ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย

ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (อังกฤษ: Motorway) เป็นทางด่วนประเภทหนึ่งที่เก็บค่าผ่านทาง มีการควบคุมจุดเข้าออกของรถยนต์ ในประเทศไทยกำกับดูแลโดยกรมทางหลวง มีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางระหว่างเมืองเป็นหลัก

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีโครงข่ายเส้นทางในแผนแม่บทระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2540 กรมทางหลวงได้พิจารณากำหนดระบบหมายเลขทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ โดยมีหลักเกณฑ์ในการจัดทำระบบหมายเลขทางหลวงเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • ทางหลวงพิเศษหมายเลขหลักเดียว เป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก ที่เชื่อมระหว่างกรุงเทพมหานครไปยังแต่ละภาคของประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 8 สายทาง ตั้งแต่หมายเลข 5 ถึงหมายเลข 8 และหมายเลข 9 ซึ่งเป็นถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
  • ทางหลวงพิเศษหมายเลขสองหลัก เป็นทางเชื่อมโยงจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก ที่เชื่อมโยงไปสู่เส้นทางที่มีการจราจรสูงและเส้นทางที่เข้าพื้นที่สำคัญในภาคนั้น ๆ มีหลักเกณฑ์การจัดเข้าไว้ในระบบหมายเลขทางหลวง เป็นตัวเลขจำนวน 2 หลัก โดยมีหลักเกณฑ์ในการกำหนดคือ ตัวเลขหลักแรกเป็นหมายเลขของสายทางหลักนั้น ๆ และตัวเลขหลักที่สอง เป็นลำดับหมายเลขสายทางที่แยกจากทางสายหลักดังกล่าว

รายชื่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทย แก้

รายชื่อทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองในประเทศไทยที่เปิดใช้บริการ กำลังก่อสร้าง และโครงการที่ปรากฏตามร่างแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษา MR-MAP[1]

  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่เปิดใช้บริการแล้วทั้งหมดหรือบางส่วน
  ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ที่กำลังก่อสร้างทั้งหมดหรือบางส่วน
หมายเลข ป้ายทางหลวง ระยะทาง
(กิโลเมตร)
สายทาง โครงการ สถานะ
ทางหลวงพิเศษสายหนือ
5   690 สุพรรณบุรีนครสวรรค์พิษณุโลกลำปางพะเยาเชียงราย – ด่านแม่สาย (เชียงราย) สุพรรณบุรี–นครสวรรค์
นครสวรรค์–พิษณุโลก
พิษณุโลก–เชียงใหม่ (บางส่วน)
ลำปาง–พะเยา
เชียงใหม่–เชียงราย (บางส่วน)
เชียงราย–แม่สาย
โครงการ
51   57 บางปะอินสุพรรณบุรี บางปะอิน–สุพรรณบุรี โครงการ
52   191 ลำปางพะเยา พิษณุโลก–เชียงใหม่ (บางส่วน)
เชียงใหม่–เชียงราย (บางส่วน)
โครงการ
53   77 เชียงรายเชียงของ เชียงราย–เชียงของ โครงการ
54 ทล.54 205 แม่สอดพิษณุโลก แม่สอด–ตาก
ตาก–พิษณุโลก
โครงการ
ทางหลวงพิเศษสายตะวันออกเฉียงเหนือ
6   196
(604)
รังสิตบางปะอินสระบุรีนครราชสีมาขอนแก่นอุดรธานีหนองคาย รังสิต-บางปะอิน (ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข)
บางปะอิน–นครราชสีมา
นครราชสีมา–ขอนแก่น
ขอนแก่น–หนองคาย
กำลังก่อสร้าง (บางปะอิน – นครราชสีมา)
โครงการ (รังสิต – บางปะอิน, นครราชสีมา – หนองคาย)
61   315 แหลมฉบังนครราชสีมา แหลมฉบัง–ปราจีนบุรี
ปราจีนบุรี–นครราชสีมา
โครงการ
62   594 นครสวรรค์จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก (อุบลราชธานี) นครสวรรค์–นครราชสีมา
นครราชสีมา–อุบลราชธานี
อุบลราชธานี–ช่องเม็ก
โครงการ
63 ทล.63 667 พิษณุโลกนครพนม พิษณุโลก–เพชรบูรณ์
เพชรบูรณ์–ขอนแก่น
ขอนแก่น–นครพนม
โครงการ
64 ทล.64 481 บึงกาฬ – ด่านช่องจอม (สุรินทร์)/ ช่องสะงำ (ศรีสะเกษ) บึงกาฬ–ร้อยเอ็ด
ร้อยเอ็ด–สุรินทร์
สุรินทร์–ช่องจอม
สุรินทร์–ช่องสะงำ
โครงการ
65 ทล.65 109 อุบลราชธานีนาตาล (อุบลราชธานี) อุบลราชธานี–นาตาล โครงการ
ทางหลวงพิเศษสายตะวันออก
7   149
(181)
กรุงเทพฯฉะเชิงเทราชลบุรีแหลมฉบังพัทยามาบตาพุด (บ้านฉาง) ถนนกรุงเทพ–ชลบุรี
ถนนกรุงเทพ–ชลบุรีสายใหม่
ถนนชลบุรี–พัทยา
พัทยา–มาบตาพุด
เปิดใช้งาน (กรุงเทพฯ – มาบตาพุด)
กำลังก่อสร้าง (มาบตาพุด-บ้านฉาง, ทางยกระดับศรีนครินทร์–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ)
71   204 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันออกฉะเชิงเทราสระแก้ว – ด่านอรัญประเทศ (สระแก้ว) กรุงเทพมหานคร – อรัญประเทศ โครงการ
72   271 ชลบุรี – ระยองตราด ชลบุรี–ระยอง
ระยอง–ตราด
โครงการ
ทางหลวงพิเศษสายใต้
8   1,068 นครปฐมชุมพรพัทลุงปัตตานี – ด่านสุไหงโกลก (นราธิวาส) นครปฐม–ชะอำ
ชะอำ–ชุมพร
ชุมพร–สุราษฎร์ธานี
สุราษฎร์ธานี–สงขลา
สงขลา–นราธิวาส
โครงการ
81   96
(178)
บางใหญ่บ้านโป่งกาญจนบุรี – ด่านบ้านพุน้ำร้อน (กาญจนบุรี) บางใหญ่–กาญจนบุรี
กาญจนบุรี–บ้านน้ำพุร้อน
กำลังก่อสร้าง (บางใหญ่ – กาญจนบุรี)
โครงการ (กาญจนบุรี – ด่านบ้านพุน้ำร้อน)
82   74 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตกสมุทรสาครสมุทรสงครามปากท่อ บางขุนเทียน–บ้านแพ้ว
บ้านแพ้ว–สมุทรสงคราม
สมุทรสงคราม–ปากท่อ
กำลังก่อสร้าง (บางขุนเทียน – ปากท่อ)
83   94 ชุมพรระนอง โครงการ
84   236 สุราษฎร์ธานีพังงาภูเก็ต สุราษฎร์ธานี–พังงา
พังงา–ภูเก็ต
โครงการ
85 ทล.85 69 หาดใหญ่ – ด่านสะเดา (สงขลา) โครงการ
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ต่อเนื่อง
9   181 ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ถนนกาญจนาภิเษก เปิดใช้งาน
โครงการ (ส่วนต่อขยายด้านทิศตะวันตกแบบเก็บค่าผ่านทาง)
91   331 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 โครงการ
รวม 6,877 22 สายทาง
331 2 สายทาง
361 3 สายทาง

แผนการก่อสร้าง แก้

จากการบูรณาการการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง โดยกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP)

หลังการประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ แต่ละช่วงแนวเส้นทางตามแผนแม่บท MR-MAP ทั้ง 18 ครั้งแล้วเสร็จไปเมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงแนวเส้นทางจากข้อเสนอแนะของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่และลดผลกระทบการเวนคืนให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันได้จัดทำร่างแผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) ที่ปรับปรุงใหม่แล้วเสร็จทั้งสิ้น 10 เส้นทาง มีดังนี้ [2]

แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง (MR-MAP) รวม 10 เส้นทาง รวม 6,877 กิโลเมตร
หมายเลข MR สายทาง หมายเลขทางหลวง ระยะทาง (กิโลเมตร)
MR1 เชียงราย–นราธิวาส M5, M8, M52, M53, M85, M91 (สุพรรณบุรี–นครปฐม) 2,164
MR2 กรุงเทพฯ/ชลบุรี–หนองคาย M6 (ยกเว้นส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข), M61 897
MR3 บึงกาฬ–สุรินทร์ M64 481
MR4 ตาก–นครพนม M54, M63 872
MR5 นครสวรรค์–อุบลราชธานี M62, M65 703
MR6 กาญจนบุรี–สระแก้ว M71 , M81 390
MR7 กรุงเทพฯ–ระยอง/ตราด M7, M72 452
MR8 ชุมพร–ระนอง M83 94
MR9 สุราษฎร์ธานี–ภูเก็ต M84 236
MR10 เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล M6 (ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข), M9, M51, M82, M91 (ยกเว้นช่วงสุพรรณบุรี–นครปฐม) 588

แผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2566-2585) ประกอบด้วย โครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 23 โครงการ ระยะทางรวม 1,926 กิโลเมตร

  • แผนระยะเร่งด่วน 5 ปีแรก ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2566-2570 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 391 กิโลเมตร
  • แผนระยะ 10 ปี ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2571-2575 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 5 โครงการ ระยะทางรวม 397 กิโลเมตร
  • แผนระยะ 20 ปี ประกอบด้วยโครงการที่เริ่มก่อสร้างในช่วง ปี พ.ศ. 2576-2585 มีโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองบรรจุในแผนระยะนี้จำนวน 9 โครงการ ระยะทางรวม 1,138 กิโลเมตร

สำหรับเส้นทางในระบบโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนแม่บทฯ ระยะ 20 ปีจะเสนอเป็นโครงการที่มีศักยภาพในอนาคตภายหลังแผนพัฒนาระยะ 20 ปี

แผนระยะสั้น 5 ปีแรก (พ.ศ. 2566–2570) รวม 9 โครงการ 391 กิโลเมตร
หมายเลขทางหลวง หมายเลข MR สายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ
M6 MR10 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 22 - ออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ
- รายงาน EIA ผ่านการอนุมัติแล้ว
- คณะกรรมการ PPP เห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2566
- อยู่ระหว่าง ครม. พิจารณาอนุมัติ
M9 MR10 บางขุนเทียน–บางบัวทอง 36 อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA
M9 MR10 บางบัวทอง–บางปะอิน 34 อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA
M9 MR10 ทางเชื่อมต่อถนนวงแหวนรอบที่ 2 ด้านตะวันตกและตะวันออก 4 อยู่ระหว่างจัดทำรายงาน EIA
M8 MR1 นครปฐม–ปากท่อ 61 ศึกษา PPP แล้วเสร็จ
M85 MR1 สงขลา–สะเดา 69 ศึกษา PPP แล้วเสร็จ
M71 MR6 ทางพิเศษจตุโชติ-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3 (ด้านตะวันออก) 19 - ครม. อนุมัติโครงการแล้วเมื่อ วันที่ 14 มี.ค. 2566
- กทพ. อยู่ระหว่างทบทวนรายงาน FS และจัดทำรายงาน EIA
M91 MR10 วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.305-ทล.34 52 ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567
M83 MR8 ชุมพร–ระนอง 94 ทล. ศึกษาและออกแบบระดับ Pre-FS มอเตอร์เวย์แล้วเสร็จ
แผนระยะกลาง 6-10 ปี (พ.ศ. 2571–2575) รวม 5 โครงการ 397 กิโลเมตร
หมายเลขทางหลวง หมายเลข MR สายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ
M91 MR1 นครปฐม–สุพรรณบุรี 70 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
M61 MR2 แหลมฉบัง–ปราจีนบุรี 156 ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567
M91 MR10 วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันออก ช่วง ทล.32-ทล.305 68 ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567
M91 MR10 วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านใต้ ช่วง ทล.34-ทล.35 79 กทพ. เตรียมทบทวนการออกแบบ
M91 MR10 วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านตะวันตก ช่วง ทล.35-นครปฐม 24 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
แผนระยะยาว 11-20 ปี (พ.ศ. 2576–2585) รวม 9 โครงการ 1,138 กิโลเมตร
หมายเลขทางหลวง หมายเลข MR สายทาง ระยะทาง (กิโลเมตร) สถานะ
M8 MR1 ปากท่อ–ชะอำ 156 -ศึกษา PPP แล้วเสร็จ
-เสนอปรับแนวบางส่วนใน MR-MAP
-อยู่ระหว่างทำ Pre-FS
M6 MR2 นครราชสีมา–ขอนแก่น 204 ศึกษา FS แล้วเสร็จ
M91 MR10 วงแหวนฯ รอบที่ 3 ด้านเหนือ ช่วงสุพรรณบุรี-ทล.32 38 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
M82 MR10 บ้านแพ้ว–ปากท่อ 47 รายงาน EIA เห็นชอบแล้ว
M5 MR1 สุพรรณบุรี–นครสวรรค์ 129 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
M51 MR10 บางปะอิน–สุพรรณบุรี 58 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
M61 MR2 ปราจีนบุรี–นครราชสีมา 159 ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567
M5 MR1 นครสวรรค์–พิษณุโลก 144 อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและออกแบบระดับ Pre-FS
M62 MR5 นครราชสีมา–อุบลราชธานี 299 ทล. อยู่ระหว่างเตรียมของบประมาณเพื่อสำรวจออกแบบในปี 2567

ทางหลวงพิเศษในอดีต แก้

ในอดีตมีการจัดทางหลวงบางสายทางให้เป็นทางหลวงพิเศษ (ป้ายเลขทางหลวงและป้ายบอกทางจะมีพื้นหลังสีเขียวและตัวอักษรสีขาว) โดยปัจจุบันสายทางเหล่านี้ถูกเปลี่ยนประเภททางหลวงเป็นประเภทอื่น

รายชื่อสายทางที่เคยเป็นทางหลวงพิเศษ
หมายเลข สายทาง ชื่อถนน สถานะในอดีต สถานะปัจจุบัน หมายเหตุ
7 ชลบุรี–แหลมฉบัง–พัทยา ถนนชลบุรี–พัทยา   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ไม่เก็บค่าผ่านทาง)   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (เก็บค่าผ่านทางและควบคุมการเข้าออกเต็มรูปแบบ) เชื่อมต่อกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ให้เป็นสายทางเดียวกัน และมีการเก็บค่าผ่านทาง
31 ดินแดง-อนุสรณ์สถาน ถนนวิภาวดีรังสิต   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 31   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31
35 ดาวคะนอง–วังมะนาว ถนนพระรามที่ 2   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 35   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนประเภททางหลวง จากทางหลวงพิเศษ เป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556[3]
36 ลาดกระบัง–ระยอง   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 36   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ชื่อในอดีตของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ปรากฎในราชกิจจานุเบกษาหลายฉบับในการก่อสร้างที่เกี่ยวเนื่องกัน[4]
37 บางขุนเทียน–พระประแดง ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้)   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 37     ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ทางพิเศษกาญจนาภิเษก) รวมเป็นสายทางเดียวกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 และหมายเลขทางหลวง 37 ถูกนำไปใช้งานกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 37 (เลี่ยงเมืองชะอำ–ปราณบุรี)
338 อรุณอมรินทร์–นครชัยศรี ถนนบรมราชชนนี   ทางหลวงพิเศษหมายเลข 338   ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เปลี่ยนประเภททางหลวง จากทางหลวงพิเศษ เป็นทางหลวงแผ่นดิน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. เอกสารการประชุมสรุป (ร่าง) แผนแม่บททางหลวงพิเศษระหว่างเมือง การศึกษาความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Pre-Feasibility Study) ภายใต้การศึกษา MR-MAP เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เข้าถึงจาก mrmapdoh.com เก็บถาวร 2023-07-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2566.
  2. "รายละเอียดแนวเส้นทาง MR-MAP". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-29. สืบค้นเมื่อ 2023-07-29.
  3. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ สายธนบุรี - ปากท่อ เป็นทางหลวงแผ่นดิน"
  4. พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 354 สายแยกทางหลวงพิเศษหมายเลข 37 - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 355 สายแยกทางหลวงพิเศษหมายเลข 36 - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3458 สายแยกถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) - บรรจบท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่ 2 เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3256 สายแยกถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) - บางพลี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3119 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (มีนบุรี) - บรรจบถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง) ที่บ้านวัดกระทุ่มเสือปลา และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 สายบางนา - บางปะกง ที่บ้านคลองบางโฉลง พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ออกตามความในพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535] 3 ต.ค. 2539 เล่ม 113 ตอนที่ 44 หน้า 24 ก
  5. "ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง เปลี่ยนประเภทและกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ สายบางกอกน้อย - นครชัยศรี เป็นทางหลวงแผ่นดิน"

แหล่งข้อมูลอื่น แก้