิ โครงการชลประทานเขื่อนนเรศวร การรื้อฟื้นโครงการสนามบินหนองงูเห่า การผลักดันโครงการการพัฒนาพลังงานทดแทนและการประหยัดพลังงานของประเทศ การสร้างสถานีรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในบริเวณสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การจัดตั้งสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสร้างเมืองวิทยาศาสตร์

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

น.ท.ทินกร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "งานสวดพระอภิธรรม นท.ทินกร พันธุ์กระวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-25. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
  2. "อดีตนายกสมาคมอัสสัมชัญ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-12-06.
  3. "อุโฆษสมัย" ECHO DEL'LASSOMPTION) ฉบับที่ 77 ประจำเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1933 หน้า 70-76
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๕ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-11-06.
  8. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  12. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-27. สืบค้นเมื่อ 2013-07-17.
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  16. รายพระนามและนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๔ จากเว็บไชต์ thaiscouts
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๑