ทางข้ามสัตว์ป่า

ทางข้ามสัตว์ป่า เป็นทางเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า ช่วยให้สัตว์ป่าสามารถข้ามถนนได้อย่างปลอดภัย ทางข้ามดังกล่าวอาจเป็นสะพานข้าม อุโมงค์ลอด ท่อ หรือบันไดปลา ทางข้ามสัตว์ป่าเป็นทางหนึ่งในการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า โดยการเชื่อมถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าที่เคยถูกตัดขาดด้วยทางหลวง นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติเหตุรถกับสัตว์ชนกัน

ทางข้ามสัตว์ป่า สร้างคร่อมถนน
ทางข้ามสัตว์ป่า ลอดใต้ถนน

การศึกษาหนึ่งประเมินว่าการมีทางข้ามดังกล่าวเพิ่มขึ้นในโครงการสร้างทางหลวง จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียง 7-8% (Bank et al. 2002)

สำนักขนส่งเวอร์จิเนียทำการวิจัยที่ทางข้ามสัตว์ป่าต่างๆ ในเวอร์จิเนียเป็นเวลาหนึ่งปี พบว่าหากสัตว์ป่าใช้ทางข้ามแม้เพียงเล็กน้อย (ราว 2.6 ครั้งต่อปี) มูลค่าของทรัพย์สินที่ป้องกันความเสียหายได้ก็จะเกินค่าก่อสร้างแล้ว (Donaldson 2005)

อ้างอิง แก้