ทหารรับจ้าง (อังกฤษ: mercenary) คือ บุคคลที่เข้าร่วมในการขัดกันด้วยอาวุธ (armed conflict) โดยที่มิได้มีเชื้อชาติหรือเป็นสมาชิกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของคู่ขัดแย้ง แต่ "มีแรงจูงใจให้เข้าร่วมในการขัดกัน โดยมีความประสงค์ส่วนตัวในค่าตอบแทนที่จะได้รับเป็นสำคัญ ซึ่งอาจจะมากกว่านายทหารผู้อยู่ระดับเดียวกันและปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพของผู้ว่าจ้างนั้น" (พิธีสารพิ่มเติม อนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม)[1][2]

“ทหารรับจ้าง” โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ค.ศ. 1480

ผู้ที่เป็นทหารอาชีพของกองทัพตามปกติไม่ถือว่าเป็นทหารรับจ้าง แม้ว่าจะได้รับเงินค่าตอบแทนก็ตาม เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าทหารรับจ้างเป็นผู้ที่มีอาชีพสู้รบเพื่อเงินตอบแทน คำว่า “ทหารรับจ้าง” จึงเป็นคำที่มีความหมายเป็นนัยยะในทางลบ ถึงแม้ว่าจะมีบางกรณีที่เป็นการยกเว้นก็ตาม

ความแตกต่างระหว่าง “ทหารรับจ้าง” และ “อาสาสมัครต่างด้าว” (foreign volunteer) บางครั้งก็ออกจะคลุมเครือ เพราะจุดประสงค์ในการเข้าร่วมการต่อสู้ของกองทหารด้าวไม่เป็นที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่นในกรณีของกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส” (French Foreign Legion) และกองทหารกุรข่า (Brigade of Gurkhas) ที่ไม่ถือว่าเป็น “ทหารรับจ้าง” ภายใต้กฎการยุทธ (laws of war) เพราะแม้ว่าลักษณะของทั้งสองกลุ่มจะตรงกับคำจำกัดความของการเป็นทหารรับจ้างหลายอย่าง ที่ตรงกับที่ระบุไว้ในข้อ 47 ของพิธีสารเพิ่มเติมอนุสัญญากรุงเจนีวา ฉบับที่สาม ค.ศ. 1949 แต่ก็ได้รับการยกเว้นภายใต้ข้อ 47 ข้อย่อย (ก), (ค), (ง),(จ) และ (ฉ) แต่จะอย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวบางคนก็ยังใช้คำว่า “ทหารรับจ้าง” ในการกล่าวถึงกองทหารสองกลุ่มนี้[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Protocol Additional to the Geneva Conventions of 12 August 1949, and relating to the Protection of Victims of International Armed Conflicts (Protocol 1) Article 47
  2. "mercenary" in Webster's Dictionary. "one that serves merely for wages; especially a soldier hired into foreign service."
  3. Hall, Macer. Student joins Foreign Legion for his gap year เก็บถาวร 2008-12-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Sunday Telegraph, 19 March 2000
  4. McLynn, Frank. Killer elite เก็บถาวร 2008-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New Statesman 17 January

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ทหารรับจ้าง