ทางรถไฟสายกาลกา–ศิมลา

ทางรถไฟสายกาลกา–ศิมลา (อังกฤษ: Kalka–Shimla Railway) เป็นรถไฟรางแคบขนาด 2 ฟุต 6 นิ้ว (762 เซนติเมตร) เดินรถจากสถานีรถไฟกาลกาในเมืองกาลกา (Kalka) รัฐหรยาณา กับสถานีรถไฟศิมลาในเมืองศิมลา (Shimla) ในรัฐหิมาจัลประเทศ ประเทศอินเดีย สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2441[1] เพื่อเชื่อมต่อเมืองศิมลากับระบบรถไฟส่วนอื่นของประเทศอินเดียช่วงจักรวรรดิบริติชปกครอง เป็นระบบรถไฟภูเขาอีกสายหนึ่งของอินเดียที่ตั้งอยู่บริเวณตีนเทือกเขาหิมาลัย เส้นทางประกอบไปด้วยอุโมงค์ 107 แห่ง และสะพาน 864 แห่ง รายล้อมด้วยทิวทัศน์ของธรรมชาติและหมู่บ้านต่าง ๆ และเส้นทางนี้ยังเชื่อมต่อกับระบบรถไฟสายเดลี-กาลกาเพื่อเชื่อมต่อกับนิวเดลี และเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศ[1]

ทางรถไฟสายกาลกา–ศิมลา
Kalka–Shimla Railway
ขณะรับผู้โดยสารที่สถานีรถไฟพาโรค
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งรัฐหรยาณารัฐหิมาจัลประเทศ
ประเทศอินเดีย
ปลายทาง
  • กาลกา
  • ศิมลา
จำนวนสถานี18
การดำเนินงาน
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศอินเดีย
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2441
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง96 กม. (59.65 ไมล์)
รางกว้าง2 ฟุต 6 นิ้ว (76.2 มม.)

แต่เดิมทางรถไฟสายกาลกา-ศิมลาใช้หัวรถจักรไอน้ำนำขบวน แต่ช่วงปี พ.ศ. 2498 และปี พ.ศ. 2513 จึงได้มีการใช้หัวรถจักรดีเซลมาใช้ในการเดินรถตามลำดับ

ทางรถไฟสายกาลกา-ศิมลาได้รับเกียรติจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกในนามทางรถไฟภูเขาของประเทศอินเดีย (Mountain Railways of India) เมื่อ พ.ศ. 2542[2] ร่วมกับทางรถไฟสายภูเขานีลคิรี (Nilgiri Mountain Railway) และทางรถไฟสายดาร์จีลิงหิมาลัย (Darjeeling Himalayan Railway)[3] ส่วนทางรถไฟสายเขามาเถราน (Matheran Hill Railway) อยู่ในบัญชีเบื้องต้นของมรดกโลก

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Engineer" journal article, circa 1915, reprinted in Narrow Gauge & Industrial Railway Modelling Review, no. 75, July 2008
  2. "Mountain Railways of India". UNESCO World Heritage Centre. สืบค้นเมื่อ 2006-04-30.
  3. "Kalka–Shimla Railway makes it to Unesco's World Heritage list". The Hindu Business Line. 2008-07-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้